ขยะในกทม. เป็นปัญหาที่มีผลกระทบลูกโซ่แก่ประชาชน นำไปสู่ปัญหาอื่นๆ เช่น มลพิษ สุขอนามัย คุณภาพชีวิต ทัศนนียภาพเมือง แนวนโยบายของผู้ว่าฯ กทม. ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ได้วางแผนจัดการการดูแลปัญหาขยะไว้ให้กับชาวกรุงฯ นี้ยังไง ติดตามการดำเนินงานและพิสูจน์ผลลัพทธ์ไปด้วยกัน
จาก ไลฟ์ชัชชาติ ผู้ว่าฯ กทม. ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ครั้งไปเยือนย่านพระนคร ในช่วงท้ายของคลิป ได้มีคอมเมนต์จากผู้ชมทางบ้านฝากถามกับข้าราชการเขตที่ติดตามมาให้ข้อมูลกับผู้ว่าฯ โดยตั้งคำถามถึงถังขยะ ทำไมถึงแทบหาไม่ได้เลยในเขตเมือง โดยคำตอบที่ได้กลับมาจาก ผอ.เขตพระนคร คือเรื่องความปลอดภัยในเขตพิเศษ
ทั้งนี้บางประเทศก็มีแนวคิดว่า ทุกคนต้องรับผิดชอบขยะของตัวเอง เมื่อผลิตขยะก็ต้องเก็บนำกลับไปทิ้งที่บ้านของตัวเอง ตัวอย่างเช่นประเทศญี่ปุ่น ที่เข้มงวดและจริงจังการสอนให้เด็กๆ รู้จักการจัดการขยะปลูกฝังนิสัยกันตั้งแต่วัยเยาว์ ซึ่งจะติดตัวพวกเขาไปตลอดชีวิต
คลิปติดตามการปลูกฝังการรักษาความสะอาดและจัดการขยะในโรงเรียนของประเทศญี่ปุ่น
โดยเพจ ขาเกือบพลิก ได้แชร์โพสต์ ที่ร้องเรียนปัญหาถังขยะนี้ไว้ด้วยเช่นกัน แต่คนละเขตความรับผิดชอบกับไลฟ์ และได้รับฟีดแบ็กจาก Traffy Fondue ที่ตอบไว้ดังนี้
ฝ่ายรักษาความสะอาดฯ สำนักงานเขตบางนา ขอชี้แจงเรื่องการตั้งวางถังขยะบริเวณบนฟุตบาท เนื่องจากท่านผู้บริหารไม่มีนโยบาย ให้ตั้งถังขยะบนฟุตบาท เนื่องจากทำให้เกิดความสกปรกและกีดขวางทางเดินทาง ดังนั้นจึงมีนโยบายให้ประชาชนที่พักอาศัยอยู่บริเวณริมถนนติดกับทางเท้า ให้นำขยะมัดปากถุงให้เรียบร้อยแล้วนำมาตั้งวางบริเวณหน้าบ้านหรือบริเวณตามจุดพักขยะ ตามเวลาที่สำนักงานเขตกำหนด แล้วจะมีเจ้าหน้าที่เก็บขนขยะมูลฝอยเข้ามาดำเนินการจัดเก็บขยะตามรอบเวลาครับ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ชัชชาติ ให้กำลังใจผู้ต้องขัง คาดระยะ 530 กิโลเมตร ใช้เวลาลอกท่อ 3 เดือนเสร็จ
ชัชชาติ นำทีมพายเรือคายัค เก็บขยะแม่น้ำเจ้าพระยา ในวันสิ่งแวดล้อมโลก
ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ประชุมออนไลน์ข้ามทวีป Traffy Fondue แก้ไขปัญหารถติดคนกรุงฯ
จากความร่วมมือของกรมราชทัณฑ์และกรุงเทพมหานคร ได้ทำงานขุดลอกท่อบริเวณ โดยจาก ไลฟ์ชัชชาติ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายนที่ผ่านมา พบว่าขยะมีเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การระบายน้ำไม่คล่องตัวจึงมีน้ำท่วมเป็นเวลานานกว่าที่ควร
ชัชชาติรับหน้าที่ไม่กี่วัน งบ ก็โดนรัฐบาลเอาไปหมด เลยต้องให้กรมราชทัณฑ์ เอานักโทษมาช่วยลอกท่อระบายน้ำ
— เล่าข่าว (@news_to_you) June 20, 2022
สิ่งที่เจอสิ่งแรกคือ สิ่งปฏิกูล เกือบล้นฝาท่อ (ถึงว่าเวลาฝนตกหนักน้ำท่วมตลอด) เลยเกิดคำถาม 5.5ปีที่ผ่านมา อัศวินทำอะไรอยู่!
