svasdssvasds

"ลูกตำรวจ" นามสกุลที่มาพร้อมความรับผิดชอบ ทายาท "ผู้บังคับใช้กฎหมาย"

"ลูกตำรวจ" นามสกุลที่มาพร้อมความรับผิดชอบ ทายาท "ผู้บังคับใช้กฎหมาย"

"ลูกตำรวจ" นิยามทายาทของอาชีพที่ถูกสังคมจับตาการกระทำ เหตุใดบุตรหลานของอาชีพนี้มักถูกตั้งความหวังว่าพฤติกรรมของพวกเขาจะต้องอยู่ในเส้นทางของผู้พิทักษ์สันติราษฎร์

"ลูกตำรวจ" นามสกุลที่มาพร้อมความรับผิดชอบ ทายาท "ผู้บังคับใช้กฎหมาย"

ปฏิเสธไม่ได้ว่าในสังคมไทย "ทายาทอาชีพ" มักถูกคาดหวังว่าจะสานต่อความสำเร็จของพ่อแม่ และมักถูกเปรียบเทียบพฤติกรรมด้านอื่นของคนเป็นลูกด้วย ดังปรากฏเป็นประโยคเชื่อมโยงกับอาชีพที่เรามักได้ยินบ่อยๆ อาทิ 

  • แม่เป็นครูทำไมเธอเรียนไม่เก่งเลย
  • ทำไมไม่เรียน หรือเป็นหมอเหมือนพ่อ 
  • พ่อแม่ก็ฉลาดทำไมลูกสอบตกล่ะ

หรือแม้แต่ความคาดหวังจากบุคคลภายนอกในตัวทายาทของอาชีพที่มีชื่อเสียงอย่าง "นักกีฬา" ว่าเด็กที่เกิดมาจะต้องมีพรสวรรค์ระดับท็อปเหมือนบุพการีของเขา

"ลูกตำรวจ" นามสกุลที่มาพร้อมความรับผิดชอบ ทายาท "ผู้บังคับใช้กฎหมาย"

เช่นเดียวกับคำว่า "ลูกตำรวจ" ที่ในสังคมไทยคือคำที่มีนิยามเฉพาะ ซึ่งบุคคลที่ได้รับตำแหน่ง หรือนามสกุลนี้ก็เหมือนจะถูกสังคมตัดสินลักษณะนิสัยตั้งแต่ต้น รวมถึงการตั้งคำถามเกี่ยวกับอภิสิทธิ์ทางสังคม , การใช้เส้นสาย หรือการกระทำที่อยู่เหนือกฎหมาย ซึ่งแรงกระแทกที่เกิดขึ้นเมื่อกระทำความผิดก็มักจะรุนแรงกว่าบุตรหลานของอาชีพอื่นๆในฐานะที่เป็นทายาทของ "ผู้บังคับใช้กฎหมาย"

"ลูกตำรวจ" นามสกุลที่มาพร้อมความรับผิดชอบ ทายาท "ผู้บังคับใช้กฎหมาย"

ทั้งนี้ หากจะตอบคำถามในเชิงพฤติกรรมที่จะทำให้เห็นภาพชัดขึ้นว่า "อาชีพของพ่อแม่" นั้นมีผลต่อลักษณะนิสัยหรือไม่ หรือแม้แต่การฟันธงว่า "ลูกตำรวจ" จะต้องเป็นบุคคลที่ชอบละเมิดกฎหมาย "ทำอะไรก็ไม่ผิด" นั้นก็คงจะไม่ใช่เสมอไป

"ลูกตำรวจ" นามสกุลที่มาพร้อมความรับผิดชอบ ทายาท "ผู้บังคับใช้กฎหมาย"

จริงหรือ? เด็กที่มีพ่อแม่เป็นตำรวจมีโอกาสกระทำความผิดมากกว่า

ข้อมูลจากนิตยสารออนไลน์ Business Insider นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยดุ๊ค (Duke University) และมหาวิทยาลัยรัฐเพนซิลเวเนีย (PennsylvaniaState University) ที่ทำการศึกษาเด็กจำนวน 700 รายทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าเด็กที่ได้รับการอบรม "ทักษะทางสังคม" จากพ่อแม่เป็นอย่างดีจะประสบความสำเร็จในชีวิตมากกว่า เด็กที่พ่อแม่ไม่มีเวลาอบรมสั่งสอนเท่าที่ควร เพราะนั่นหมายความว่าเด็กจะมีทักษะทางสังคมต่ำ และมีโอกาสสูงที่จะ "ตกเป็นผู้ต้องหาตั้งแต่เป็นผู้เยาว์" ติดเหล้า หรือมีโอกาสที่จะไม่ประสบความสำเร็จในอนาคตเท่าที่ควร

"ลูกตำรวจ" นามสกุลที่มาพร้อมความรับผิดชอบ ทายาท "ผู้บังคับใช้กฎหมาย"

ทำไม "ลูกตำรวจ" อยากเป็นตำรวจเหมือนบุพการี

ซานดร้า ตั้ง นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยมิชิแกน อธิบายว่าการที่เด็กอยากประกอบอาชีพเดียวกับพ่อหรือแม่ของเขาเป็นเรื่องของ "แรงบันดาลใจ" มากกว่าเรื่องของระดับสติปัญญา เพราะเด็กจะมีแรงผลักดันในการศึกษา และภาคภูมิใจมากกว่าปกติเพื่อให้ได้เป็นเหมือนต้นแบบของตน

"ลูกตำรวจ" นามสกุลที่มาพร้อมความรับผิดชอบ ทายาท "ผู้บังคับใช้กฎหมาย"

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นที่เด็กจะอยากประกอบสัมมาอาชีพเหมือนพ่อแม่เพราะอย่าลืมว่าอาชีพตำรวจในประเทศไทยคือข้าราชการที่มีเกียรติ ได้รับการเคารพนับถือ รวมถึงสวัสดิการที่รองรับยามเกษียณ จึงไม่แปลกที่ว่า "ลูกตำรวจ" จะอยากเป็นตำรวจเหมือนพ่อแม่ในอนาคต

 

 

Cr. เนื้อหางานวิจัยประกอบบทความจาก รศ.ดร.ศิริยุพา รุ่งเริงสุข

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related