svasdssvasds

ชวนดูบทบาท AI ในวงการข่าว วงการสื่อสารมวลชน นักข่าวเก้าอี้ร้อนเป็นไฟแล้ว ?

ชวนดูบทบาท AI ในวงการข่าว วงการสื่อสารมวลชน นักข่าวเก้าอี้ร้อนเป็นไฟแล้ว ?

AI บุกวงการสื่อแล้ว คำๆนี้ อาจจะไม่เกินจริง เพราะตอนนี้ มีการคิด พัฒนาการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในงานข่าว ในหลายๆทักษะ อาทิ การสร้าง AI ที่เป็นร่างอวตารผู้ประกาศข่าว ใช้ AI ใส่ Voice Over สร้างคำบรรยายเสียงแบบอัตโนมัติ เป็นต้น

SHORT CUT

  • วงการสื่อสารมวลชน หรือ วงการข่าว มีโอกาสในการนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้พัฒนาการทำงานข่าวในหลายๆ ด้าน 
  • ลอง วิเคราะห์ดู บทบาท AI ในวงการข่าว วงการสื่อสารมวลชน ณ ตอนนี้ มีลักษณะงานที่เห็น  อาทิ สร้างภาพ เนื้อหา และตัดคลิปวิดีโอได้โดยเสร็จสรรพ คล้ายกับการเป็น Image Journalism, ช่วยเทคนิคการออกอากาศ-สนับสนุนทำงานด้านภัยพิบัติ เสนอตัวเลือกสำหรับหัวข้อข่าว หรือสไตล์การเขียนที่แตกต่างออกไป เป็นต้น 
  • แต่ AI ในวงการสื่อ ณ เวลานี้ จะเป็น บทบาทในลักษณธ เข้ามาช่วยเหลือ-เข้ามาส่งเสริม ให้งานข่าวดีขึ้น แต่ AI ไม่ได้เข้ามาแทนที่ ฮิวแมน แบบ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่อย่างใด 

AI บุกวงการสื่อแล้ว คำๆนี้ อาจจะไม่เกินจริง เพราะตอนนี้ มีการคิด พัฒนาการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในงานข่าว ในหลายๆทักษะ อาทิ การสร้าง AI ที่เป็นร่างอวตารผู้ประกาศข่าว ใช้ AI ใส่ Voice Over สร้างคำบรรยายเสียงแบบอัตโนมัติ เป็นต้น

AI หรือ คำนี้ได้ยินกันบ่อยมากๆ เพราะนี่คือนวัตกรรมแห่งอนาคต และอนาคตที่ว่านี้ ดููเหมือนจะคืบคลานจน ดูเหมือนว่า คำว่า "อนาคต" ที่ว่านั้นมันเดินทางมาถึงแล้ว และกำลัง เคาะประตูบ้านเราอยู่ อย่างเช่นในวงการสื่อสารมวลชน หรือวงการนักข่าว นั้น หลายๆลักษณะงานหลายๆอย่าง มีการพัฒนาให้ AI มีส่วนช่วย และ ในทางจุดนั้น อาจจะมี เป็น ออปชั่น เสริมแกร่งให้กับวงการการทำข่าวเลย 

ลองมองพิจารณาความจริง ณ เวลานี้ ให้ดี , สื่อหลายสำนักทั้งไทยและต่างประเทศ ใช้โอกาสนี้ นำนวัตกรรมมาปรับใช้ในการผลิตสื่อ ด้านหนึ่งเป็นการปรับตัว แต่ในทางกลับกัน เรื่องของ AI ก็เป็นโจทย์ที่ผู้เผยแพร่สื่อต้องหาแนวทางในการทำงานให้ได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสูงสุด ในเวลาเดียวกันด้วย 

ที่ผ่านมา เราอาจจะได้เห็น ประโยชน์ ของ AI ที่เอามาปรับปรุง พัฒนาวงการข่าวสาร ให้ทำงานง่ายขึ้น หรืออาจจะเป็นมุมมองของความแปลกใหม่ การทดลอง เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาในวงการ เพราะหาก ไม่เริ่มต้นใหม่ในวันนี้ จะไม่มีทางสำเร็จในวันพรุ่งนี้ ได้เลย ถูกต้องไหมล่ะ ? , และการที่จะได้รู้ว่า จะสำเร็จได้หรือไม่นั้น เราก็ต้อง ทดลองกันไป

