svasdssvasds

"ศิริราช" เปิดตัวศูนย์วินิจฉัยภาวะดื้อต่อ "โบทูลินัมท็อกซิน" แห่งแรกในไทย

"ศิริราช" เปิดตัวศูนย์วินิจฉัยภาวะดื้อต่อ "โบทูลินัมท็อกซิน" แห่งแรกในไทย

“รพ.ศิริราช” เปิดศูนย์วินิจฉัยภาวะดื้อต่อโบทูลินัมท็อกซินแห่งแรกในเอเชียอาคเนย์ ใช้การเจาะเลือดตรวจวิเคราะห์ พบส่วนใหญ่ดื้อโบทูลินัมแบรนด์เอเชียมากกว่ายุโรป สาเหตุฉีดบ่อย ใช้ต่อเนื่องนานเกิน 5 ปี

 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล จัดงานแถลงข่าว ‘ศิริราช’ เปิดตัวศูนย์วินิจฉัยภาวะดื้อต่อโบทูลินัมท็อกซินแห่งแรกในเอเชียอาคเนย์ “สวยปลอดภัย ไม่เสื่ยง ดื้อโบ” โดยมี ศ. นพ.อภิชาติ อัศวมงคลกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล เป็นประธานแถลงข่าวร่วมกับ ศ.คลินิก นพ.วิศิษฎ์ วามวาณิชย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช ศ. พญ.รังสิมา วณิชภักดีเดชา ภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล รศ. ดร. นพ.ยุทธนา ศรีนวลประเสริฐ ภาควิชาวิทยาภูมิคุ้มกัน
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล อ. พญ.ยุวดี พิทักษ์ปฐพี ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล และ ภญ.กิตติวรรณ รัตนจันทร์ ผู้บริหารสูงสุดบริษัท เมิร์ซ เอสเธติกส์ ประเทศไทย

"ศิริราช" เปิดตัวศูนย์วินิจฉัยภาวะดื้อต่อ "โบทูลินัมท็อกซิน" แห่งแรกในไทย

 

 

 

 ศ.นพ.อภิชาติ อัศวมงคลกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล กล่าวว่า “ในฐานะที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นสถาบันทางการแพทย์ที่สร้างสรรค์สุขภาวะแก่มวลมนุษยชาติ สร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ๆ ยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดีขึ้นด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม ไปสู่การเป็น Smart Hospital ในการดูแลรักษาพยาบาล ตลอดจนเป็นต้นแบบขององค์ความรู้ระดับประเทศและนานาชาติ เพื่อคุณภาพชีวิตของคนไทย

"ศิริราช" เปิดตัวศูนย์วินิจฉัยภาวะดื้อต่อ "โบทูลินัมท็อกซิน" แห่งแรกในไทย

 ซึ่งที่ผ่านมาเราได้รับรู้ถึงอุบัติการณ์ของการเกิดภาวะดื้อโบทูลินัมท็อกซินมาสักระยะหนึ่ง จึงมีเป้าหมายที่จะพัฒนาองค์ความรู้ในการรับมือกับภาวะดื้อยาที่เกิดจากการใช้ ‘โบทูลินัมท็อกซิน’ ในหัตถการความงามอย่างเป็นกิจจะลักษณะ เพื่อให้ประชาชนในวงกว้างได้เข้าถึงความรู้ และการตรวจวินิจฉัยภาวะที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงสุด

 พร้อมกันนี้ แพทย์ที่ทำการรักษาก็จะมีความรู้ความเข้าใจถึงการทำหัตถการความงามอย่างถูกวิธีด้วยเช่นกัน เนื่องด้วยประเทศไทยในปัจจุบัน การทำหัตถการความงามอย่างการฉีดสาร ‘โบทูลินัมท็อกซิน’ ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ตัดสินใจเข้ารับบริการโดยที่อาจยังไม่มีความรู้ครอบคลุม และนำมาสู่ความเสี่ยงเกิดภาวะดื้อโบได้ ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงทางด้านสาธารณสุขในกรณีที่ผู้ป่วยอาจมีความต้องการใช้โบทูลินัมท็อกซินเพื่อการรักษาโรคทางระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อในอนาคต”

 ศ.คลินิก นพ.วิศิษฎ์ วามวาณิชย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช กล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้ขอรับการรักษาด้วยโบทูลินัมท็อกซินด้วยปัญหาโรคเกี่ยวกับเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ ตลอดจนนำมาใช้ทางด้านการแพทย์และความสวยงามกันมากขึ้น มักจะรักษาอย่างต่อเนื่องและเป็นระยะเวลายาวนาน

