svasdssvasds

ไทย-ซาอุดีอาระเบีย จากรอยร้าว สู่มิตรภาพครั้งใหม่

ไทย-ซาอุดีอาระเบีย จากรอยร้าว สู่มิตรภาพครั้งใหม่

ก่อนดูบอลไทย-ซาอุฯ รุ่นยู 23 คืนนี้ ชวนย้อนความสัมพันธ์ของสองประเทศ จากรอยร้าว สู่มิตรภาพครั้งใหม่ได้อย่างไร

SHORT CUT

  • ในอดีต ซาอุดีอาระเบียคือประเทศจุดหมายแรก ที่แรงงานไทยเลือกเดินทางไปทำงาน โดยมีคนไทยประมาณ 1 แสนคนเดินทางไปซาอุฯ ทุกปี
  • ซาอุดีอาระเบียประกาศลดระดับความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทยทุกมิติ  จากคดีเพชรซาอุฯ และคดีที่ทูตถูกสังหาร 
  • จุดเปลี่ยนคือ เจ้าชายมูฮัมหมัด บิน ซัลมาน อัล ซาอุด  เข้ามามีบทบาทในการบริหารประเทศ และมีท่าทีฟื้นฟูความสัมพันธ์กับไทย 

 

ก่อนดูบอลไทย-ซาอุฯ รุ่นยู 23 คืนนี้ ชวนย้อนความสัมพันธ์ของสองประเทศ จากรอยร้าว สู่มิตรภาพครั้งใหม่ได้อย่างไร

เนื่องด้วยวันนี้ เวลา 22.30 น. ทีมชาติไทย จะพบกับทีมชาติซาอุดีอาระเบีย ในศึกแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์เอเชีย รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี จึงเป็นจังหวะที่ดีสำหรับย้อนดูความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ชาตินี้อีกครั้ง

ในอดีต ก่อนที่จะเกิดเรื่อง “คดีเพชรซาอุ” ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับซาอุดีอาระเบียนั้นยังเป็นไปอย่างชื่นมื่น โดยซาอุดีอาระเบียคือประเทศจุดหมายแรก ที่แรงงานไทยเลือกเดินทางไปทำงาน เพราะนายจ้างให้ค่าแรงสูง ทำให้ทุกๆ ปี มีคนไทยประมาณ 1 แสนคนเดินทางไปทำงานในซาอุฯ แต่แล้วทุกอย่างก็เปลี่ยนไป จากเหตุการณ์ต่อไปนี้

คดีเพชรซาอุฯ

ยุคร้อยร้าวไทย-ซาอุฯ

“ปี 2532”

เดือน ม.ค. 2532 เกิดเหตุเจ้าหน้าที่ทูตซาอุดีอาระเบียถูกลอบสังหารกลางกรุงเทพฯ ซึ่งทางการไทยทำได้เพียงสอบสวนผู้ต้องสงสัยเท่านั้น แต่ไม่สามาถนำตัวคนร้ายตัวจริงมาดำเนินคดีได้ นี่จึงเป็นก้าวแรกของรอยร้าวที่เกิดขึ้น

ต่อมา ในเดือน ส.ค. 2532 ก็เกิดคดีที่สร้างรอยร้าวใหญ่ให้กับ 2 ประเทศ เมื่อ “เกรียงไกร เตชะโม่ง” แรงงานไทยเข้าไปความสะอาดภายในพระราชวังของกษัตริย์ซาอุดีอาระเบีย ได้ทำการโจรกรรมเครื่องเพชรน้ำหนักกว่า 90 กิโลกรัม และ "บลูไดมอนด์" หนึ่งในเพชรที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประจำราชวงศ์ ซาอุฯ กลับมาไทย ทำให้ ทางการซาอุดีอาระเบียต้องประสานไทยให้จับจับกุมผู้กระทำผิด และให้ส่งมอบเครื่องเพชรทั้งหมดคืน

“ปี 2533”

คดี “คดีเพชรซาอุ” ได้ พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ มาดูแลด้วยตัวเอง ซึ่งได้จับกุม เกรียงไกร เตชะโม่ง ได้ และ ส่งเพชรที่ขโมยมากลับคืนไปให้ ซาอุฯ แต่รอบนี้กลับทำให้ทางการซาอฯ โกรธมากกว่าเดิม เพราะเพชรส่วนใหญ่เป็นของปลอม และ บลูไดมอนด์ ก็ยังหาไม่เจอ ทำให้ พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ ต้องสืบค้นต่อไป

แต่แผลเก่ายังไม่ทันหาย แผลใหม่ก็บมา เพราะในเดือน ก.พ. 2533 เจ้าหน้าที่ทูตซาอุดีอาระเบีย 3 รายถูกลอบสังหารในกรุงเทพฯ ซึ่งทางการไทยก็หาคนร้ายไม่เจอ ยิ่งไปกว่านั้น ในเดือนเดียวกัน “มูฮัมมัด อัลรูไวลี” นักธุรกิจและสมาชิกราชวงศ์ของซาอุดีอาระเบีย ก็หายตัวไปอย่างลึกลับ และตำรวจไทยก็ไม่สามารถจับคนร้ายมารับโทษได้ตามเคย รวมถึงไม่ความคืบหน้าในคดีอื่นๆ

“จุดแตกหัก”

