svasdssvasds

"หมอยง" คาด 10 พ.ค. ผู้ป่วยโควิด 19 ทั่วโลก จะเพิ่มขึ้นเป็น 4 ล้านคน

"หมอยง" คาด 10 พ.ค. ผู้ป่วยโควิด 19 ทั่วโลก จะเพิ่มขึ้นเป็น 4 ล้านคน

"นพ.ยง ภู่วรวรรณ" คาดตัวเลข ผู้ป่วยโควิด 19 ทั่วโลกแตะถึง 4 ล้านคน 10 พ.ค. ห่วงระบาดเข้าสู่ประเทศกำลังพัฒนา

โควิด 19 วันที่ 7 พ.ค. 63 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า

โควิด 19 อัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วย ที่ติดเชื้อแล้ว รายงานเข้าสู่ระบบ ทั่วโลกจะมีอัตราการเพิ่มขึ้น ตั้งแต่มีผู้ป่วยได้ 1 ล้านคน

อัตราการเพิ่มขึ้นจะเป็น 1 ล้านคนทุก 12 วัน เพิ่มเป็น 2 ล้านคน 3 ล้านคนและจะเป็น 4 ล้านคนภายในวันที่ 10 พฤษภาคมนี้ อัตราการเพิ่มขึ้นของทั่วโลกที่เป็นแบบนี้เปรียบเสมือนลดน้อยลง ไม่ได้เพิ่มแบบก้าวกระโดด และในอนาคตถ้าควบคุมได้แบบนี้ก็จะมีแนวโน้มลดลง สิ่งที่เป็นห่วงอย่างยิ่งคือการระบาดเข้าสู่ประเทศกำลังพัฒนา ในอเมริกาใต้และแอฟริกา รวมทั้งอินเดีย ที่จะทำให้เกิดการก้าวกระโดด และจะมีตัวเลขที่ไม่ได้รายงานอีกเป็นจำนวนมาก

นอกจากนี้ตัวเลขที่เห็น ขอยกตัวอย่างเช่นมหานครนิวยอร์ก มีการศึกษาทาง serology มีผู้ติดเชื้อไปแล้วประมาณ 20%

แสดงว่ามีผู้ป่วยที่รายงานเป็น 1 ใน 10 ของจำนวนผู้ติดเชื้อเท่านั้น เช่นเดียวกันกับอีกหลายที่ โดยเฉพาะในยุโรป ตัวเลขที่รายงานจำนวนผู้ป่วย จะต่ำกว่าจำนวนที่ติดเชื้อจริงอย่างมาก เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่จะให้อยู่ที่บ้าน นอกจากมีอาการมากจึงจะรับมารักษาที่โรงพยาบาล

มีผู้ป่วยจำนวนมากถึงมีอาการ ก็ไม่ได้รับการวินิจฉัย เพราะนอนอยู่ที่บ้าน

ประชากรไทยค่อนข้างโชคดี เพราะผู้ติดเชื้อทุกคน ได้รับการดูแลอย่างดีในโรงพยาบาล ไม่ใช่ให้นอนที่บ้าน

ภาพรวมของผู้เสียชีวิตในประเทศไทย จึงค่อนข้างต่ำกว่าประเทศทางตะวันตก

ในความเป็นจริงอัตราการเสียชีวิตของโรคนี้ ถ้าถูกนับรวมทั้งหมด รวมผู้ป่วยที่อยู่ที่บ้านของประเทศทางตะวันตกแล้ว น่าจะต่ำกว่าตัวเลขที่ทางตะวันตกรายงานเป็นทางการ จะเห็นว่าทางตะวันตกไม่ว่ายุโรปหรืออเมริกา อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยค่อนข้างสูงมากเช่นใน อังกฤษ อิตาลีและสเปน อยู่ที่ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ในอเมริกาเอง จากตัวเลขอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ประมาณ 6 เปอร์เซ็นต์ มากกว่าการเสียชีวิตในสงครามเวียดนาม รบกันนานกว่า 10 ปี

ประเทศไทย อัตราการเสียชีวิตขณะนี้ อยู่ที่ 1.8 เปอร์เซ็นต์ นับว่าต่ำกว่าประเทศทางตะวันตกมาก ทั้งที่มีเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ดีมาก เพราะเกิดจากที่ทุกคนช่วยกัน

สิ่งที่สำคัญนับแต่นี้ไป เราจะต้องปรับตัวให้สมดุล ในการดำรงชีวิต ให้ทุกคนอยู่อย่างพอเพียง

ประเทศไทยอุดมสมบูรณ์ไปด้วยอาหาร ถ้ามีการแบ่งปันกัน และประคับประคองไม่ให้มีผู้ป่วย เกินกว่าระบบสาธารณสุขจะรองรับได้

รอเวลาให้วิกฤตผ่านพ้นไป น่าจะใช้เวลา 1 ปี เราก็จะมียารักษาที่ดีขึ้น มีวัคซีนในการป้องกัน ก็จะกลับคืนมาสู่ชีวิตที่ปกติเหมือนเดิม

 

related