svasdssvasds

สธ.สั่ง! เฝ้าระวัง "โรคท้องร่วงเฉียบพลัน" จากไวรัสโรทา-ไวรัสโนโร

สธ.สั่ง! เฝ้าระวัง "โรคท้องร่วงเฉียบพลัน" จากไวรัสโรทา-ไวรัสโนโร

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

  กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เฝ้าระวังโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันจากไวรัสโรทา และไวรัสโนโร ทางห้องปฏิบัติการตั้งแต่ปี พ.ศ.2557 พบไวรัสโรทาในกลุ่มอาการอุจจาระร่วงมีแนวโน้มลดลง ส่วนหนึ่งมาจากการใช้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพ สธ.สั่ง! เฝ้าระวัง "โรคท้องร่วงเฉียบพลัน" จากไวรัสโรทา-ไวรัสโนโร วันนี้( 10 ม.ค.) นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันและอาหารเป็นพิษ พบได้ในคนทุกกลุ่มอายุและทั่วโลก โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันในประเทศไทย เป็นโรคที่ยังต้องเฝ้าระวังอย่างสม่ำเสมอ จำนวนผู้ป่วยมีแนวโน้มค่อนข้างคงที่ มีการระบาดในช่วงหน้าหนาว ไวรัสโนโร (Norovirus,NoV) ประกอบด้วย 5 จีโนกรุ๊ป (Genogroup) คือ GI - GV จีโนกรุ๊ปที่มักก่อโรคในมนุษย์ คือ จีโนกรุ๊ป 1 (GI) และจีโนกรุ๊ป 2 (GII) โดยเฉพาะจีโนกรุ๊ป 2 พบว่ามีอัตราการก่อโรคในคนสูงที่สุด ทั้งนี้ในแต่ละจีโนทัยป์ยังสามารถจำแนกออกได้อีกหลายสายพันธุ์ย่อย อาการที่พบ ได้แก่ คลื่นไส้รุนแรง ปวดท้องและท้องร่วง ซึ่งมีอาการอาเจียนเป็นอาการเด่น อาการร่วมอย่างอื่นที่พบ เช่น ปวดศีรษะ มีไข้หนาวสั่น และปวดกล้ามเนื้อ เชื้อใช้เวลาในการฟักตัว 12-48 ชั่วโมง ไวรัสโนโรนี้ยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ในการป้องกัน สธ.สั่ง! เฝ้าระวัง "โรคท้องร่วงเฉียบพลัน" จากไวรัสโรทา-ไวรัสโนโร ไวรัสโรทา (Rotavirus) มี 7 กลุ่ม คือ A,B,C,D,E,Fและ G ซึ่งไวรัสโรทา กรุ๊ป A เป็นไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน อาการมักรุนแรงในเด็กเล็กโดยเฉพาะเด็กอายุตํ่ากว่า 5 ปี มีระยะฟักตัว 1-2 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ปวดท้อง อาเจียน และถ่ายเป็นน้ำ มักหายได้เองภายใน 3-8 วัน และเนื่องจากมีหลายสายพันธุ์ จึงสามารถเกิดโรคได้หลายครั้ง แม้จะมีการใช้วัคซีนถึง 2 ชนิดแล้ว แต่ด้วยคุณสมบัติของไวรัสโรทาที่มียีนมากถึง 11 จีนโนม จึงทำให้เกิดการผสมข้ามยีนกันในแต่ละ 11 จีนโนม เกิดเป็นสายพันธุ์ใหม่ได้ง่าย สำหรับไวรัสโรทานี้ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันได้แล้ว สธ.สั่ง! เฝ้าระวัง "โรคท้องร่วงเฉียบพลัน" จากไวรัสโรทา-ไวรัสโนโร
related