svasdssvasds

สรุป เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 2566 แตกต่างจากเดิมอย่างไร ได้เงินยากกว่าเดิม ?

สรุป เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 2566  แตกต่างจากเดิมอย่างไร ได้เงินยากกว่าเดิม ?

สรุป เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 2566 ฉบับล่าสุด แตกต่างจากเดิมอย่างไรบ้าง ได้เงินยากกว่าเดิม ? ใครได้รับผลกระทบบ้าง ที่จริงแล้ว รัฐมีเป้าประสงค์ประหยัดงบหรือลดสวัสดิการประชาชน ผู้สูงอายุกันแน่ ?

กลายเป็นเรื่องราวประเด็นร้อนของสังคม ที่ก่อคำถามขึ้นมาทั่วทุกหัวระแหง กับกระแสความไม่เห็นด้วย จากหลายๆฝ่าย  หลังมีการปรับเปลี่ยนเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เริ่มมีผลบังคับใช้แล้ว ในช่วง 1-2 วันที่ผ่านมา โดย ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566 ลงนามโดย พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2566 โดยมีผลบังคับใช้แล้ว ตั้งแต่ 12 สิงหาคม 2566

การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้   เป็นการปรับปรุง หลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดิม  ซึ่งของเดิมนั้น  เป็นแบบ  การจ่ายเบี้ยยังชีพคนชราแบบ "ถ้วนหน้า" 

และทันทีที่  เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 2566  หรือ เบี้ยยังชีพแบบใหม่ ประกาศใช้ ก็ นับได้ว่าเป็นการสิ้นสุดการจ่ายเบี้ยยังชีพคนชราแบบ "ถ้วนหน้า" ที่ดำเนินมากว่า 14 ปี ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากรัฐบาล อภิสิทธิ์ เชชาชีวะ ในปี 2552 ที่เริ่มจ่ายเบี้ยเดือนละ 500 บาท และมีการปรับขึ้นเป็น 600 บาท ในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หากดูจากเนื้อหาของ “หลักเกณฑ์ใหม่” เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 2566 ฉบับล่าสุด  ตามที่ได้มีการประกาศบังคับใช้ออกมานี้  จะพบว่าระเบียบดังกล่าวมีการระบุว่า มีเนื้อหาเปลี่ยนหลักเกณฑ์การจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุ เป็นจ่ายเงินให้ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่ต้องไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ

โดยมีการระบุถึงคุณสมบัติผู้ที่จะได้รับเงินเบี้ยผู้สูงอายุ 600 บาท

 มีสัญชาติไทย
 มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
 มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ซึ่งได้ยืนยันสิทธิขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
 เป็นผู้ไม่มีรายได้ หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ ตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุกำหนด

สรุป เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 2566 แตกต่างจากเดิมอย่างไร ได้เงินยากกว่าเดิม ?
.

ขณะที่ หลักเกณฑ์  เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ของเดิม หรือ การจ่ายเบี้ยยังชีพคนชราแบบ "ถ้วนหน้า"  มีรายละเอียดดังนี้ 

เกณฑ์เดิมของระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2552 จะพบว่าในรายละเอียดการกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยผู้สูงอายุ 600 บาท  ในข้อที่ 1-3 ที่ระบุว่าต้องมีสัญชาติไทย, มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ อปท. และต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป  และลงทะเบียนขอรับเบี้ยจาก อปท. ตามลำดับเหมือนกัน

แต่ในรายละเอียดของข้อ 4 กลับมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน คือ

โดยหลักเกณฑ์ในข้อ 4 ของปี 2566 ระบุว่า "เป็นผู้มีรายได้หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ ตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุกำหนด"

ส่วนหลักเกณฑ์ข้อ 4 ของปี 2552 ระบุว่า "ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ผู้รับเงินบำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษ หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน ผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทน รายได้ประจำ หรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่รัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดให้เป็นประจำ ยกเว้นผู้พิการและผู้ป่วยเอดส์ ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548"

ขณะที่ในหมวด 5 ข้อ 14 ยังระบุว่า สิทธิของผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ตามระเบียบนี้ สิ้นสุดลงในกรณี ดังต่อไปนี้

ตาย
ขาดคุณสมบัติตามข้อ 6
แจ้งสละสิทธิการขอรับเงิน เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เป็นหนังสือต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ตนมีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

สรุป เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 2566 แตกต่างจากเดิมอย่างไร ได้เงินยากกว่าเดิม ?

