svasdssvasds

เปิดจุดอ่อน พรบ.ข้าว ย้ำตั้งใจพัฒนาข้าวไทย

นักวิชาการ ยืนยัน มีกลุ่มบุคคลพยายามผลักดันให้กรมการข้าวมีอำนาจกำกับดูแลเรื่องข้าว ทั้งที่ไม่ใช่หน้าที่ และเจตนารมย์การตั้งหน่วยงานนี้ก็เพื่อการพัฒนาข้าวไทยเท่านั้น

ดอกเตอร์ นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันจิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ กล่าวถึง ปัญหา พ.ร.บ.ข้าวที่กำลังเป็นข้อถกเกียงกันขณะนี้ ว่า หากมีการการโอนอำนาจจากกรมวิชาการเกษตร มายังกรมการข้าว จะเกิดผลเสียหลักๆ คือ สร้างปัญหาความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ของกรมการข้าวในฐานะผู้วิจัยและให้ทุนวิจัยด้านข้าว กับ อำนาจการกำกับควบคุมโดยการออกใบอนุญาต

เปิดจุดอ่อน พรบ.ข้าว ย้ำตั้งใจพัฒนาข้าวไทย

นอกจากนี้ จะลดทอนประสิทธิภาพของการกำกับดูแลด้านข้าว ซึ่งรัฐต้องสูญเสียงบประมาณเพิ่มขึ้น ทั้งการลงทุนในอุปกรณ์-เครื่องมือ และเพิ่มจานวนเจ้าหน้าที่ในกรมการข้าว โดยไม่รู้ว่าจะได้ประโยชน์คุ้มค่าหรือไม่ ทั้งนี้ที่ผ่านมา กรมการข้าวเป็นหน่วยงานสำคัญด้านวิจัยและพัฒนาข้าว เพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลเรื่องข้าวที่ครอบคลุมถึงการปรับปรุงพัฒนาการปลูกข้าวให้มีผลผลิตต่อพื้นที่และคุณภาพสูงขึ้น รวมถึงการพัฒนาพันธุ์ อนุรักษ์และคุ้มครองพันธุ์ ผลิตเมล็ดพันธุ์ ตรวจสอบรับรองมาตรฐานการส่งเสริมและเผยแพร่เพื่อพัฒนาชาวนา การแปรรูปและการจัดการอื่นๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าข้าว รวมทั้งการตลาดและ ส่งเสริมวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับข้าว

เปิดจุดอ่อน พรบ.ข้าว ย้ำตั้งใจพัฒนาข้าวไทย

นอกจากนี้ ยังมีพันธกิจหลักด้านการวิจัยและพัฒนาการผลิตข้าวทำให้กรมการข้าวเป็นกรมขนาดเล็ก แต่มีบางคนอยากให้กรมการข้าวมีอานาจในการกำกับควบคุม เพื่อจะได้เพิ่มจำนวนข้าราชการและงบประมาณมากขึ้น ขณะที่มุมมองของนักวิชาการ ที่ทำการศึกษาและคลุกคลีกับเรื่องข้าวมาโดยตลอด มองว่า ร่าง พ.ร.บ. ข้าว ยังมีจุดอ่อนสาคัญ 3 ประการ

เปิดจุดอ่อน พรบ.ข้าว ย้ำตั้งใจพัฒนาข้าวไทย

จุดอ่อนประการแรก มาตรา 20 กำหนดให้ผู้รับซื้อข้าวเปลือกออกใบรับซื้อข้าวเปลือกทุกครั้ง และให้ส่งสำเนาใบรับซื้อข้าวเปลือกให้กรมการข้าว เป็นการขี่ช้างจับตั๊กแตน เพราะแม้จะมีผู้รับซื้อข้าวเปลือกที่ตัดราคาชาวนา แต่ใบรับซื้อข้าวเปลือกไม่สามารถพิสูจน์ความผิดได้ เพราะทันทีที่ซื้อข้าวเปลือกจากชาวนา ผู้รับซื้อก็นำข้าวเปลือกที่ซื้อมาเทกองรวมกับข้าวเปลือกของชาวนารายอื่นๆ และหากกรมการค้าข้าวอ้างว่าจะนำหลักฐานใบรับซื้อข้าวเปลือกไปจัดทำบิ๊กดาต้า ก็ไม่ควรมีบทลงโทษ เพราะเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการทุจริต

จุดอ่อนประการที่สอง คือ ร่างกฏหมายยังไม่มีมาตราที่จะพัฒนาส่งเสริมอาชีพชาวนาให้มั่นคงยั่งยืน หรือ สร้างแรงจูงใจให้คนรุ่นใหม่มาประกอบอาชีพทำนาตามเหตุผลที่ระบุไว้

จุดอ่อนประการสาม คือ การโอนอานาจการควบคุมเมล็ดพันธุ์ข้าวมายังกรมการข้าว ที่จะเกิดผลเสียทั้งในด้านความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ของกรมการข้าวเอง และ การขาดบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

เปิดจุดอ่อน พรบ.ข้าว ย้ำตั้งใจพัฒนาข้าวไทย

related