svasdssvasds

Prescribing Nature หมอปรับการรักษาดึงธรรมชาติมาเยียวยาโรคให้มนุษย์

Prescribing Nature หมอปรับการรักษาดึงธรรมชาติมาเยียวยาโรคให้มนุษย์

Prescribing Nature เป็นแนวทางการรักษาโรคทางเลือก ที่ได้รับความสนใจในหลายประเทศ แพทย์สามารถเขียนใบสั่งยาให้คนป่วยออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้งในสวนหรืออุทยานธรรมชาติ แทนการรับทานยารักษาโรค ซึ่งได้ผลลัพธ์ตอบรับที่ดีจากคนไข้

Prescribing nature หรือ การสั่งจ่ายยาด้วยการให้ออกไปพบธรรมชาติ อาจไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่กำลังได้รับความสนใจในวงการแพทย์กันมากขึ้น ทั้งยังเคยได้รับการจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 8 เทรนด์ด้านสุขภาพและสุขภาวะ (Global Wellness Trend) ประจำปี 2019 

ผลการศึกษาเมื่อปี 2019 พบว่า คนที่ใช้เวลาอย่างน้อย 120 นาที/สัปดาห์ ในสภาพแวดล้อมที่มีธรรมชาติมีแนวโน้มที่จะมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เมื่อเทียบกับคนที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติน้อยกว่า ทั้งยังช่วยลดความดันโลหิต ความวิตกกังวล และเพิ่มความสุขให้มากขึ้นในแต่ละวันได้ 

Mat White นักจิตวิทยาด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมแห่งมหาวิทยาลัยเวียนนาในออสเตรียกล่าว ความเครียดจะไปกระตุ้นการหลั่งคอร์ติซอล ฮอร์โมนความเครียด ที่มีผลต่อความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจของคุณสูงขึ้น ความเครียดยังเชื่อมโยงกับโรคหัวใจ โรคอ้วน และผลลัพธ์ด้านสุขภาพด้านลบอื่นๆ อีกด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Environment International ฉบับเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2022 เก็บรวบรวบการใช้จ่ายในด้านการรักษาพยาบาลของประชาชนจำนวน 5 ล้านคน ที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือแคลิฟอร์เนีย โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียมเพื่อเปรียบเทียบที่อยู่อาศัยของคนจำนวนดังกล่าวกับจำนวนพื้นที่สีเขียวหรือต้นไม้โดยรอบพบว่า ยิ่งผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่สีเขียวมักมีค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพและค่ารักษาพยาบาลที่ลดลง 

รายงานความเคลื่อนไว้ประเทศต่างๆ ที่มีการปรับใช้ Prescribing Nature กับคนไข้ ประกอบด้วย 

  • ในปี 1982 ที่ญี่ปุ่น ได้มีนักวิจัยทำการคิดค้นศาสตร์ที่ชื่อว่า การอาบป่า หรือ Shinrin Yoku เป็นการซึมซับธรรมชาติทุกประสาทสัมผัสเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย โดยมีการประการประกาศอย่างเป็นทางการในโครงการสาธารณสุขแห่งชาติของประเทศ ในไทยเองก็มี กลุ่มอาบป่ากาญจนบุรี ที่ใช้ธรรมชาติขัดเกลาจิตใจและช่วงเพิ่มพูนความสุข ท่ามกลางธรรมชาติ
  • ในปี 2008 Dr. David Sabgir แพทย์โรคหัวใจในโคลัมบัส รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา ริเริ่มโปรแกรมการรักษาที่ชื่อว่า Walk with a Doc คือการพาผู้ป่วยออกเดินเล่น ในบริเวณชุมชนของพวกเขา นำการออกเดินโดยแพทย์และนักเรียนแพทย์ ซึ่งรูปแบบการเดินนี้ได้ขยายและส่งต่อไปกว่า 500 แห่งทั่วโลก 
  • ในปี 2013 ในสหรัฐอเมริกา ริเริ่มมีโปรแกรม Park Prescription (ParkRx) เป็นการสั่งจ่ายยาให้คนไข้ใช้เวลาในสวนสาธารณะและอุทยานแห่งชาติ ที่มาสามารถเช็กจากฐานข้อมูลเครือข่ายการจ่ายยาให้คนไข้ออกเดินป่ารวบรวมทั้งหมดไว้ที่เว็บไซต์
  • ในปี 2018 แพทย์ในสกอตแลนด์เริ่มเขียน ใบสั่งยา ธรรมชาติสำหรับผู้ป่วย ที่เมืองเชตแลนด์ ซึ่งเป็นที่แรกในสหราชอาณาจักรที่หมอสามารถให้การรักษาโดยใช้ธรรมชาติเป็นยารักษา 
  • ในปี 2020 ใน แคนาดาประกาศใช้ โปรแกรม PaRx การสั่งจ่ายยาเป็นการเข้าไปทำกิจกรรมสำหรับในอุทยานแห่งชาติ ถือเป็นโครงการระดับประเทศเป็นที่แรกที่ใช้รูปแบบการสั่งจ่ายยาด้วย Prescribing Nature แพทย์ในแคนาดาสามารถออกบัตรผ่านให้คนไข้เข้าอุทยานแห่งชาติฟรี เพื่อใช้เวลากับธรรมชาติ โดยความร่วมมือกับ Parks Canada