ทั้งนี้กรณีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุดังกล่าว สิ้นสุดลงตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ตรวจสอบข้อเท็จจริง ก่อนสั่งระงับการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ สำหรับบุคคลดังกล่าว

ทั้งนี้หากผู้สูงอายุ ที่ไม่มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ แต่ได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ด้วยความสุจริต ให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นตรวจสอบข้อเท็จจริง ก่อนรายงานผู้บริหารท้องถิ่นทราบ เพื่อระงับการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพ ผู้สูงอายุต่อไป โดยยกเว้นการเรียกเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุคืน

ในระเบียบฉบับใหม่ ยังมีการระบุไว้ในบทเฉพาะกาล ข้อ 17 ระบุว่า บรรดาผู้สูงอายุที่ได้ขึ้นทะเบียนและรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อยู่ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้ยังมีสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นต่อไป

การดำเนินการใดที่ดำเนินอยู่ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ซึ่งสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของระเบียบฉบับนี้ ให้ถือว่าการดำเนินการนั้น เป็นการดำเนินการโดยชอบด้วยระเบียบนี้แล้ว

ส่วนการรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 2566 ภาครัฐจะโอนเงินให้ทุกวันที่ 10 ของทุกเดือน

โดยจะเป็นการจ่ายรายเดือนแบบขั้นบันได ดังนี้

อายุ 60-69 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 600 บาท
อายุ 70-79 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 700 บาท
อายุ 80-89 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 800 บาท
อายุ 90 ปีขึ้นไป ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 1,000 บาท

เช็กตัวเลข ผู้สูงอายุ ของไทย ณ เวลานี้ มีเท่าไร 

ตัวเลขผู้สูงอายุในไทย ณ สิ้นปี 2565 จากฐานข้อมูลของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) มีอยู่กว่า 12.6 ล้านคน เป็นผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพสูงอายุราว 11 ล้านคน นอกนั้นเป็นผู้สูงอายุในกลุ่มข้าราชการเกษียณอายุที่รับเงินบำนาญจากรัฐ

สำหรับโครงสร้างอายุของผู้สูงอายุในปัจจุบัน ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ 60-69 ปี คิดเป็นจำนวนกว่า 56% หรือราว 7.1 ล้านคน

และจากการเปลี่ยนแปลง การจ่ายเบี้ยคนชรา ครั้งนี้  พบว่า ผลจากประกาศฉบับนี้จะส่งผลให้ประชาชนที่จะมีสิทธิรับเบี้ยยังชีพคนชราในอนาคต ต้องถูกตรวจสอบคุณสมบัติด้านรายได้ จากเดิมที่เป็นระบบการขึ้นทะเบียนยืนยันสิทธิ โดยไม่มีการเช็คคุณสมบัติสถานะทางเศรษฐกิจ


คำชี้แจงจาก มท. 1 
ขณะที่ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ชี้แจงว่า เรื่องเงินดูแลผู้สูงอายุเป็นเรื่องของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ แต่งบประมาณส่วนนี้ นำมาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ อปท.เป็นผู้จ่าย

กระทรวงมหาดไทยก็ต้องออกระเบียบเพื่อให้  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อปท.สามารถจ่ายเงินให้กับผู้สูงอายุตามหลักเกณฑ์ได้ แต่จะจ่ายได้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติเป็นผู้กำหนด เมื่อกำหนดแล้ว อปท.จึงจะจ่ายได้ กระทรวงมหาดไทยก็ต้องไปออกระเบียบให้สอดคล้องกับที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติกำหนด
 

related