#ชัชชาติสิทธิพันธุ์ pic.twitter.com/8PnAEQr7x4
จะเห็นได้ว่า ปัญหา ขยะ ในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นหนึ่งปัญหาที่สำคัญ ที่ต้องมีระบบการจัดการและขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนชาวกรุงฯ ให้เกิดจิตสำนึกร่วมกันในการรักษาความสะอาดหน้าบ้านหน้าร้านของตัวเอง ซึ่งการแก้ไขที่ต้นตอเล็กๆ ที่เราสามารถร่วมกันช่วยลดและรักษาพื้นที่อยู่อาศัยหรือทำมาหากินให้ถูกสุขอนามัยและน่ามองยิ่งขึ้น ทั้งนี้ฝ่ายผู้บริการเมืองเองก็ต้องมีนโยบายที่ช่วยส่งเสริมแนวคิดนี้ให้เกิดขึ้นได้จริง ซึ่ง ในแผนนโยบายกว่า 200 ข้อของ ผู้ว่าฯ คนปัจจุบัน ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ก็ได้มีระบุการแก้ไขจัดการปัญหาเรื่องขยะ ซึ่งอยู่ในหมวด สิ่งแวดล้อมดีและโครงสร้างดีไว้อยู่ด้วยกัน 8 ข้อดังนี้
เตรียมโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมรองรับพื้นที่การค้าหาบเร่แผงลอย
สร้างต้นแบบการแยกขยะ ต่อยอดให้การแยกขยะระดับเขตสมบูรณ์ครบวงจร
สภาพแวดล้อมเมืองดี จุดทิ้งขยะถูกสุขอนามัย ไม่มีขยะตกค้าง
- สภาพแวดล้อมและทัศนียภาพเมืองสะอาด สวยงาม ไม่มีมลพิษจากขยะตกค้าง และไม่มีแหล่งเพาะเชื้อโรคหรือพาหะที่ส่งผลต่อสุขภาพคนเมือง
(โครงการเก็บขยะชิ้นใหญ่ร่วมกับชุมชนจดทะเบียนทั้ง 2,000 กว่าชุมชน หากประชาชนทั่วไปต้องการใช้บริการต้องโทรแจ้งและนัดหมายล่วงหน้า)
มุ่งเน้นแยกขยะต้นทางและขยะเปียกจากองค์กรแบบมุ่งเป้า
รถขยะไซส์เล็ก เข้าใจเมือง เข้าถึงบ้าน
เพิ่มสวัสดิการพนักงานเก็บและขนขยะ
ทบทวนและแก้ไขระเบียบค่าตอบแทน และระเบียบ กทม. ว่าด้วยค่าตอบแทนแก่บุคคลภายนอกที่ช่วยปฏิบัติงานด้านงานบริการสาธารณะ พ.ศ.2541 ประกอบไปด้วย
กวดขันจับ/ปรับ การทิ้งขยะลงแหล่งน้ำอย่างจริงจัง
- ทัศนียภาพและแหล่งน้ำที่ดี มลพิษทางน้ำลดลง
- มีการกวดขันลงโทษ และจับ/ปรับผู้ที่ก่อมลพิษหรือทิ้งขยะลงแหล่งน้ำอย่างจริงจัง
เพิ่มรอบการเก็บขยะริมคลองทั้งทางเรือและทางรถในพื้นที่ที่เกิดปัญหาซ้ำซากหรือจุดที่มีประชาชนร้องเรียนบ่อยๆ หรือ ใช้เทคโนโลยีในการตรวจจับและเฝ้าระวัง เช่น กล้อง CCTV ที่มีการติดตั้งอยู่เดิม
จากแนว นโยบายชัชชาติ ผู้ว่าฯ กทม. คนปัจจุบัน จะเห็นถึงรายละเอียดที่มีความครอบคลุมวงจรขยะตั้งแต่ต้นทางไปจนจบวงจรชีวิตของขยะแต่ละประเภทที่ต้องการการจัดการที่แตกต่างกัน รวมถึงการให้ความดูแลพนักงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติหน้าที่ที่หนักและท้าทายนี้ ด้วยการเสริมแรงกำลังใจผ่านเป็นสวัสดิการและค่าตอบแทนที่เห็นเป็นรูปธรรมแก่พวกเขา
ที่มา
1