svasdssvasds

เปิดมาตรการแรงงานช่วย นายจ้าง ลูกจ้าง รับผลกระทบโควิด-19

เปิดมาตรการแรงงานช่วย นายจ้าง ลูกจ้าง รับผลกระทบโควิด-19

กระทรวงแรงงาน ได้ ออกประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน หลักเกณฑ์ของผู้ประกอบกิจการที่ไม่ต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน บรรเทาความเดือดร้อนนายจ้าง ลูกจ้าง ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19

เดินหน้าช่วยเหลือผู้ประการ ลูกจ้าง เดือดร้อนโควิด-19

โดยนายประทีป ทรงลำยอง อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงาน นำโดยนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กขับเคลื่อนกำลังเร่งนโยบายสำคัญช่วยเหลือสถานประกอบกิจการที่อยู่ในข่ายบังคับตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั้งนี้มีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบกิจการที่ต้องพัฒนาทักษะฝีมือลูกจ้างโดยการจัดฝึกอบรมฝีมือแรงงาน ส่งเสริมให้ลูกจ้างผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ หรือผ่านการรับรองความรู้ความสามารถ

สำหรับผู้ประกอบกิจการซึ่งได้จัดให้มีการฝึกอบรมฝีมือแรงงานให้แก่ลูกจ้างของตน หรือมีลูกจ้างเข้ารับการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติและผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ หรือมีลูกจ้างผ่านการรับรองความรู้ความสามารถ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน จากเดิมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ปรับลดเป็นไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนลูกจ้างทั้งหมดในปี พ.ศ. 2564 ผู้ประกอบกิจการนั้นไม่ต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน และได้มีการขยายระยะเวลาการยื่นขอรับรองหลักสูตรจากเดิมกำหนดให้ยื่นภายใน 60 วัน ขยายเวลาเป็น 90 วัน นับแต่วันเสร็จสิ้นการฝึก แต่ต้องไม่เกินวันที่ 15 มกราคม 2565

แรงงานไทยยังต้องได้รับความช่วยเหลือจากโควิด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

• รมว.แรงงาน โต้กลับ! หลังโซเชียลอ้างกฏหมายใหม่ จ้างเด็กต่ำกว่า 15 ปี ทำงาน     

• สหราชอาณาจักรวิฤกติหนัก ขาดแคลนพลังงานและแรงงานอย่างรุนแรง

• แรงงานคืนถิ่นทะลัก ! สะเทือนธุรกิจรับเปิดประเทศ ส่องดูคนกลับบ้านไปทำอะไร?

อย่างไรก็ตามมาตรการที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงมาตรการระยะสั้นเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกอบกิจการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด–19 ซึ่งเป็นความมุ่งมั่นตั้งใจ และเป็นนโยบายสำคัญของกระทรวงแรงงาน เป็นการช่วยเหลือสถานประกอบกิจการให้เดินหน้าประกอบธุรกิจต่อไป รักษาการจ้างงานของลูกจ้างและยังมีส่วนร่วมในการพัฒนาทักษะฝีมือให้แก่แรงงานที่เป็นลูกจ้างของตนเอง เพื่อให้พร้อมกับการฟื้นตัวภายหลังสถานการณ์โควิด-19 ดีขึ้น

ทั้งนี้สถานประกอบกิจการที่ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน (สพร.) และ สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงาน (สนพ.) ทุกจังหวัด โดยสามารถ download ประกาศที่เกี่ยวข้องได้ที่เว็บไซต์กองส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน www.dsd.go.th/spdaa

related