ตอนนี้  สำนักข่าว ใช้ AI รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งในการผลิตข่าวอยู่แล้ว ทั้งการใช้เผยแพร่ข่าว และร ใช้ในการรวบรวมแหล่งข่าว ทั้งการถอดเทป และการแปลอัตโนมัติ การแยกข้อความออกจากรูป รวมไปถึงการแปลบทความเป็นภาษาอื่น การพิสูจน์อักษร การพาดหัวข่าว หรือการเขียนบทความฉบับเต็ม และยังมีการใช้ AI ในการเพิ่มประสิทธิภาพสำหรับการค้นหา ปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะผู้อ่านเฉพาะกลุ่มอีกด้วย

ชวนดูบทบาท AI ในวงการข่าว วงการสื่อสารมวลชน นักข่าวเก้าอี้ร้อนเป็นไฟแล้ว ?

บทบาท AI ในวงการข่าว วงการสื่อสารมวลชน ปัจจุบัน 

เราสามารถ ถอดดู บทบาท AI ในวงการข่าว วงการสื่อสารมวลชน ณ ตอนนี้ มีลักษณะงานที่เห็น ดังนี้ 

•สร้าง AI ที่เป็นร่างอวตารผู้ประกาศข่าว 
•ใช้ AI ใส่ Voice Over 
•สร้างคำบรรยายเสียงแบบอัตโนมัติ
•สร้างภาพ เนื้อหา และตัดคลิปวิดีโอได้โดยเสร็จสรรพ คล้ายกับการเป็น Image Journalism 
• ช่วยเทคนิคการออกอากาศ-สนับสนุนทำงานด้านภัยพิบัติ
•เสนอตัวเลือกสำหรับหัวข้อข่าว หรือสไตล์การเขียนที่แตกต่างออกไป  
• กำหนด Playlist ข่าวให้ตรงใจผู้ชม

ชวนดูบทบาท AI ในวงการข่าว วงการสื่อสารมวลชน นักข่าวเก้าอี้ร้อนเป็นไฟแล้ว ?

ชวนดูบทบาท AI ในวงการข่าว วงการสื่อสารมวลชน นักข่าวเก้าอี้ร้อนเป็นไฟแล้ว ?

•สร้าง AI ที่เป็นร่างอวตารผู้ประกาศข่าว

สถานีโทรทัศน์ CGTN ของจีน สร้าง AI ที่เป็นร่างอวตารของผู้ประกาศข่าว และสามารถใช้เสียงของผู้ประกาศเจ้าของเสียงได้ และเปลี่ยนเป็นเสียงคนอื่นได้เช่นกัน 
วิธีนี้จะช่วยทดแทนกรณีที่เป็นข่าวด่วนที่ผู้ประกาศไม่ได้อยู่ในสถานี ขณะที่อีกมุมหนึ่งยังช่วยลดอาการเหนื่อยล้าจากการอ่านข่าวในสตูดิโอเป็นเวลาหลายชั่วโมง แต่งานนี้ จะถูกใจ และได้เรตติ้ง ถูกใจผู้ชมหรือไม่ ประเด็นนี้ยังต้องรอคำตอบจากอนาคต ต่อไป


•ใช้ AI ใส่ Voice Over

ใช้ AI ใส่ Voice Over สำหรับในวงกรสื่อสารมวลชนนั้น ทำให้คำพูดของแหล่งข่าวชัดเจนมากขึ้น เรื่องเสียงและภาพ เป็นสิ่งสำคัญในการนำเสนอข่าวโทรทัศน์ แต่ก็มีบางครั้งเกิดปัญหาเช่นกัน เช่น เสียงไม่ชัด ภาพไม่ชัด จุดนี้ AI จะมาแก้ปมปัญหาเหล่านี้ได้


•สร้างคำบรรยายเสียงแบบอัตโนมัติ: 
ทางสถานีฯ CGTN ของจีน นำเครื่องมือนี้มาช่วยลดเวลาการทำงานด้วยของทีมตัดต่อด้วย เช่นเดียวกับในโซเชียลมีเดีย หลายๆ แพลตฟอร์ม ที่มีการใช้ AI มาสร้างคำบรรยายเสียงแบบอัตโนมัติ


