svasdssvasds

ผลวิจัยพบ คนอายุ 65+ คือต้นทางแชร์ “ข่าวปลอม”

ผลวิจัยพบ คนอายุ 65+ คือต้นทางแชร์ “ข่าวปลอม”

ผลการศึกษาวิจัยพบว่า คนวัย 65 ปี หรือ Baby Boomers มีแนวโน้มที่จะแชร์ข่าวปลอมในเฟซบุ๊กมากกว่าผู้ใหญ่ในวัยอื่นๆ

ผลการศึกษาวิจัยของมหาวิทยาลัยพริ๊นซ์ตันและนิวยอร์กที่ตีพิมพ์ออกมาเมื่อเร็วๆนี้พบว่า ผู้ใช้เฟซบุ๊กยุค เบบี้ บูมเมอร์ส หรือวัย 65 ปีขึ้นไปมีแนวโน้มที่จะแชร์ข่าวปลอมในเฟซบุ๊กมากกว่าผู้ใหญ่ในวัยอื่นๆ โดยนักวิจัยระบุว่า ช่วงวัยอายุเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการแชร์ข่าวปลอมมากที่สุด ไม่ใช่การศึกษา, เพศ หรือมุมมมองทางการเมือง

นักวิจัยได้เก็บข้อมูลตัวอย่างทางออนไลน์ของบุคคลจำนวน 3,500 คน แต่ไม่ใช่ทุกคนในนี้ที่ใช้เฟซบุ๊ก เพื่อดูว่าบุคคลแบบไหนที่แชร์ข่าวปลอมในเฟซบุ๊กในช่วงการเลือกตั้งสหรัฐเมื่อปี 2016 ซึ่งในจำนวนคนที่บอกว่าใช้เฟซบุ๊ก มีเพียง 49 เปอร์เซ็นต์ ที่ยอมเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว และก็เป็นกลุ่มคนที่อายุเกิน 65 ปีนั่นเองที่นักวิจัยมองว่ามีข้อมูลที่น่าสนใจ

ผลวิจัยพบ คนอายุ 65+ คือต้นทางแชร์ “ข่าวปลอม”

โดย 11 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้เฟซบุ๊กที่อายุเกิน 65 ปี แชร์บทความต่างๆที่ผลการวิจัยเรียกว่าเป็นข่าวปลอม ขณะที่มีเพียง 3 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้เฟซบุ๊กอายุ 18 ถึง 29 ปีที่แชร์บทความแบบนั้น

นอกจากนี้ ผลการศึกษาวิจัยยังพบอีกว่า กลุ่มบุคคลที่ถูกเก็บข้อมูลตัวอย่างมาในจำนวนนี้ คนที่สนับสนุนพรรครีพับลิกัน แชร์ลิ้งค์เว็บไซต์ที่เป็นข้อมูลเท็จมากกว่าคนที่สนับสนุนพรรคเดโมแครต แต่คนที่ไม่ได้สนับสนุนพรรคไหนเลยก็มียอดการแชร์พอๆกับกลุ่มคนสนับสนุนรีพับลิกันด้วยเช่นกัน

ผลวิจัยพบ คนอายุ 65+ คือต้นทางแชร์ “ข่าวปลอม”

ผลการศึกษาวิจัยสรุปได้ว่า กลุ่มคนที่อายุเกิน 65 ปีขึ้นไป เป็นกลุ่มคนที่แชร์ข่าวปลอมส่วนใหญ่ ทั้งแบบจงใจปลอมข้อมูล และ ข้อมูลลวงที่ทำให้เข้าใจผิด ที่เราเห็นในเฟซบุ๊ก ซึ่งข้อมูลนี้อาจเป็นประโยชน์สำหรับเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่างๆในการหาวิธีรับมือกับการแพร่กระจายของข้อมูลเท็จและข่าวปลอม นอกจากนี้นักวิจัยยังชี้อีกว่า คนยุค เบบี้ บูมเมอร์ส ที่สูงวัยแล้ว อาจไม่ได้อยู่ในวัยที่จะสามารถแยกแยะข้อเท็จจริงของข้อมูลบนโลกดิจิตอล ว่าน่าเชื่อถือมากน้อยขนาดไหน ได้อย่างคนยุคใหม่ด้วย

related