svasdssvasds

จับตาพายุ โซนร้อน "บารีจัต" พายุไต้ฝุ่น "มังคุด" กระทบไทยฝนเพิ่มขึ้น!

จับตาพายุ โซนร้อน "บารีจัต" พายุไต้ฝุ่น "มังคุด" กระทบไทยฝนเพิ่มขึ้น!

พายุโซนร้อน “บารีจัต” ส่งผลไทยฝนเพิ่ม 13-14 ก.ย. ส่วนพายุไต้ฝุ่น “มังคุด” คาดการณ์เคลื่อนขึ้นฝั่งจีนตอนใต้ ช่วง16-18 ก.ย. ส่งผลภาคกลาง ตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ฝนเพิ่มเช่นกัน

สถานการณ์วันนี้ เมื่อเวลา 01.00 น. พายุโซนร้อน “บารีจัต” (BARIJAT) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตก คาดว่า พายุนี้จะเคลื่อนผ่านเกาะฮ่องกง และเกาะไหหลำ ประเทศจีน ในช่วงวันที่ 13-14 ก.ย. 61 ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น

สำหรับ พายุไต้ฝุ่น “มังคุด” (MANGKHUT) บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกมีแนวโน้มการเคลื่อนตัวผ่านเกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ และเกาะไต้หวัน ในช่วงวันที่ 14-15 ก.ย. 61 หลังจากนั้นจะเคลื่อนลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนบน และเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศจีนตอนใต้ ในช่วงวันที่ 16-18 ก.ย. 61 ตามลำดับ ซึ่งจะส่งผลให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่รับลมมรสุมด้านตะวันตกของภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก

สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ

อ่างฯขนาดใหญ่ ที่มีระดับเกินเกณฑ์ควบคุม (Upper Rule Curve) และปริมาณน้ำเกินร้อยละ 80 ของความจุ มี 6 แห่ง ดังนี้

1. เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร

-สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (06.00 น./ชป.) ปริมาณน้ำ 546 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 547) คิดเป็น 105% ปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ 5.10 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 4.27) มีปริมาณน้ำไหลออกวันละ 5.97 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 5.99)

-สภาพน้ำในพื้นที่ท้ายน้ำ มีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง บริเวณบ้านนาหว้า อ.นาหว้า จ.นครพนม บ้านพอกใหญ่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

-การบริหารจัดการน้ำ ปรับแผนลดการระบายน้ำ เพื่อลดผลกระทบพื้นที่ท้ายน้ำและเริ่มเก็บกักน้ำตามการคาดการณ์ปริมาณฝนที่จะลดลง และเร่งระบายน้ำในพื้นที่ด้านท้ายเขื่อนที่มีน้ำท่วมขัง

-การแจ้งเตือนและการช่วยเหลือ แจ้งเตือนให้พื้นที่ในลุ่มน้ำสงครามตอนล่าง ตั้งแต่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร จนถึง อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำ

2. เขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี

-สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (06.00 น./ชป.) ปริมาณน้ำ 716 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 721) คิดเป็น 101% น้ำล้นทางระบายน้ำ (Spillway) สูง 0.13 ม. (เมื่อวาน 0.24) ปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ 5.57 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 7.28) มีปริมาณน้ำไหลออกวันละ 9.94 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 10.80)

-สภาพน้ำในพื้นที่ท้ายน้ำ ไม่มีน้ำสูงกว่าระดับตลิ่ง

-การบริหารจัดการน้ำ เร่งพร่องน้ำตามการคาดการณ์ฝนที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ติดตามสถานการณ์ฝนในพื้นที่เพื่อปรับแผนการระบายน้ำ

3. เขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี

-สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (24.00 น./11 ก.ย. 61/กฟผ.) มีปริมาณน้ำ 8,393 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 8,412) คิดเป็น 95% ปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ 39.85 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 43.66) มีปริมาณน้ำไหลออกวันละ 57.78 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 57.83)

