svasdssvasds

เสียงสะท้อน ตำรวจชั้นผู้น้อย ถึง นายตำรวจ จากกรณี ผู้กองหญิง เลื่อนยศไว

เสียงสะท้อน ตำรวจชั้นผู้น้อย ถึง นายตำรวจ จากกรณี ผู้กองหญิง เลื่อนยศไว

จากกรณีดราม่าในโลกโซเชียลเกี่ยวกับการเลื่อนยศจาก ส.ต.ต. บรรจุและดำรงตำแหน่ง ร.ต.อ.หญิง ภายในระยะเวลา 4 ปี หลังผ่านการอบรมหลักสูตร กอส. จนกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์นั้น ประเด็นนี้ SPRiNG ได้โทรติดต่อสอบถามความคิดเห็น ตำรวจทั้งในระดับชั้นประทวน และ สัญญาบัตร

จากกรณีดราม่าในโลกโซเชียลเกี่ยวกับการเลื่อนยศจาก ส.ต.ต. บรรจุและดำรงตำแหน่ง ร.ต.อ.หญิง ภายในระยะเวลา 4 ปี หลังผ่านการอบรมหลักสูตร กอส. จนกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์นั้น ประเด็นนี้ SPRiNG ได้โทรติดต่อสอบถามความคิดเห็นต่อ ตำรวจทั้งในระดับชั้นประทวน และ สัญญาบัตร เพื่อสะท้อนความคิดเห็นออกมา ซึ่งมีมุมมองที่น่าสนใจ 

โดย ตำรวจชั้นประทวน ได้สะท้อนออกมา การเลื่อนขั้น เลื่อนลำดับขั้น กับข่าวที่เกิดขึ้นนั้น เป็นเรื่องที่น่าน้อยใจ สำหรับคนทำงาน , เพราะบางทีโอกาสของคนชั้นประทวนจะได้ ไต่ยศไปสู่ การเป็นนายตำรวจ นั้น มีน้อยมาก เมื่อเทียบกับ โอกาสของบุคคลภายนอก ที่มีการเปิดรับอยู่บ่อยๆ 
 
"ณ ปัจจุบัน ทำงานมา 9 ปี ยศสิบตำรวจเอก อยู่ภาคเหนือ นะ"  ตำรวจชั้นประทวนเริ่มต้น   "ผมสอบติดในหลักสูตรของนายสิบตำรวจ เขารับอายุ 18-27 ปี  แต่ผมสอบได้ตอนอายุ 23"

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จากนั้น ตำรวจชั้นประทวนจากภาคเหนือ เริ่มระบายความรู้สึกออกมา โดยยอมรับว่า "น้อยใจ" อยู่เหมือนกัน และท้อแท้ เพราะคนที่ทำงานเสี่ยงในพื้นที่ กลับไม่ค่อยได้รับการโปรโมต

"ความจริงสตาร์ตตั้งแต่เป็น นักเรียนพลฯ และจากนั้นก็เข้าหลักสูตร อบรมตำรวจ 1 ปี  ออกมาก็เป็นสิบตำรวจตรี ซึ่งเป็นชั้นต่ำที่สุดของชั้นประทวน แล้วลำดับการเลื่อนยศของผม คือ 3 ปีขึ้นทีหนึ่ง เป็นไปตามลำดับขั้นตอน"
"หากถามว่า จะมีโอกาสขึ้นเป็นตำรวจชั้นสัญญาบัตรไหม ตำแหน่งนี้ ไม่ค่อยมีการเปิดสอบ นานๆเปิดที เปิดรับน้อย ส่วนใหญ่จะให้บุคคลภายนอกมา มาสอบ" 
"แล้วก็จะมีบุคคลบางกลุ่ม ถึงขั้นลาออกจากตำรวจชั้นประทวน เพื่อไปสอบ เป็นไป สัญญาบัตร , เหตุผลก็เพราะว่า เขาไม่รับบุคคลภายในไง เขารับบุคคลภายนอก จุดนี้คือบางคนเตรียมตัวมาดี เขาก็ทำได้ บางคนเตรียมไม่ดี ก็เตะฝุ่น ...บางคนเตรียมตัวไม่ดีก็กลับไปสอบประทวนใหม่ ความจริงแล้ว การสอบบุคคลภายในให้ขึ้นไปเป็นชั้นสัญญาบัตร คือน้อย"