ทำให้ในปี 2533 ซาอุดีอาระเบียจึงประกาศลดระดับความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทยทุกมิติ ให้ลงมาอยู่ระดับต่ำสุด และโดยตั้งข้อจำกัดเกี่ยวกับแรงงานไทย รวมถึงห้ามชาวซาอุฯ เดินทางมาประเทศไทยอีกด้วย

“ปี 2537”

เดือน ก.ค. 2537 พล.ต.ท. ชลอ และทีมงาน ลักพาตัวสองแม่ลูก "ตระกูลศรีธนะขัณฑ์" เพื่อบีบให้นำเพชรมาคืน แต่สุดท้ายจบลงที่ฆ่าปิดปากทั้งสองคน และทำให้ดูเป็นอุบัติเหตุ

“ปี 2552”

ศาลฎีกามีคำพิพากษาให้ประหารชีวิต พล.ต.ท.ชลอ จากการกระทำดั่งกล่าว แต่หลังจากนั้น เขาได้รับอภัยโทษ และได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจำบางขวาง และสุดท้ายเขาก็เสียชีวิตในปี 2566 ขณะมีอายุ 85 ปี เป็นการปิดตำนานคดีเพชรซาอุฯ

“ปี 2553”

ผ่านไปเกือบ 20 ปี คดี อัลรูไวลี ใกล้หมดอายุความ แต่ DSI ได้รื้อขึ้นมาใหม่ โดยได้ สั่งฟ้อง 5 ผู้ต้องหาซึ่งเป็นนายตำรวจระดับสูงกับพวก ในข้อหาร่ววมกันฆ่า นักธุรกิจและสมาชิกราชวงศ์ซาอุดีอาระเบีย แต่ในปี 2557 ทั้งหมดได้รับการยกฟ้อง

ยุดฟื้นฟูความสัมพันธ์ไทย-ซาอุฯ

ยุดฟื้นฟูความสัมพันธ์ไทย-ซาอุฯ

“ปี 2557”

รมต. ต่างประเทศซาอุฯ เยือนไทยเพื่อร่วม ACD ครั้งที่ 2 และมีการหารือเรื่องฟื้นความสัมพันธ์ ถือเป็นการเยทอนไทยครั้งแรกของเจ้าหน้าที่ระดับสูงซาอุฯ ในรอบหลาย 10 ปี ซึ่งเป็นแสงแรกของการฟื้นฟูความสัมพันธ์

 

“ปี 2558”

ซาอุดีอาระเบียมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญทางการเมือง ทำให้คนรุ่นใหม่อย่าง เจ้าชายมูฮัมหมัด บิน ซัลมาน อัล ซาอุด ที่เป็นคนรุ่นใหม่ เข้ามามีบทบาทในการบริหารประเทศ รวมถึงการแสดงท่าทีพร้อมจะฟื้นฟูความสัมพันธ์กับไทย

“ปี 2559”

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เจ้าชายคอลิฟะห์ บิน ซัลมาน อัล คอลิฟะห์ นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรบาห์เรน และนายอเดล อัล-จูเบอีร์ รัฐมนตรีต่างประเทศของซาอฯ พบปะกันที่ ห้องสัตตบงกช กระทรวงการต่างประเทศ ผลของการหารือคือการฟื้นฟูความสัมพันธ์ ระหว่างไทย-ซาอุฯ ที่หยุดชะงักมาอย่างยาวนาน

“ปี 2565”

พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีโอชาเยือนซาอุฯ ตามคำเชิญของ 'โมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน' มกุฎราชกุมาร ฟื้นฟูความสัมพันธ์ในทุกมิติ ให้กลับมาสู่ระดับปกติ หลังตัดสัมพันธ์กันมา 30 ปี

“ปี 2566”

เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เยือนซาอุฯ พบมกุฎราชกุมารและเจ้าหน้าที่บริการระดับสุงของซาอุฯ เพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นของรัฐบาลใหม่ที่จะสานต่อความสําเร็จของรัฐบาลที่ผ่านมา และส่งเสริมความสัมพันธ์กับ ภาคเอกชนซาอุดีอาระเบีย รวมทั้งผลักดันความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนกับ SALIC ในด้านการเกษตร ปศุสัตว์ และอาหาร เพื่อความกินดีอยู่ดีของประชาชนทั้งสองฝ่าย

ปัจจัยที่ทำให้ซาอุฯ ฟื้นความสัมพันธ์กับไทย

สถาบันเอเชียศึกษา ระบเหตุผลเอาไว้ว่า ซาอุดีอาระเบียเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลก แต่ เกิดปัญหาราคาน้ำมันลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ทางการซาอุฯคิดวิสัยทัศน์ ซาอุดีฯ2030 (Saudi Vision 2030) ขึ้นมา เพื่อลดการสร้างราบได้จากน้ำมัน แล้วไปเพิ่มการลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น แต่พันธมิตรที่แน่นแฟ้นอย่างสหรัฐฯ เกิดปัญหาขึ้นมากมาย ส่วนในประเทศตะวันออกกลางด้วยกันก็มีแต่สงคราม นี่จึงบีบให้ซาอุฯต้องหาพันธมิตรใหม่ในภูมิภาคอื่น ซึ่งไทยเป็นอาจเป็นหนึ่งในประเทศที่ซาอุฯมองว่ามีศักยภาพพอ

ไทย-ซาอุดีอาระเบีย จากรอยร้าว สู่มิตรภาพครั้งใหม่

ที่มา : BBC / Thansettakij /chula

 

 

related