svasdssvasds

กสศ. เปิดแคมเปญ ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

กสศ. เปิดแคมเปญ ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เดินหน้าเดินหน้าสร้างโมเดลลดความเหลื่อมล้ำด้วยแนวคิดนวัตกรรม ภายใต้โครงการ “เครือข่ายสถานศึกษาเพื่อความเสมอภาค (Equity Partnership’s School Network Season 4)”

ความยากจนเหลื่อมล้ำ หรือความไม่เท่าเทียมกัน เป็นประเด็นปัญหาที่ไม่เคยหายไปจากประเทศไทย แม้จะมีความพยายามในการทำงานเพื่อลดช่องว่างเหล่านี้ ทั้งนี้ต้นตอของปัญหาความเหลื่อมและความยากจน จะพบว่า “ความรู้” และ “ทักษะ” คือตัวแปรสำคัญ ยังรวมไปถึงทักษะทั้งด้าน Soft Skill และความรู้เท่าทางเทคโนโลยี ที่เด็กเหล่านี้ไม่สามารถเข้าถึงได้
ทาง กสศ.เอง เล็งเห็นถึงปัญหาเหล่านี้ จึงได้ริเริ่มโครงการเครือข่ายสถานศึกษาเพื่อความเสมอภาค (Equity Partnership’s School Network) ขึ้นมา โดยโครงการนี้เกิดจากความร่วมมือของ 3 ฝ่าย คือ กสศ. เครือข่ายโรงเรียนนานาชาติ และบริษัท Sea (ประเทศไทย) โดยเครือข่ายโรงเรียนนานาชาติ และบริษัท Sea (ประเทศไทย)

ต้องการร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา กับ กสศ. ผ่านกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวัฒนธรรมและสร้างความเข้าอกเข้าใจ  (Empathy & Cross Cultural Understanding) การพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) การใช้เทคโนโลยี E-Commerce รวมไปถึงการพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการในศตวรรษที่ 21 (Digital Entrepreneurship) ระหว่างโรงเรียนไทย กับ โรงเรียนนานาชาติ

กสศ. เปิดแคมเปญ ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

 

ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนจากโรงเรียนพื้นที่ห่างไกลและในเมือง ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถ และทักษะในการประกอบอาชีพ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาทักษะทางอารมณ์และสังคม สนับสนุนให้เกิดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ เพื่อเสริมทักษะชีวิตให้แก่นักเรียนทุนเสมอภาค ที่มีความพร้อมและมีศักยภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้า เข้าร่วมในโครงการ เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ร่วมกับนักเรียนเครือข่ายโรงเรียนนานาชาติ และนำมาจำหน่ายในช่องทางของ Shopee (www.shopee.co.th) โดยรายได้จากการจำหน่ายทั้งหมดจะนำกลับคืนให้กับนักเรียนทุนเสมอภาคในโรงเรียนสังกัด สพฐ.โดยไม่หักค่าใช้จ่ายเพื่อให้เด็กๆ นำไปต่อยอดเพื่อส่งเสริมด้านการพัฒนาทักษะอาชีพในอนาคต

กสศ. เปิดแคมเปญ ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

นายภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค  ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา กล่าวว่ากสศ. มีความตั้งใจสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ เสริมทักษะชีวิตให้แก่นักเรียนทุนเสมอภาคที่มีความพร้อมและมีศักยภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ “เพราะเด็กทุกคนมีศักยภาพที่จะพัฒนาตนเอง หากด้วยข้อจำกัดต่างๆ ทำให้ไม่สามารถต่อยอดและพันาพรสวรรค์ในตัวเองได้ โดยโครงการนี้ได้จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 เพื่อต่อยอดความสำเร็จที่เกิดขึ้นในสามปีแรก ซึ่งได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากภาคีและภาคประชาชน  และยังสร้างรายได้กลับคืนสู่โรงเรียนเครือข่าย กระจายรายได้สู่ท้องถิ่น พร้อมเสริมทักษะที่สำคัญต่อโลกยุคปัจจุบันใน 3 ด้าน ได้แก่ ความเข้าใจในวัฒนธรรมที่แตกต่าง ทักษะความคิดสร้างสรรค์ และ ทักษะการเป็นผู้ประกอบการออนไลน์ ให้กับเด็กและเยาวชน นับเป็นนวัตกรรมในการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา จากการสร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเครือข่ายที่มีเป้าหมายร่วมกัน 

นายภูมิศรัณย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “ภายใต้แนวคิดที่มุ่งสร้างสรรค์พื้นที่สังคมแห่งความร่วมมือและมิตรภาพวันนี้ทาง กสศ และภาคีเครือข่าย เล็งเห็นความสำคัญตรงนี้ จึงได้เกิดเป็นโครงการนี้ขึ้นมา อยากให้สังคมเล็งเห็นความสำคัญตรงนี้ และช่วยกันมองว่าจะทำอย่างไรให้เด็กกลับสู่เส้นทางการพัฒนาศักยภาพรวมถึงการเรียนรู้ทักษะอาชีพ เพื่อเปลี่ยนแปลงเส้นทางอนาคตของพวกเขาได้”

ทางด้านคุณเกรกอรี่ เธรลฟอล (Mr.Gregory Threlfall)  ผู้อำนวยการฝ่ายเผยแพร่องค์ความรู้ โรงเรียนนานาชาติโชรส์เบอรี่ กรุงเทพฯ กล่าว โครงการนี้ถือเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างความเสมอภาคระหว่างเด็ก ๆ จากโรงเรียนในเมืองกับเด็ก ๆ จากโรงเรียนในต่างจังหวัด ผ่านการสร้างประสบการณ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มีคุณค่า ซึ่งไม่เพียงสร้างมิตรภาพระหว่างกัน แต่ยังก่อให้เกิดการบูรณาการทักษะอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตทั้งในปัจจุบันและอนาคตอีกด้วย