"ศิริราช" เปิดตัวศูนย์วินิจฉัยภาวะดื้อต่อ "โบทูลินัมท็อกซิน" แห่งแรกในไทย

 ที่ผ่านมาพบว่า เมื่อผู้ป่วยได้รับสารโบทูลินัมท็อกซินในปริมาณมาก หรือได้รับการรักษาต่อเนื่องยาวนานอาจทำให้ดื้อโบทูลินัมท็อกซินได้ นำไปสู่การพัฒนาของทีมวิจัย “การพัฒนาการตรวจวินิจฉัยทางวิทยาภูมิคุ้มกันเพื่อช่วยร่วมแก้ปัญหาทางคลินิก” เพื่อร่วมกันศึกษาวิจัยและพัฒนาในการตอบโจทย์ท้าทายนี้  อันจะนำไปสู่การเลือกวิธีการรักษาต่อไปให้เหมาะสมกับผู้ป่วย ซึ่งการพัฒนาการตรวจวัดปริมาณแอนติบอดีต่อโบทูลินัมท็อกซินโดยเฉพาะบริเวณที่ออกฤทธิ์นี้เป็นการพัฒนาที่ยังไม่เคยมีผู้คิดพัฒนาต่อยอด จึงถือได้ว่าเป็นครั้งแรกของโลกและได้รับการตีพิมพ์วารสารนานาชาติเป็นที่เรียบร้อย ศิริราชจึงถือเป็นที่แรกที่เดียวในโลกในขณะนี้ที่สามารถตรวจวัดปริมาณและให้การดูแลรักษาผู้ที่สงสัยไม่ตอบสนองต่อโบทูลินัมท็อกซินได้มากที่สุด

อย่างไรก็ตาม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ได้ดำเนินการจัดตั้ง “ศูนย์บูรณาการความเป็นเลิศทางการแพทย์ศิริราช” Siriraj Integrated Center of Excellence (SiCOE) ที่มีงานบริการทางการแพทย์ที่โดดเด่น เป็นเลิศ บูรณาการร่วมกับการศึกษา วิชาการ และการวิจัย เพื่อให้เป็นศูนย์การแพทย์ต้นแบบทั้งในระดับประเทศ และนานาชาติ อันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วย ผู้มารับบริการ ทั้งในสังคมไทย และสังคมโลก ซึ่งศูนย์วินิจฉัยภาวะดื้อต่อโบทูลินัมท็อกซินศิริราชนี้ เป็นการบูรณาการระหว่างคลินิกและปรีคลินิก เพื่อดูแลรักษาผู้ป่วยโดยใช้ข้อมูลด้านคลินิกคัดกรองประวัติผู้ป่วยในการวินิจฉัยและเลือกวิธีการรักษาให้เหมาะสม และอาจเป็นแนวทางการรักษาที่มีมาตรฐานในวงการแพทย์เวชศาสตร์ความงาม ทั้งในระดับประเทศและนานาชาติต่อไป

อ. พญ.ยุวดี  พิทักษ์ปฐพี อาจารย์ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ม.มหิดล กล่าวเสริมว่า “โบทูลินัมท็อกซินมีความจำเป็นต่อการรักษาโรคทางระบบประสาทในหลาย ๆ โรค โดยกลุ่มคนไข้คลินิกฉีดยาโบทูลินัมท็อกซินของสาขาประสาทวิทยาที่มารับการรักษามากที่สุดคือ คนไข้โรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีก และภาวะกล้ามเนื้อคอบิดเกร็ง ซึ่งการดื้อโบทูลินัมท็อกซินพบได้ในผู้ป่วยที่มารักษาภาวะกล้ามเนื้อคอบิดเกร็ง เนื่องจากมีการใช้ยาขนาดสูงกว่ากลุ่มผู้ป่วยโรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีกที่ใช้ยาขนาดน้อยกว่า ทั้งนี้ โบทูนัมท็อกซินจะช่วยลดอาการกล้ามเนื้อกระตุกและบิดเกร็งได้ผลดีมากเมื่อเทียบกับการรักษาโดยการรับประทานยา ดังนั้น
เมื่อเกิดภาวะดิ้อยา โดยเฉพาะที่พบบ่อยในคนไข้ที่มีภาวะกล้ามเนื้อคอบิดเกร็ง จึงส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ทั้งในด้านประสิทธิภาพการรักษาและระยะเวลาของยาออกฤทธิ์ที่ลดลง”

related