svasdssvasds

ทำความรู้จัก "เซอร์กิตเบรกเกอร์" มาตรการพักซื้อขายหุ้น ใช้เมื่อไหร่

ทำความรู้จัก "เซอร์กิตเบรกเกอร์" มาตรการพักซื้อขายหุ้น ใช้เมื่อไหร่

"เซอร์กิตเบรกเกอร์" ถูกใช้เป็นครั้งที่ 4 หลังจากไม่ได้ใช้มา 11 ปี 4 เดือน ใช้เมื่อหุ้นตกกี่เปอร์เซ็นต์ มาทำความรู้จักกัน

มาการการหยุดการซื้อขายเป็นการชั่วคราวกรณีเซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) เป็นมาตรการที่ตลาดหลักทรัพย์นำมาใช้หยุดการซื้อขายหลักทรัพย์เป็นการชั่วคราว กรณีราคาหลักทรัพย์โดยรวมเปลี่ยนแปลงลดลงมาก เพื่อให้นักลงทุนมีเวลาในการตรวจสอบข้อมูลข่าวสารที่มีผลกระทบต่อการลงทุนอย่างครบถ้วน ตลาดหลักทรัพย์จะหยุดทำการซื้อขายโดยอัตโนมัติเป็นการชั่วคราว ตามหลักเกณฑ์ดังนี้

รอบที่1 เมื่อ SET index เปลี่ยนแปลงลดลงถึง 10 % ของค่าดัชนีปิดในวันทำการก่อนหน้า ตลาดหลักทรัพย์จะพักการซื้อขายหลักทรัพย์ทั้งหมดเป็น เวลา 30 นาที ก่อนเปิดให้ซื้อขายต่อไป

รอบที่ 2 เมื่อ SET Index เปลี่ยนแปลงลดลงถึง 20% (ลดลงอีก 10%) ของค่าดัชนีปิดใน วันทำการก่อนหน้าตลาดหลักทรัพย์ จะพักการซื้อขายหลักทรัพย์ทั้งหมดเป็นเวลา 1 ชั่วโมง

หลังจากการทำงานรอบที่ 2 ของ Circuit breaker แล้ว ตลาดหลักทรัพย์จะเปิดให้ทำการซื้อขายต่อไปจนถึงเวลาปิดทำการตามปกติ โดยไม่มีการหยุดพักการซื้อขายอีก

หากระยะเวลาในรอบการซื้อขายที่ Circuit breaker ทำงานนั้น เหลือไม่ถึง 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง ก็ให้หยุดพักการซื้อขายเพียงระยะเวลาที่เหลือในรอบการซื้อขายนั้น แล้วเปิดให้ซื้อขายหลักทรัพย์ได้ตามปกติในรอบการซื้อขายถัดไป

สำหรับการใช้มาตรการเซอร์กิต เบรกเกอร์มีการประกาศใช้มาตรการนี้เมื่อปี 2542 ก่อนหน้านี้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เคยใช้เซอร์กิตเบรกเกอร์ทั้งหมด 3 ครั้ง จนมาถึงวันนี้ (12 มี.ค. 63) จึงเป็นการใช้มาตรการครั้งที่ 4

ครั้งแรกวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาตรการกันสำรอง 30% เพื่อป้องกันกันเก็งกำไรค่าเงินบาท ส่งผลให้ผู้ลงทุนต่างชาติตื่นตระหนกพากันเทขายหุ้นเป็นจำนวนมาก ดัชนีลดลงกว่า 142.63 จุดหรือ 19.52% ซึ่งเป็นการลดลงมากที่สุดในวันเดียวในประวัติศาสตร์ตลท.ก่อนปิดตลาดที่ลบ 108.41 จุด หรือลดลง 14.84% และมีการใช้มาตรการเซอร์กิตเบรกเกอร์เป็นครั้งแรกของตลาดในช่วงเวลา 11.26 น. ซึ่งเป็นช่วงที่ดัชนีลดลงกว่า 74.06 หรือ 10.14%

ส่วนครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 10 ต.ค. 2551 ตลท.สั่งใช้มาตรการเซอร์กิตเบรกเกอร์ 30 นาที ตั้งแต่เวลา 14.35 น. ดัชนีหุ้นไทยอยู่ที่ 449.91 จุด ลดลง 50.08 จุด ลดลง 10.02% ทั้ภายหลังการปรับลดตัวลงของหุ้นไทยตามภูมิภาคหลายแห่งที่ร่วงแรงมากกว่า 10% เกิดจากความไม่มั่นใจของนักลงทุน หลังจากวิกฤติการเงินเริ่มลามไปสู่ภาคเศรษฐกิจจริง

ครั้งที่สามเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ตลท.สั่งใช้มาตรการเซอร์กิตเบรกเกอร์ 30 นาที ตั้งแต่เวลา 16.04 น. เวลานั้น ดัชนีร่วงลง 10% อยู่ที่ระดับ 389.58 จุด หรือลดลง 43.29 จุด หลังเปิดการซื้อขายอีกครั้งในรอบที่ 2 ดัชนียังคงปรับลดลงต่อเนื่อง โดยปิดตลาดช่วงบ่ายที่ระดับ 387.43 จุด ลดลง 45.44 จุด หรือลดลง 10.50 % ดัชนีต่ำที่สุดในรอบ 6 ปี เนื่องจากวิกฤติสินเชื่อซับไพรม์

ครั้งที่ 4 วันที่ 12 มีนาคม 2563 หลังดัชนีรูดหนัก 125.05 จุด

related