svasdssvasds

“บิ๊กตู่” ไม่อย่างให้มองรัฐบาลเอื้อประโยชน์นายทุน

“บิ๊กตู่” ไม่อย่างให้มองรัฐบาลเอื้อประโยชน์นายทุน

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

 

วันที่ 21 ก.ค.60 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  กล่าวในรายการ "ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน" ว่า มีเรื่องที่อยากให้ลองคิดใหม่ ช่วยกันพิจารณา ดังนี้...

1. โครงการที่รัฐบาลอยากส่งเสริม หรืออื่นๆ ที่จำเป็นต้องเกิดขึ้น เพื่อผลประโยชน์ตอบแทนให้กับประเทศชาติและประชาชนสูงสุด โดยมีภาคเอกชนเป็น “ผู้ลงทุน”ซึ่งรัฐบาลก็จะต้องอำนวยความสะดวก สร้างแรงจูงใจภายใต้กรอบของกฎหมายที่ทำได้ ไม่ใช่เป็นการเอื้อประโยชน์ อาทิเช่น...

(1)โรงไฟฟ้า โรงงานขยะ

(2) โครงการบริหารจัดการน้ำ เช่น พื้นที่เก็บ–ส่ง–บริหารจัดการเท่าที่รัฐสามารถจะส่งน้ำใช้ได้, เก็บกักเองส่งเอง, ไปสู่การบริหารจัดการในชุมชน ให้ประชาชนได้รับประโยชน์

(3)โรงเรียน สถานศึกษา ที่เน้นวิชาชีพ ตรงกับความต้องการของประเทศ คือ จำนวนผู้สำเร็จการศึกษา ไม่มีงานทำ ไม่ตรงความต้องการของผู้ประกอบการและความต้องการแรงงานระดับสูง มีคุณวุฒิมีฝีมือ

(4)การเสนอขอการลงทุน โดยช่วยดูแลชุมชนและประชาชนในพื้นที่ เขตการลงทุนสถานศึกษาในพื้นที่ทุกระดับ

(5)โครงการที่ประชาชนมีส่วนร่วม ไม่ขัดขวาง พอใจ โดยไม่ไปขัดแย้งช่วงทำประชาพิจารณ์แต่เพียงอย่างเดียว ต้องช่วยกันพิจารณา รัฐ ประชาชน เอกชน มาช่วยเสริมกันได้อย่างไร

“บิ๊กตู่” ไม่อย่างให้มองรัฐบาลเอื้อประโยชน์นายทุน

ที่ผ่านมา ทุกอย่างมักจะเป็นรัฐบาลคิด ใช้งบประมาณ อนุมัติแผนงานโครงการของส่วนราชการ แล้วรัฐหรือส่วนราชการก็ไปรับฟังความคิดเห็น ก็อยากลองให้บรรดาผู้รู้ทั้งหลาย บริษัทที่ปรึกษาต่างๆ ที่รับปรึกษากับนักลงทุน นักกฎหมาย นักวิชาการ ลองเสนอโครงการมา หาผู้ลงทุนมาให้รัฐบาลพิจารณาว่าจะทำได้อย่างไร ที่จะทำให้เกิดประโยชน์กับประชาชนและประเทศชาติ

ผลประโยชน์ทางธุรกิจในลักษณะที่เป็นธรรมต่อทั้ง 2 ฝ่าย เพราะวันนี้หลายปัญหามันเกิดตั้งแต่ต้นทาง รัฐบาลลงทุนให้ทั้งหมดไม่ได้หรอก  ไม่พอ เอกชนก็มาลงทุนก็มาลงทุนในโครงการของรัฐ ก็ไม่ผ่านประชาพิจารณ์อีก ลองดูว่าจะเสนอโครงการที่คิดว่าเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย เพื่อผลประโยชน์ที่ทุกคนยอมรับได้ ทุกคนจะได้มีความรู้สึกมีส่วนร่วมมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ

รับผิดชอบร่วมกัน น่าจะเป็นวิธีการที่ทำให้ทุกอย่างเกิดได้เร็วขึ้นหรือไม่ เพื่อจะให้ ทันเวลาที่ถมทับขึ้นทุกวัน น้ำท่วม น้ำแล้ง การศึกษา การเกษตร การแออัดในเมือง การเจรจา ขยะ การขาดที่ดินทำกิน การยกระดับรายได้ของประชาชน การลงทุนสาธารณูปโภค รถไฟ รถเมล์ โทลเวย์ ทางด่วน รถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง ท่าเรือ สนามบิน เหล่านี้เป็นต้น 