 

"ผมเห็นข่าวผมก็ค่อนข้างท้อแท้นะ  ปัญหาคือว่า มันควรจะระบุไปเลยว่า ควร "ล็อก" ไปเลยว่าอายุงานเท่าไร อายุงานกี่ปี ยศเท่าไร จึงจะมีสิทธิสอบข้ามชั้น ขึ้นชั้นสัญญาบัตร เพราะเราเองไม่รู้อนาคตเลยว่า เมื่อไรจะมีการสอบขั้นชั้น"


"สิ่งที่อยากฝากก็คือ ควรคัดสรรบุคลากรให้เหมาะกับงาน ถ้าเราทำงานด้านการเงิน ก็ควรเอาคนที่มีประสบการณ์ด้านการเงินมาทำ ไม่ใช่ว่า เอาคนสายปราบปราม มา ....มันทำให้เกิดความล่าช้า"

เสียงสะท้อน ตำรวจชั้นผู้น้อย ถึง นายตำรวจ จากกรณี ผู้กองหญิง เลื่อนชั้นไว

ขณะเดียวกัน SPRiNG ยังได้โทรสอบถามไปยัง "นายตำรวจ" ท่านหนึ่ง ต่อกรณี ที่เป็นประเด็นร้อน  โดย "นายตำรวจ" ท่านนี้ ให้มุมมองว่า ที่ผ่านมา ตำรวจมักจะ เป็นแพะของสังคมอยู่แล้ว ไม่ว่าจะทำอะไรก็จะถูกมองว่าผิดเสมอ  แต่การ ขึ้นชั้นไปเป็น ตำรวจสัญญาบัตรนั้น หากมีกฎระเบียบอยู่ ถ้ามาตามระเบียบมันก็สามารถทำได้ 

"เรื่องการแต่งตั้งการขึ้นยศ มันเป็นสิทธิของตัวบุคคลคนนั้นเอง เพราะในวงการตำรวจมันค่อนข้าง Open ใครทำมากได้มาก ซึ่งที่จริงแล้ว ตำรวจมันจะมีปูมหลังที่ถูกสังคมมองว่า มันเป็นแพะของสังคมอยู่แล้ว ไม่ว่าจะทำอะไรก็จะถูกมองว่าผิดเสมอ"

"บางเรื่องในแวดวงของตำรวจนั้น มันมีกฎระเบียบอยู่ ถ้ามาตามระเบียบมันก็สามารถทำได้"

"การเลื่อนตำแหน่งนั้น มันขึ้นอยู่กับความสามารถ ในการเติบโตในหน้าที่การงานก็เป็นสิทธิของเขา ทุกคนเติบโตได้ในระเบียบของเขา" 

"มันขึ้นอยู่กับมุมมองด้วย ในวงการตำรวจจริงๆคือ เปิดกว้างมากๆ ไม่ว่ามาจากไหน  ไม่ว่าจะเริ่มจาก สิบตำรวจตรี หรือเริ่มจาก ร้อยตำรวจตรี มันเติบโตในงานได้  ส่วนโอกาสของชั้นประทวนที่จะขึ้นชั้นไปสัญญาบัตรนั้น ความจริงแล้ว ไม่ได้น้อยเลย"

"การสอบขั้นชั้นจากภายใน มีคนสอบจากชั้นประทวนมีน้อยมาก หากเทียบกับการสอบที่มีจากบุคคลภายนอก ซึ่ง ของบุคคลภายนอกนั้น คือมีการแข่งขันกันมาก จากจำนวนมากๆ แต่รับน้อย"

"โดยหลักจิตวิทยา ชั้นประทวนอาจจะมองว่าตัวเองด้อยค่า

แต่ความจริงแล้ว กำลังพลทุกคน ไม่เคยถูกด้อยค่านะ เพียงแต่ว่า เขาจะเห็นคุณค่าในตัวเองหรือเปล่า ตำรวจนั้นมองทุกคนมีค่าหมด"  นายตำรวจทิ้งท้าย