คุณพุทธวรรณ สุภัทรนันท์ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร SEA (ประเทศไทย) กล่าวว่า บริษัทฯมีความยินดีที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในความร่วมมือของโครงการฯ อย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 ด้วยการสนับสนุนช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาโดยนักเรียนบนแพลตฟอร์มออนไลน์ สร้างรายได้กลับคืนสู่นักเรียนได้จริง พร้อมต่อยอดการสร้างอาชีพในอนาคตให้กับนักเรียน และรวมไปถึงการพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการดิจิทัลผ่านการลงมือทำจริง และการลดช่องว่างทักษะดิจิทัล

เด็กหญิงกุลธิดา ใจหล้ากาศ เปิดเผยที่ความรู้สึกที่ได้เข้าร่วมโครงการว่า “หนูขอบคุณ กสศ.ที่ได้ให้โอกาศ ให้พวกเราได้ใช้ศักยภาพในตัวเอง ได้รู้ว่าเราทำได้ รู้สึกดีใจต้อง  ขอขอบคุณ  กสศ. และผู้ใหญ่ใจดีทุกท่าน ที่มีส่วนทำให้เกิดโครงการนี้ขึ้น” 

ด้านครูพยุงศักด์ ติ๊บกาศ ครูผู้เข้าร่วมโครงการจากโรงเรียนบ้านป่าเลา อ.แม่ทา จ.ลำพูน เปิดเผยถึงความรู้สึกว่า Equity Partnership’s School Network เป็นโครงการที่ดีมาก ทำให้เด็กในพื้นที่ห่างไกลได้มีโอกาสเข้าถึง พัฒนาทักษะต่างๆ และยังช่วยต่อยอดความฝันของเด็กๆ ให้เป็นความจริงขึ้นมา ที่สำคัญไม่ได้พัฒนาแค่เด็กคนเดียวแต่พัฒนาชุมชน โรงเรียนเปลายทางที่เชื่อมโยงให้เติบโตไปพร้อมกัน”
“ความสำเร็จของโครงการนี้คือ การที่เราได้เป็นส่วนหนึ่งในการพูดถึงคุณค่าของความเป็นคน ได้สะท้อนความดีงามของน้อง ๆ การได้พัฒนาศักยภาพในตัวเด็กๆ  มันเป็นสิ่งที่เป็นแรงบันดาลใจ และความสำเร็จอีกอย่างหนึ่ง 

ทั้งนี้ Equity – Partnership School Season 4  มีโรงเรียนในเครือข่าย กสศ. เข้าร่วมจำนวน 12 โรงเรียน ได้แก่ 1.โรงเรียนเพียงหลวง 16 อ.เทิง จ.เชียงราย 2.โรงเรียนชุมชนดอยช้าง จ. เชียงราย 3.โรงเรียนบ้านขุนกลาง จ. เชียงใหม่ 4. โรงเรียนบ้านแม่โต๋ จ. เชียงใหม่ 5.โรงเรียนบ้านทับเบิกร่วมใจ จ. เพชรบูรณ์ 6.โรงเรียนศรีโพนทองวิทยา จ. นครพนม 7.โรงเรียนบ้านสามขามิตรภาพที่ 3 จ. มุกดาหาร 8.โรงเรียนบ้านแกใหญ่ จ. สุรินทร์ 9.โรงเรียนบ้านตะเคียนกูยวิทยา จ. สุรินทร์ 10.โรงเรียนบ้านโนนกุ่มมิตรภาพที่ 2 10.จ. นครราชสีมา 11. โรงเรียนวัดหุบกระทิง จ. ราชบุรี 12. โรงเรียนบ้านหนองธง จ. พัทลุง

โดยร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์งานที่หลายหลายกับเครือข่ายโรงเรียนนานาชาติที่เข้าร่วมโครงการอีกจำนวน 7 โรงเรียน ได้แก่ 1. โรงเรียนนานาชาติโชรส์เบอรี 2. โรงเรียนนานาชาติเด่นหล้า 3. โรงเรียนนานาชาติเซนต์แอนดรูส์กรุงเทพ 4. โรงเรียนสาธิตประสานมิตร หลักสูตรนานาชาติ 5. โรงเรียนนานาชาติบางกอกเพรพ 6. โรงเรียนนานาชาติรักบี้ 7. โรงเรียนนานาชาติฮาร์โรว์กรุงเทพ 

Equity Partnership เป็นมากกว่าเพียงแค่โครงการ หากแต่เป็น “การสร้างสรรค์พื้นที่สังคมแห่งความร่วมมือและมิตรภาพ” ที่ทุกคนมีความเชื่อมั่นและพร้อมที่จะแสดงศักยภาพของในตัวเอง ผ่านการทำงานร่วมกัน อยู่ร่วมกัน อย่างเสมอภาคและเท่าเทียม” ซึ่งโลกในศตวรรษที่ 21 ต้องการความเข้าอกเข้าใจกัน มากกว่าความสงสาร ความหวังดี เราจึงขับเคลื่อนเรื่องของ Social emotional learning กระบวนการพัฒนาทักษะทางอารมณ์สังคม หรือ SEL ถือว่ามีความสำคัญต่อชีวิตของเด็กและต่อสังคมอย่างมาก ทั้งนี้ ทักษะทางอารมณ์ที่สำคัญแบ่งเป็น 5 ประเภท หรือเรียกว่า Big Five Model ได้แก่ 1.ความรับผิดชอบต่องาน 2.ทักษะทางอารมณ์ 3.ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น 4.การเปิดรับประสบการณ์ 5.ทักษะสังคมและการมีส่วนร่วมกับผู้อื่น

related