svasdssvasds

คกก. 'อีอีซี' ยัน! ใช้ม.44 ไม่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม

คกก. 'อีอีซี' ยัน! ใช้ม.44 ไม่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

 

คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกยืนยันการใช้มาตรา 44 กับพื้นที่ EEC ไม่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาด้านสิ่งแวดล้อม

[caption id="attachment_131680" align="aligncenter" width="645"] คกก. 'อีอีซี' ยัน! ใช้ม.44 ไม่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการ นโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรืออีอีซี (สกรศ.)[/caption]

วันที่ 31 ต.ค.60--นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการ นโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรืออีอีซี (สกรศ.) ยืนยันว่า การออกมาตรา 44 ของ คสช.เรื่องข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ในที่ดินในพื้นที่ EEC โดยจัดให้มีการวางผังเมืองและพัฒนาเมืองในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกนั้น ไม่มีความเกี่ยวข้องกับการพิจารณาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมแต่อย่างใด

นายคณิศ ย้ำว่า วัตถุประสงค์ของการใช้มาตรา 44 ดังกล่าวก็ เพื่อต้องการให้ผังเมืองครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัดได้แก่ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง และมีความต่อเนื่อง โดยใช้พื้นที่เดิมที่มีอยู่นำมาปรับปรุงให้เป็นผังพื้นที่เดียวกัน ก่อนที่จะแยกเป็นผังเมืองแต่ละจังหวัด และเป็นการปรับปรุงการทำงานของกรมโยธาธิการและผังเมือง และไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องสิ่งแวดล้อมแต่อย่างใด ไม่ว่าจะเป็นโครงการท่าเรือแฉลมฉบัง ท่าเรือมาบตาพุด หรือโครงการอื่นๆ

คกก. 'อีอีซี' ยัน! ใช้ม.44 ไม่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม

ส่วนกรณีโครงการท่าเรือมาบตาพุดเฟส 3 ที่ต้องมีการถมทะเลเพิ่มขึ้นอีก 1,000 ไร่นั้น ทางการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมมา ตั้งแต่ปลายปี 2559 รวมถึงรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน 3 ครั้ง และขณะนี้ได้ส่งให้คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณา รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมพิจารณาแล้ว 1 ครั้ง กำลังจะยื่นส่งให้พิจารณาครั้งที่ 2 จึงไม่จำเป็นต้องให้มาตรา 44 เข้ามาเกี่ยวข้อง อีกทั้งการทำโครงการลักษณะนี้ต้องขออนุญาตจากเจ้าของพื้นที่เช่นกรมเจ้าท่าด้วย

คกก. 'อีอีซี' ยัน! ใช้ม.44 ไม่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม

ขณะที่ ขั้นตอน ของมาตรา 44 ทาง สกรศ.ได้ดำเนินการแผนไปบ้างแล้วไม่ว่าจะเป็นนโยบายและแผนภาพรวมการพัฒนาอีอีซี แผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคและแผนดำเนินงาน รวมถึงการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบตามหลักการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และให้นำเสนอคณะกรรมการบริหารระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรือ กรศ.ต่อไป

และขั้นต่อไปคือการจัดทำแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดินและแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค โดยจะให้กรมโยธาธิการฯและสกรศ.ทำงานร่วมกันคาดว่าทั้ง 2 แผนจะแล้วเสร็จไม่เกิน 6 เดือนหรือประมาณ เดือนเมษายนถึงพฤษภาคมปีหน้า และจะให้กรมโยธาธิการฯไปจัดทำผังเมืองขึ้นมาใหม่อีก 1 ปี แต่ในระหว่างการจัดทำจะให้ดำเนินการใช้ 2 แผนหลักไปก่อน

related