เสียงสะท้อน ตำรวจชั้นผู้น้อย ถึง นายตำรวจ จากกรณี ผู้กองหญิง เลื่อนชั้นไว

• เสียงจาก โฆษก ตำรวจ แจงดราม่าเลื่อนยศเป็น 'ร.ต.อ.หญิง' เป็นไปตามกฎ 

ขณะเดียวกัน  พล.ต.ท.อาชยน ไกรทอง โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ชี้แจง ให้ความกระจ่าง กรณีดราม่าในโลกโซเชียลเกี่ยวกับการเลื่อนยศจาก ส.ต.ต. บรรจุและดำรงตำแหน่ง ร.ต.อ.หญิง ภายในระยะเวลา 4 ปี หลังผ่านการอบรมหลักสูตร กอส. จนกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์นั้น

หลักสูตรการฝึกอบรมข้าราชการตำรวจและบุคคลที่บรรจุหรือโอนมา เป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร (กอส.) เป็นหลักสูตรการฝึกอบรมสำหรับข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรซึ่งบรรจุจากบุคคลภายนอก เช่น  ทายาทตำรวจ ผู้มีวุฒิปริญญาสาขาต่างๆ ผู้มีวุฒิปริญญาในสาขาวิชาที่ขาดแคลน  นายแพทย์ รพ.ตร. ตำรวจน้ำที่รับโอนมาจากทหารเรือ นักวิทยาศาสตร์ ฯลฯ เป็นหลักสูตรตามระเบียบ ตร.

กรณีของ ร.ต.อ.หญิง เป็นผู้มีวุฒิปริญญาซึ่งผ่านการคัดเลือกและได้รับการบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการตำรวจชั้นประทวนได้รับเงินเดือนขั้นต่ำ โดยมีเงื่อนไขเมื่อผ่านการอบรมฯ หลักสูตรตามที่ ตร. กำหนดแล้ว จึงจะได้รับการแต่งตั้งเป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรได้รับเงินเดือนตามคุณวุฒิ

เสียงสะท้อน ตำรวจชั้นผู้น้อย ถึง นายตำรวจ จากกรณี ผู้กองหญิง เลื่อนยศไว

ร.ต.อ.หญิง  ผู้กองแคท ผ่านการรับสมัครและคัดเลือกบุคคลภายนอกผู้มีวุฒิ ใช้วิธีการคัดเลือกตามกฎ ก.ตร.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกหรือการสอบแข่งขันฯ และตรวจสอบคุณวุฒิและคุณสมบัติเป็นไปตามหลักเกณฑ์ จนได้บรรจุเป็นข้าราชการตำรวจ ยศสิบตำรวจตรีหญิง ในปี พ.ศ. 2563 ในตำแหน่ง ผบ.หมู่ฯ

ต่อมาผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร กอส. ในปี พ.ศ.2564 และแต่งตั้งเป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร ยศร้อยตำรวจตรีหญิง ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.64 โดยมีคุณวุฒิที่ใช้บรรจุแต่งตั้งนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต (ป.โท) จากนั้นจะใช้ระยะเวลาครองยศ 8 เดือน ได้รับการเลื่อนยศเป็น ร.ต.ท.หญิง และครองยศ ร.ต.ท.หญิง อีก 1 ปี จะได้รับการเลื่อนยศเป็น ร.ต.อ.หญิง รวมระยะเวลา 1 ปี 8 เดือน

 โดยการเลื่อนยศของ ร.ต.อ.หญิง ผู้กองแคท เป็นไปตามตามกฎ ก.ตร.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งยศ พ.ศ.2554 ข้อ 8.2.8 ที่กำหนดให้ข้าราชการตำรวจที่ได้รับยศสูงขึ้น ต้องครองยศตามจำนวนปีที่รับราชการ ยกเว้นผู้ที่บรรจุในคุณวุฒิ ปริญญาโท ให้รับราชการในชั้นยศร้อยตำรวจตรีหนึ่งปี ร้อยตำรวจโทหนึ่งปี”

 โฆษก ตร. กล่าวอีกว่า “ในปัจจุบัน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีการเปิดสอบแข่งขันข้าราชการตำรวจชั้นประทวนเป็นตำรวจชั้นสัญญาบัตร ล่าสุด เมื่อปลายเดือน พ.ค.2566 มีการเปิดรับสมัครตำรวจชั้นประทวนเป็นสัญญาบัตร จำนวน 430 อัตราสำหรับตำแหน่งทั่วไป และ จำนวน 450 อัตรา สำหรับสายงานสอบสวน”
 

related