-สภาพน้ำในพื้นที่ท้ายน้ำ ไม่มีน้ำสูงกว่าระดับตลิ่ง

-การบริหารจัดการน้ำ ระบายน้ำเป็นวันละ 58 ล้าน ลบ.ม. จนถึง 30 ก.ย. 61 ทั้งนี้จะปรับเพิ่ม/ลด การระบายไม่ให้เกินความจุของลำน้ำแควน้อย

-การแจ้งเตือนและการช่วยเหลือ แจ้งให้พื้นที่ท้ายเขื่อนตามลำน้ำแควน้อยให้ทราบถึงแผนการระบายน้ำ

4. เขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี

-สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (24.00 น./11 ก.ย. 61/กฟผ.) ปริมาณน้ำ 16,287 ล้าน ลบ.ม. (เท่าเดิม) คิดเป็น 92% ปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ 36.14 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 43.53) มีปริมาณน้ำไหลออกวันละ 35.14 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 26.64)

-การบริหารจัดการน้ำ ระบายน้ำผ่านเขื่อนท่าทุ่งนาวันละ 28-32 ล้าน ลบ.ม. จนถึง 30 ก.ย. 61 โดย-ปริมาณน้ำที่ระบายยังไม่เกินความจุของลำน้ำแควใหญ่ ทั้งนี้การปรับเพิ่ม/ลด จะควบคุมปริมาณน้ำไม่ให้เกินระดับเฝ้าระวังของลำน้ำแควใหญ่ที่สถานีบ้านหนองบัว และปริมาณ Side Flow จากลำตะเพิน

-การแจ้งเตือนและการช่วยเหลือ แจ้งให้พื้นที่ท้ายเขื่อนตามลำน้ำแควใหญ่ให้ทราบถึงแผนการระบายน้ำ

5. เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก

-สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (06.00 น./ชป.) ปริมาณน้ำ 191 ล้าน ลบ.ม. (เท่าเดิม) คิดเป็น 85% ปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ 3.10 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 4.29) มีปริมาณน้ำไหลออกวันละ 2.99 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 5.22) น้ำไหลผ่านทางระบายน้ำล้นสูง 0.44 ม. (เมื่อวาน 0.43)

-การบริหารจัดการน้ำ เร่งพร่องน้ำตามการคาดการณ์ฝนที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ติดตามสถานการณ์ฝนในพื้นที่เพื่อปรับแผนการระบายน้ำ แจ้งให้พื้นที่ท้ายเขื่อนทราบถึงแผนการระบายน้ำ

6. เขื่อนนฤบดินทรจินดา จ.ปราจีนบุรี

-สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (06.00 น./ชป.) ปริมาณน้ำ 261 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 262) คิดเป็น 89% ปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ 3.61 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 4.25) มีปริมาณน้ำไหลออกวันละ 4.01 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 3.61)

-การบริหารจัดการน้ำ เร่งพร่องน้ำตามการคาดการณ์ฝนที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ติดตามสถานการณ์ฝนในพื้นที่เพื่อปรับแผนการระบายน้ำ แจ้งให้พื้นที่ท้ายเขื่อนทราบถึงแผนการระบายน้ำ

ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ให้วางแผนปรับลดการระบายน้ำในอ่างฯ ทุกขนาด ตามการคาดการณ์ที่ปริมาณน้ำฝนที่มีแนวโน้มลดลงในเดือน ก.ย.-ต.ค. 61 ทั้งนี้อ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำน้อยกว่า 60% ของความจุ ต้องวางแผนเก็บกักน้ำและเติมน้ำโดยประสานกับกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ให้ติดตามการพยากรณ์อากาศในเดือนนี้ เพื่อวางแผนการระบายน้ำในแม่น้ำสายหลัก ส่วนภาคตะวันตก ใน 4 เขื่อนขนาดใหญ่ (ศรีนครินทร์ วชิราลงกรณ แก่งกระจาน และปราณบุรี) ยังคงต้องเร่งการพร่องน้ำ ตามการคาดการณ์ฝนที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องและรองรับฝนตามฤดูกาล (ปลาย ก.ย.-ต.ค. 61) โดยให้ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ท้ายน้ำน้อยที่สุด

related