svasdssvasds

"หนักเกินคาด" โควิด-19ทำพิษเศรษฐกิจ ท่องเที่ยว ส่งออกสาหัสเกินคาด(มีคลิป)

นักวิชาการประเมินความเสียหายทางเศรษฐกิจจาก “โควิด-19” ไม่ใช่แค่การท่องเที่ยว แต่สะเทือนทั้งระบบ แบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

ดร.กิริฎา เภาพิจิตร ผู้อำนวยการโครงการวิเคราะห์เศรษฐกิจเชิงลึกสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDRI)กล่าวถึงสถานการณ์เศรษฐกิจไทยที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ว่า ในส่วนของเชื้อไวรัสโควิด-19นั้นส่งผลกระทบไปทั่วโลก เพราะมีการแพร่ขยายเป็นวงกว้างในหลายภูมิภาคทั่วโลก ซึ่งในส่วนของประเทศไทยถือว่าได้รับผลกระทบจากการที่ในประเทศคู่ค้าใหญ่ๆทั้งสหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น และจีนมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสนี้

 

 

ทำให้สถานการณ์ภาคการท่องเที่ยว การส่งออกของประเทศไทยนั้นไม่เติบโตอย่างที่คาดการณ์ไว้ตั้งแต่ช่วงต้นปีความต้องการสินค้าหรือความต้องที่จะนำเข้าซื้อสินค้าจากไทยก็ลดลงตาม อีกทั้งเรื่องของการบริโภคภายในประเทศเองก็ลดลงไปด้วยเพราะประชาชนเกิดความไม่มั่นใจที่จะออกไปจับจ่ายใช้สอยทั้งนี้การบริโภคภายในประเทศถือว่าเป็นแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจไทยอีกตัวหนึ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้การท่องเที่ยวและการขนส่งซึ่งมีสัดส่วนอยู่ที่ประมาณร้อยละ50ของรายได้ทั้งประเทศ

 

 

ดร.กิริฎา กล่าวต่อว่าจากการวิเคราะห์เศรษฐกิจเชิงลึกของโครงการนั้นเล็งเห็นว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้ตลอดทั้งปีอาจจะมีอัตราการเติบโตไม่ถึงร้อยละ1ทั้งนี้เกิดจากผลกระทบมากกว่าที่คาดไว้ในทีแรกอีกทั้งมีปัจจัยเรื่องของระยะเวลาเข้ามาร่วม ในครั้งแรกหลายส่วนคาดการณ์ว่าน่าจะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ในประมาณเดือนเมษายนหรือเดือนพฤษภาคมแต่ปัจจุบันดูเหมือนว่าอาจจะต้องขยายเวลาออกไป

 

 

สำหรับผลกระทบเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นนั้นดร.กิริฎากล่าวว่า ทุกธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นการโรงแรมหรือว่าการนำเที่ยว สปา หรือแม้แต่เรื่องของสินค้าที่ขายให้กับนักท่องเที่ยว เช่นเครื่องสำอางซึ่งเป็นสินค้าที่นักท่องเที่ยวจีนนิยมซื้อกลับประเทศกันเยอะมากที่สุดพอจำนวนนักท่องเที่ยวลดลงสิ่งต่างๆเหล่านี้ก็โดนกระทบตามกัน

 

 

ทั้งนี้ผลกระทบที่เกิดขึ้นซึ่งเกิดจากความไม่มั่นใจในการบริโภคหรือการลดลงของนักท่องเที่ยวจำนวนมากๆแบบนี้ในระดับขนาดที่ใหญ่ขนาดนี้ถือว่าประเทศไทยยังไม่เคยเจอซึ่งจะไม่เหมือนกับช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งพราะเศรษฐกิจไทยปีนั้นลดลงไปเกือบ10เปอร์เซนต์แต่คราวนี้ไม่ร้ายแรงถึงขั้นนั้น

 

 

“คราวนี้มาจากเหตุผลที่ต่างกัน คราวนี้คือธุรกิจไม่ใช่ไม่มีเงินคือไปกู้ใครไม่ได้ไม่ใช่ แต่มันไม่มีดีมานด์หรือความต้องการ ที่จะซื้อสินค้ามากกว่าจะเป็นเรื่องดีมานด์ที่หด เพราะฉะนั้นเรื่องดีมานด์ที่หดขนาดนี้ สมัยที่เราเจอซาส์ก็ยังไม่ขนาดนี้เหตุผลหนึ่งก็คือประเทศจีนเองตอนนั้นก็ไม่ได้มีความสำคัญทางเศรษฐกิจโลก มากขนาดเท่าทุกวันนี้ สัดส่วนเศรษฐกิจจีนเองก็ยังเล็กอยู่เมื่อเทียบกับทุกวันนี้ เพราะฉะนั้นการส่งออกนำเข้าการค้าขายนำเข้ากับจีนก็ไม่เยอะ”ดร.กิริฎา กล่าว

related