svasdssvasds

ประมวลภาพ "อนุสาวรีย์ชัยฯ...ใครจะดูแล"

ประมวลภาพ "อนุสาวรีย์ชัยฯ...ใครจะดูแล"

"อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ" อนุสาวรีย์ กิโลเมตรที่ 5 ของกรุงเทพมหานคร โดยรอบเป็นวงเวียนอยู่กึ่งกลางระหว่างถนนพหลโยธิน ถนนราชวิถี และถนนพญาไท โดยที่ กม. 0 ของถนนพหลโยธินอยู่ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยนั้น ซึ่งอยู่ห่างจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเป็นระยะทาง 5 กิโลเมตร วันนี้ดูทรุกโทรมลงไปมากตามกาลเวลา อาจเพราะขาดการดูแล...หรือเพราะยังไม่ได้ถูกขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ที่จะอยู่ภาพใต้การดูแลของหน่วยงานที่ต้องรับผิดชอบหรือไม่

จากวันที่มีหลายคนทวงถามที่ว่า...อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ...เป็นของใคร ใครต้องดูแลนั้น วันนี้ก็ยังไม่มีข้อสรุปว่าจะตกอยู่ที่กรุงเทพมหานครหรือไม่ และยังต้องตรวจสอบจากกรมศิลปากร แต่ก่อนที่จะไปหาต้นต่อ เราลองมาดูประวัติของสถานที่แห่งนี้ก่อนที่จะไปสืบสาวเรื่องราวต่างๆ

อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิสร้างขึ้นเพื่อเทิดทูนวีรกรรมของทหาร ตำรวจ และพลเรือนที่เสียชีวิตไปในกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศสเรื่องการปรับปรุงพรมแดนไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศส ซึ่งในครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิต 59 คน ทั้งทหาร ตำรวจ และพลเรือน พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นผู้วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2484 และจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นผู้ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2485 สถาปนิกผู้ออกแบบอนุสาวรีย์คือ หม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล ก่อนที่จะมีการสร้างวงเวียนอนุสาวรีย์ บริเวณจุดตัดของถนนพญาไท ถนนราชวิถี และถนนพหลโยธินนี้มีชื่อเรียกว่า สี่แยกสนามเป้า (ข้อมูลจาก วิกีพีเดีย)

ประมวลภาพ \"อนุสาวรีย์ชัยฯ...ใครจะดูแล\"

ประมวลภาพ \"อนุสาวรีย์ชัยฯ...ใครจะดูแล\"

อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ยังเป็นต้นทางของถนนพหลโยธิน รวมไปถึงศูนย์กลางการคมนาคมที่มีรถโดยสารให้บริการในหลายเส้นทาง เป็นจำนวนมาก ทั้งรถเมล์ รถไฟฟ้า BTS และรถตู้ ผ่านตลอด 24 ชั่วโมง จึงทำให้อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเป็นชุมทางการคมนาคมที่สำคัญของกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน

ประมวลภาพ \"อนุสาวรีย์ชัยฯ...ใครจะดูแล\"

ประมวลภาพ \"อนุสาวรีย์ชัยฯ...ใครจะดูแล\"

ประมวลภาพ \"อนุสาวรีย์ชัยฯ...ใครจะดูแล\"

ประมวลภาพ \"อนุสาวรีย์ชัยฯ...ใครจะดูแล\"

ฐานคบเพลิงเมื่อถึงวันทหารผ่านศึก ก็จะมีการจุดไฟ เพื่อเป็นเกียรติแก่เหล่าทหารหาญ ผู้ที่เคยผ่านสงครามในอดีตและผู้เสียสละชีพในสงคราม

ประมวลภาพ \"อนุสาวรีย์ชัยฯ...ใครจะดูแล\"

ประมวลภาพ \"อนุสาวรีย์ชัยฯ...ใครจะดูแล\"

รายนามผู้ที่ได้รับการจารึกไว้มีทั้งสิ้น 160 นาย เป็นทหารบก 94 นาย ทหารเรือ 41 นาย ทหารอากาศ 13 นาย และตำรวจสนาม 12 นาย จนถึงปัจจุบันแผ่นทองแดงจารึกรายนามผู้เสียชีวิต และผู้สละชีพเพื่อชาติจากสงครามต่าง ๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2483-พ.ศ. 2497 รวมทั้งสิ้น 801

ประมวลภาพ \"อนุสาวรีย์ชัยฯ...ใครจะดูแล\"

ประมวลภาพ \"อนุสาวรีย์ชัยฯ...ใครจะดูแล\"

ประมวลภาพ \"อนุสาวรีย์ชัยฯ...ใครจะดูแล\"

รูปปั้นหล่อทองแดง ขนาดสองเท่าคนธรรมดา ของนักรบ 5 เหล่า คือ ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และพลเรือน

ประมวลภาพ \"อนุสาวรีย์ชัยฯ...ใครจะดูแล\"

ประมวลภาพ \"อนุสาวรีย์ชัยฯ...ใครจะดูแล\"

ประมวลภาพ \"อนุสาวรีย์ชัยฯ...ใครจะดูแล\"

ประมวลภาพ \"อนุสาวรีย์ชัยฯ...ใครจะดูแล\"

ประติมากรรมทหาร 5 เหล่าหม่อมหลวงปิ่นใช้ดาบปลายปืน ซึ่งเป็นอาวุธประจำกายทหาร โดยใช้ดาบปลายปืนห้าเล่มรวมกัน จัดตั้งเป็นกลีบแบบลูกมะเฟือง ปลายดาบชี้ขึ้นบน ส่วนคมของดาบหันออก ก่อสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กประดับหินอ่อน มีความสูงประมาณ 50 เมตร

ประมวลภาพ \"อนุสาวรีย์ชัยฯ...ใครจะดูแล\"

ช่างภาพ : อุดมชัย สว่างแก้ว [Springnews Photo]