•สร้างภาพ เนื้อหา และตัดคลิปวิดีโอได้โดยเสร็จสรรพ คล้ายกับการเป็น Image Journalism 

ในประเด็นนี้ มีสื่อญี่ปุ่น อย่าง NHK ใช้ AI ในการสร้างทั้งภาพ เนื้อหา และตัดคลิปวิดีโอได้โดยเสร็จสรรพ คล้ายกับการเป็น Image Journalism โดยสิ่งที่ AI สร้างมานั้น สามารถวิเคราะห์ได้ว่า ภาพใดเหมาะกับสิ่งที่ผู้ประกาศกำลังอ่านข่าวอยู่ โดยใช้วิธีการเก็บคำ “Keywords” สำคัญ ก่อนที่จะเข้ากระบวนการตัดภาพออกมารวมกัน และสร้างเป็นคลิปข่าวขึ้นมา , นอกจากนี้ ยังมีการ ปรับเซนเซอร์ ปรับภาพให้เหมาะสมได้เลย ซึ่งหากเป็น มนุษย์แล้ว บางครั้งมันอาจมีข้อผิดพลาดเล็ดลอดออกมาได้ 


• ช่วยเทคนิคการออกอากาศ-สนับสนุนทำงานด้านภัยพิบัติ

สถานีโทรทัศน์ KBS ของเกาหลีใต้ ใช้  AI ทั้งโปรแกรมตัดต่อวิดีโอ การปรับสีภาพที่ไม่ต้องใช้จินตนาการของมนุษย์ว่าควรเป็นสีโทนไหนดี แต่ให้ AI ช่วย Generate สีที่เหมาะสมกับภาพนั้น , นอกจากนี้ ในเวลาที่ เกิดภัยพิบัติ  หรือข่าวด่วน จะมีการนำ AI เข้ามาช่วยในบริการ “แจ้งเตือนเหตุฉุกเฉิน” ทั้งการสร้างสคริปต์ข่าว การแปลงข้อความเป็นคำพูด การสร้างภาษามืออวตารตามข้อความแจ้งเตือนภัยพิบัติ รวมทั้งออกอากาศโดยอัตโนมัติ

•เสนอตัวเลือกสำหรับหัวข้อข่าว หรือสไตล์การเขียนที่แตกต่างออกไป  

เดอะ วอชิงตัน โพสต์ (Washington Post) และนิวส์ คอร์ป (News Corp)ซึ่งเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์เดอะ วอลล์สตรีท เจอร์นัล รวมถึงหนังสือพิมพ์นิวยอร์ก ไทมส์ มีการพัฒนา  เครื่องมือ AI ให้ สามารถช่วยเหลือนักข่าวในการทำงาน ด้วยการนำเสนอตัวเลือกสำหรับหัวข้อข่าว หรือสไตล์การเขียนที่แตกต่างออกไป ยกตัวอย่างเช่น การเขียนข่าวในรูปแบบที่ยกระดับชิ้นงานและประสิทธิภาพการทำงานของเหล่านักข่าว 

• กำหนด Playlist ข่าวให้ตรงใจผู้ชม

ณ เวลานี้ สำนักข่าวหลายๆสำนัก ใช้ระบบวิเคราะห์ว่าช่วงเวลาไหนที่คนชอบดูมากที่สุด และมีการวางแผนว่าจะนำไปใช้กับเว็บไซต์ข่าวต่างๆ โดยใช้ AI วิเคราะห์ดู ดูเอนเกจเมนต์ ว่าผู้ชมชอบคอนเทนต์ลักษณะใด โดยวิเคราะห์จากประชากรศาสตร์ และภูมิศาสตร์ เพื่อการนำเสนอสิ่งที่ดีที่สุด

หากมองในแง่ดี การใช้ AI ในงานข่าว ในงานสื่อสารมวลชน ก็คือ การช่วยประหยัดเวลา คัดสรรแคปชั่นคุณภาพที่มีความยืดหยุ่นให้นำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ นั่นเอง แต่มันคงยังไม่สามารถมา ทำแทนแบบฮิวแมน ได้ 100% 

ที่มา reuters  nytimes theverge

ข่าวที่เกี่ยวข้อง


 

related