svasdssvasds

ส่องเทคโนโลยีกับวงการฟุตบอลไทย เมื่อ อิชิอิ ไลฟ์สด รายชื่อทีมชาติไทย

ส่องเทคโนโลยีกับวงการฟุตบอลไทย เมื่อ อิชิอิ ไลฟ์สด รายชื่อทีมชาติไทย

ชวนดูในช่วง 10 ปีหลังมานี้ ในวงการฟุตบอลไทย และ ทีมชาติไทย มีการเชื่อมโยง เชื่อมจิต กับ เรื่องเทคโนโลยี ดิจิทัล อย่างไรบ้าง หลังจากที่วันนี้ มาซาตาดะ อิชิอิ กุนซือทีมชาติไทย ไลฟ์สด การประกาศ 23 รายชื่อ ในการดวลกับทีมชาติเกาหลีใต้ ในการคัดฟุตบอลโลก 2026

SHORT CUT

  • มาซาตาดะ อิชิอิ กุนซือทีมชาติไทยไลฟ์สด ประกาศรายชื่อ  23 นักเตะในการดวลกับทีมชาติเกาหลีใต้ ในการคัดฟุตบอลโลก 2026
  • ดังนั้น เรามาดูกันว่า เรื่องเทคโนโลยี ในอดีตที่ผ่านมา วงการฟุตบอลไทย เคยมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องเทคโนโลยี อะไรบ้าง อาทิ  ปี 2558  เริ่มมีการใช้ กล้อง "โกลไลน์" ในไทยพรีเมียร์ลีก
  • หรือปี  2561 เทคโนโลยี VAR  หรือ  Video assistant referee ในไทยลีกในบางสนาม

ชวนดูในช่วง 10 ปีหลังมานี้ ในวงการฟุตบอลไทย และ ทีมชาติไทย มีการเชื่อมโยง เชื่อมจิต กับ เรื่องเทคโนโลยี ดิจิทัล อย่างไรบ้าง หลังจากที่วันนี้ มาซาตาดะ อิชิอิ กุนซือทีมชาติไทย ไลฟ์สด การประกาศ 23 รายชื่อ ในการดวลกับทีมชาติเกาหลีใต้ ในการคัดฟุตบอลโลก 2026

วันนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งมิติใหม่ของวงการฟุตบอลไทย ในการประกาศตัวรายชื่อนักเตะทีมชาติ หรือ "ขุนพลช้างศึก"  จากการที่ มาซาตาดะ อิชิอิ กุนซือทีมชาติไทย ไลฟ์ การประกาศรายชื่อ  ซึ่งนับเป็นการใช้ โซเชียลมีเดีย ให้เข้ากับยุคสมัย เพราะใครและใครในโลก ปี 2024 ต่างก็มีโซเชียลมีเดียกันหมดแล้ว ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ  

ด้วยนิมิตรหมายสิ่งนี้ ทำให้ อยากจะชวนย้อนดู นวัตกรรม เทคโนโลยี ต่างๆ ที่เคยนำมาใช้ กับทีมชาติไทย ใช้กับสโมสรฟุตบอลในไทยลีก เพราะเทคโนโลยีนั้น ถือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต และ เป็นสิ่งที่จะทำให้ เกม กีฬา พัฒนาขึ้นไปอีก

เราลองมาดูกันในช่วง 10 ปีหลังมานี้ ในวงการฟุตบอลไทย และ ทีมชาติไทย มีการเชื่อมโยง เชื่อมจิต กับ เรื่องเทคโนโลยี ดิจิทัล อย่างไรบ้าง

• 2558 : เริ่มมีการใช้ กล้อง "โกลไลน์" ในไทยพรีเมียร์ลีก
• 2559 :  มีการเสื้อกั๊ก Catapult  ซึ่งเป็นเครื่องมือวิเคราะห์สถิติต่างๆ 
• 2561 : เทคโนโลยี VAR  หรือ  Video assistant referee ในไทยลีกในบางสนาม
• 2566 : อิชิอิ ประกาศรายชื่อนักฟุตบอลทีมชาติไทย ผ่าน Live  ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ 
 

 การใช้ กล้อง "โกลไลน์" ในไทยพรีเมียร์ลีก

ทั้งนี้ เรื่อง โกลไลน์ นั้น มีการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ มานานแล้ว เป็นเวลาเกือบๆ 10 ปี และในไทยก็หันมาใช้เทคโนโลยีนี้เช่นกัน แต่อาจจะไม่ทันสมัย ไม่เต็มรูปเหมือนกับในต่างประเทศ แต่ในช่วงเวล ปี 2558 นั้น คุณ องอาจ ก่อสินค้า ประธานบริษัทไทยพรีเมียร์ลีก ณ เวลานั้น นำเทคโนโลยีโกลไลน์ (Goal line)  มาใช้โดยเร็วที่สุดเหมือนกับในพรีเมียร์ลีก อังกฤษ  ซึ่งเป็นความต้องการพัฒนาลีกให้สนุก มีความยุติธรรมมากขึ้น