หากโครงการเหล่านี้เกิดขึ้นได้ เราก็จะเปลี่ยนแปลง ปฏิรูปประเทศเราได้เร็วขึ้น ประชาชนก็จะมีรายได้มากขึ้น ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว รายได้ก็คงไม่ไปกระจุกอยู่ข้างบนหรอกครับ เพราะเป็นโอกาส เป็นช่องทางให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมได้ ถ้าเราไม่ทำตรงนี้ ข้างหน้าก็ไม่มีช่องทางใหม่ ด้านกฎหมายก็คงต้องไปดู ว่าเราจะทำอย่างไร ก็ไม่อยากให้มองว่ารัฐบาลนี้จะเอื้อประโยชน์กับใคร ให้กับนายทุน ให้คนรวย เพราะคนที่มีศักยภาพในวันนี้ก็คือผู้ที่มีรายได้มาก มีขีดความสามารถสูง 

“บิ๊กตู่” ไม่อย่างให้มองรัฐบาลเอื้อประโยชน์นายทุน

รัฐบาลก็จะได้ลดบทบาทลง มาเป็นผู้อำนวยความสะดวก จัดทำกฎหมาย กฎกติกาให้เป็นธรรม เฉลี่ยผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น ทั้งรัฐ ประชาชน และเอกชน ฯลฯ  ไม่อยากให้ขัดแย้ง ต่อต้านกันจนทำอะไรไม่ได้ เสียเวลาเปล่า ประชาชนเดือดร้อน  หากเปลี่ยนวิธีการทำโครงการในการลงทุนเป็นแบบนี้บ้าง น่าจะดีกว่าไหม จาการประมูลแข่งกันด้วยราคากลาง มาเป็นแข่งขันกันเพื่อผลประโยชน์ให้รัฐ ประชาชน ให้มากขึ้น ประเทศชาติจะได้อะไรจากตรงนี้นะครับ เพราะฉะนั้นลองไปคิดดูนะครับ ช่วยกัน แล้วก็สะท้อนกลับความคิดเห็นของท่านกลับมาให้รัฐบาล ให้นายกรัฐมนตรีทราบบ้าง จะได้นำไปแนวทางขับเคลื่อน หลายอย่างทำไม่ได้เกิดไม่ได้เลย 

2. การเมืองกับความรู้สึก เราต้องหาทางรับมือความรู้สึกแต่ละรูปแบบ เพื่อโน้มน้าวไปสู่ความมีเหตุมีผล มีสติปัญญาในการแยกแยะ ถูก-ผิด ดี-ชั่ว  เราต้องเริ่มคิดกันแต่บัดนี้ ก่อนที่จะยากหรือสายเกินไปกว่านี้ สิ่งที่ยากที่สุด สำหรับการปฏิรูป คือการเปลี่ยนแปลงจารีต ประเพณี ค่านิยม และทัศนคติต่างๆ ของพลเมือง ไปในทางสร้างสรรค์ มากกว่าที่จะมาทำลายซึ่งกันและกัน แต่ทั้งหมดจะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ที่ทันสมัยและเป็นสากล

“บิ๊กตู่” ไม่อย่างให้มองรัฐบาลเอื้อประโยชน์นายทุน

การดำเนินนโยบายทางการเมืองนะครับ มีส่วนสำคัญอย่างมาก สามารถที่จะทำทั้ง สร้าง แล้วก็ทำลายได้ทุกอย่าง  เช่น การเพิกเฉยการส่งเสริมให้ประชาชนของชาติ ยึดมั่นในสถาบันชาติศาสนา และพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นสถาบันหลักของประเทศ,  การไร้ความสามารถในการรักษาความสงบสันติของสังคมและประเทศชาติ,  การใช้นโยบายที่ปราศจากยุทธศาสตร์ ซึ่งไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน แต่จะเป็นการสร้างปัญหาใหม่ แล้วก็ทิ้งปัญหาไว้ข้างหลังอีกต่อไป,  

การแยกกลุ่ม แบ่งฝ่ายประชาชน โดยยึดตามฐานเสียง แทนที่จะเป็นรัฐบาลของคนทั้งประเทศ สร้างความแตกแยก ร้าวลึกในสังคม,  การใช้งบประมาณประเทศ เพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง เป็นเครื่องต่อรองกับการเมืองในท้องถิ่น กับประชาชน เพื่อเป็นการสร้างฐานอำนาจ หาคะแนนความนิยม รวมทั้งการใช้งบประมาณที่ไม่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล และไม่เกิดการบูรณาการซึ่งกัน และกัน ทำให้สิ้นเปลือง ไม่คุ้มค่า และไร้ประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การแก้ปัญหาเกษตรกร และผู้มีรายได้น้อยนั้น ไม่เป็นการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง

related