svasdssvasds

ย้อนอดีต "110ปี ปัตตานี" การล่าอาณานิคม กับ ปัญหาที่ยังคงวนเวียน

ย้อนอดีต "110ปี  ปัตตานี" การล่าอาณานิคม กับ ปัญหาที่ยังคงวนเวียน

ติดตามข่าวสารwได้ที่ https://www.springnews.co.th

ความเคลื่อนไหว สถานการณ์ในพื้นที่ จ.ชายแดนภาคใต้ ที่เริ่มมีการก่อความไม่สงบเกิดขึ้นอีกครั้ง โดยมีการลอบวางระเบิดในหลายจุด นอกพื้นที่ 3 จ.ชายแดนภาคใต้ ขณะที่ จ.ปัตตานีเอง ปรากฎว่ามีผู้พ่นสี ปักป้ายผ้าตามรายทางหลายแห่ง เนื้อหาระบุเป็นภาษาอังกฤษ ว่า “110 tahun tergadainya bangsa patani" ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยได้ความว่า "110 ปีการจำนองชาติพันธุ์ปัตตานี"

โดยในช่วงเช้าวันนี้ (11 มี.ค.) เวลา 06.00 น. เจ้าหน้าที่ตรวจพบการปักป้ายผ้าในพื้นที่ จุดที่ 1 ม.5 บ.จาเราะปีแซคละ ต.ตะบิงติงงี(ตลิ่งชัน) อ.บันนังสตา จ.ยะลา จุดที่ 2 อ.รือเสาะแขวนป้านหน้าโรงเรียนบ้านสาวอ จ.นราธิวาส

ย้อนอดีต "110ปี  ปัตตานี" การล่าอาณานิคม กับ ปัญหาที่ยังคงวนเวียน

จากการตรวจสอบถ้อยคำในแผ่นผ้าดังกล่าว พบว่า ในอดีตที่ผ่านมาเมื่อปี พ.ศ. 2452 ประเทศไทย ได้มีการลงนามสนธิสัญญาบางกอก (Bangkok Treaty of 1909) ซึ่งเป็นสนธิสัญญาระหว่างอังกฤษ และ สยาม โดยได้มีการลงนามกันที่กรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2452 และรัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักรได้ให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2452 โดยสนธิสัญญาดังกล่าวมีสาระสำคัญ คือ

ย้อนอดีต "110ปี  ปัตตานี" การล่าอาณานิคม กับ ปัญหาที่ยังคงวนเวียน

- สยามยกสิทธิการปกครองและบังคับบัญชาเหนือไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิส รวมเกาะใกล้เคียงให้อังกฤษ โดยเหลือปัตตานี(เจ็ดหัวเมือง) สตูล(แยกมาจากไทรบุรี)และตากใบ(แยกมาจากกลันตัน) ให้ยังคงอยู่กับสยามเช่นเดิม

- หนี้สินต่างๆ ที่รัฐมาลายูเหล่านั้นมีต่อรัฐบาลสยาม อังกฤษจะเป็นผู้ชดใช้ให้

- สิทธิสภานอกอาณาเขตของอังกฤษในแผ่นดินสยามเป็นอันยกเลิกไป

- อังกฤษให้เงินกู้แก่สยามจำนวน 4.63ล้านปอนด์เพื่อสร้างทางรถไฟสายใต้

- สยามควรปรึกษาหารืออังกฤษ หากต้องการให้ หรือจัดการสิทธิในเหมืองถ่านหิน ท่าเรือ และอู่เรือในมณฑลราชบุรีแก่ชาติอื่นๆ

ตามประวัติศาสตร์ ระบุว่า สนธิสัญญาดังกล่าว เกิดขึ้นจากการที่ นายเอ็ดเวิร์ด เฮนรี่ สโตรเบล ที่ปรึกษาชาวอเมริกันของรัฐบาลสยาม ได้ทูลถวายความเห็นต่อรัชกาลที่ 5 เมื่อครั้งเสด็จกลับจากการประพาสยุโรปในปี พ.ศ. 2450 ว่ารัฐบาลสยามไม่สามารถไว้ใจสุลต่านเมืองเหล่านี้ได้ และไม่ช้าก็เร็ว อังกฤษ ต้องหาทางเอาดินแดนส่วนนี้ไปแน่ หากไม่ทำอะไร ไทยอาจต้องเสียดินแดนไปโดยไม่ได้รับอะไรตอบแทนเลย

ซึ่งการตัดสินใจครั้งนั้นทำให้สยาม ต้องเฉือนดินแดนออกไปเกือบ 40,000 ตร.กม.ประชากรอีกราว 5แสนคน ซึ่งพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยมีพระราชดำรัส ต่อดินแดนส่วนนี้ว่า “เราไม่มีผลประโยชน์เป็นพิเศษแต่อย่างใดในบรรดาหัวเมืองเหล่านี้ หากเราต้องสูญเสียหัวเมืองเหล่านี้ให้อังกฤษ เราจะขาดเพียงดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง นอกเหนือไปจากเครื่องราชบรรณาการนี้แล้วก็ไม่มีการสูญเสียทางด้านวัตถุอื่นใดอีก”

ขณะที่ผลจากการเกิดสนธิสัญญาดังกล่าว มีรายงานว่าส่งผลให้เกิดความไม่พอใจอย่างมากจากเจ้าเมืองที่อยู่ในดินแดนดังกล่าวด้วยเช่นกัน

ขอบคุณข้อมูล : วารสารประวัติศาสต์ธรรมศาสตร์

related