Dr. Melissa Lem ผู้ริเริ่มโครงการนี้ กล่าวว่า “ธรรมชาติควรเป็นเสาหลักที่สี่ของสุขภาพ เช่นเดียวกับการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย และการนอนหลับที่ดีต่อสุขภาพเพื่อรักษาวิถีชีวิตสุขภาพดี”โดยบัตรผ่านรายปีสำหรับผู้ใหญ่สำหรับ Parks Canada ปกติอยู่ที่ราคา $ 57.00 ดอลลาร์สหรัฐ (คิดเป็นเงินไทยประมาณ 2,000 บาท) ทั้งนี้ยังครอบคลุมการเข้าชมสถานที่ทางธรรมชาติและแหล่งประวัติศาสตร์ทั่วแคนาดา

ภาพจำลองรายละเอียดใบสั่งยาที่ให้ผู้ป่วยออกไปเดินเป็นเวลา 30 นาทีจาก freepik

ยิ่งในช่วงเวลาที่โควิด-19 นี้ยังมาๆ ไปๆ ไม่หายไปอย่างถาวรสักที่ การติดอยู่กับบ้านเป็นเวลานานๆ ก็ส่งผลให้เกิดความเครียดสะสม และ อ่อนเพลีย อ่อนล้า การได้ออกไปสูดอากาศบริสุทธิ์ในต้นไม้ใหญ่ เดินชมสวนดอกไม้ริมทาง 
จะช่วยให้ร่างกายและจิตใจฟื้นฟูกลับมา สดใส มีชีวิตชีวา 

แต่ในกรุงเทพมหานคร ได้จัดเตรียมพื้นที่สีเขียวนี้ไว้เพียงพอกับจำนวนประชากรแล้วหรือยัง เรามักจะรู้จักกับสวนใหญ่ๆ ไม่กี่ที่ กระจุกอยู่ในใจกลางเมือง การเข้าถึงพื้นที่สีเขียวของคนรอบนอกเขตเมืองยังไม่สามารถตอบโจทย์คุณภาพชีวิตที่ดี
ที่กำหนดไว้ของ องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ซึ่งระบุว่า ประชาชน 1 คน ควรมีพื้นที่สีเขียวอยู่ที่ 9-15 ตารางเมตรสวนสาธารณะหรือสวนหย่อมในกรุงเทพ มี 8,796 แห่ง รวมพื้นที่แล้วอยู่ที่ 25,000 ไร่ แต่เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรที่อยู่ประมาณ 6 ล้านคน จะมีพื้นที่สีเขียว 6-7 ตารางเมตรต่อประชากร 1 คน 

โดยทั้งนี้ยังไม่รวมประชากรแฝงที่เข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ อีกหลายล้านคน และยังไม่นับเรื่องคุณภาพของสวนต่างๆ ที่ผ่านการประเมินเรื่องการใช้งานและความสวยงาม ที่เป็นอีกบันไดก้าวต่อไปที่ประเทศเรายังไปไม่ถึง

ภาพต้นไม้และสวนเล็กๆ ที่แทรกตัวอยู่ในเขตเมืองใหญ่ จาก freepik
Prescribing Nature การรักษาโรคอีกแนวทางหนึ่งที่มีข้อถกเถียงกันว่าแต่ละโรคควรได้รับการเยียวยาจากธรรมชาติหรือสวนที่แตกต่างกันหรือไม่ ซึ่งในไทยยังไม่มีแนวโน้มว่าจะเป็นที่ยอมรับว่าเป็นการรักษาทางเลือกในเร็วๆนี้ ทั้งอุปสรรคด้านข้อกฎหมายและข้อจำกัดทางการแพทย์ รวมทั้งการยอมรับจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการออก ใบสั่งยา ที่สำคัญสุดคือทัศนคติของนายจ้างกับการออกไปสัมผัสธรรมชาติแบบนี้ที่นับว่าเป็นการเยียวยา รักษาอาการป่วยแทนการรับประทานยาตามปกติ 

ที่มา

1 2 3 4