โดยเทคโนโลยี กล้องโกลไลน์ เอามาใช้ แก้ จุดอ่อนเรื่องลูกข้ามเส้น ไม่ข้ามเส้นประตู เพื่อการตัดสินให้ชัดเจนที่สุด

ช่วง 10 ปีหลังมานี้ ในวงการฟุตบอลไทย และ ทีมชาติไทย มีการเชื่อมโยง เชื่อมจิต กับ เรื่องเทคโนโลยี ดิจิทัล อย่างไรบ้าง

การใช้ กล้อง "โกลไลน์" ในไทยพรีเมียร์ลีก

เสื้อกั๊ก Catapult  เป็นเครื่องมือวิเคราะห์สถิติต่างๆ 

เทคโนโลยี  เสื้อกั๊ก Catapult , เป็นสิ่งที่เข้ามาในไทย หลังจากโกลไลน์เล็กน้อย  สำหรับคอบอลไทยในบ้านเรา เคยตั้งข้อสงสัยหรือสังเกตุกันหรือไม่ บางครั้ง ที่เวลานักเตะหลายๆสโมสร รวมถึงนักเตะทีมชาติไทย ทั้งหญิง และ ชาย  เวลาที่ทำประตูได้ แล้ววิ่งดีใจ พอถอดหรือเปิดเสื้อแข่งออกแล้ว จะเห็นเป็นเสื้อกล้ามเล็กๆตัวจิ๋วสีดำ ที่นักกีฬาใส่อยู่ คิดกันมั้ยว่าเสื้อนั่นคืออะไร หลายคนอาจจะคิดว่าเป็นเสื้อรัดกล้ามเนื้อ 

แต่ในความเป็นจริงแล้ว เสื้อกั๊ก Catapult เป็นหนึ่งในเทคโนโลยี ที่วิเคราะห์และเก็บสถิติในรายบุคคล  อุปกรณ์ตัวนี้เรียกว่า  Tracking Device จะคล้ายๆเสื้อกั๊กขนาดเล็กจะมี GPS ที่จะคอยติดตามช่วยวิเคราะห์ และจับความเคลื่อนไหวร่างกายของนักเตะ พร้อมกับวัดอัตราการเต้นของหัวใจ  ซึ่งจะช่วยให้ โค้ชฟิตเนส และนักวิทยาศาสตร์การกีฬาของทีม นั้นนำมาวิเคราะห์ข้อมูล ทำให้มีผลต่อประสิทธิภาพการในการแข่งขันกีฬาเป็นอย่างมาก

เสื้อกั๊ก Catapult  เป็นเครื่องมือวิเคราะห์สถิติต่างๆ

เสื้อกั๊ก Catapult  เป็นเครื่องมือวิเคราะห์สถิติต่างๆ

เทคโนโลยี VAR  หรือ  Video assistant referee ในไทยลีกในบางสนาม

เรื่องของ VAR นั้น ประเทศไทยเริ่มต้นใช้อย่างเป็นทางการเกมแรก คือในปี 2561 โดยเป็น เกมฟุตบอลออมสิน ไทยแลนด์ แชมเปียนส์คัพ 2018 ระหว่าง บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด กับ สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด ที่จบลง ถือเป็นฟุตบอลนัดประวัติศาสตร์ เนื่องจากว่าเป็นนัดแรกที่สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ นำเอาเทคโนโลยี VAR หรือมาใช้งาน โดยเป็นการทดสอบระบบเสมือนจริง 

โดย เทคโนโลยี VAR ที่มีชื่อเต็มว่า Video Assistant Referee คือการใช้ภาพวิดีโอเพื่อช่วยกรรมการในสนามตัดสินเกมได้อย่างแม่นยำ โดยจะมีผู้ตัดสิน 2 คนอยู่ในห้องช่วยกันดูภาพช้า และทำงานร่วมกับผู้ตัดสินในสนาม ทำให้ผู้ตัดสินในสนามเหมือนมีผู้ช่วยซึ่งเป็นเป็นภาพซ้ำ หรือ ภาพช้า เพื่อไม่ให้ตัดสินผิดพลาด แต่สโมสรไม่มีสิทธิที่จะร้องขอให้ผู้ตัดสินใช้ VAR ผู้ที่จะมีสิทธิ์ขอดูวิดีโอก็คือ ผู้ตัดสินที่ 1 และเจ้าหน้าที่ VAR ในห้องควบคุมเท่านั้น

สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือฟีฟ่า ได้นำมาทดลองใช้แล้วในศึกฟีฟ่า คอนเฟดเดอเรชั่น คัพ 2017 

Video Assistant Referee หรือ VAR ในไทยลีก

อิชิอิ ประกาศรายชื่อนักฟุตบอลทีมชาติไทย ผ่าน Live สด 

แน่นอนว่า เรื่องการประกาศรายชื่อนักเตะทีมชาตินั้น มีมาเป็น 10-20 ปีแล้ว แต่ที่ผ่านๆมา แต่กุนซือทีมชาติไทย ที่ผ่านมา ไม่เคยมีใคร ใช้การประกาศรายชื่อผ่านการ Live สดมาก่อน , ดังนั้น นี่อาจเป็น กิมมิก เล็กๆ กับการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กในการทำงาน 
 

related