svasdssvasds

ระวัง! หลังสงกรานต์ 2565 WHO เจออีก "โอไมครอน" สายพันธุ์ย่อย BA.4-BA.5

ระวัง! หลังสงกรานต์ 2565 WHO เจออีก "โอไมครอน" สายพันธุ์ย่อย BA.4-BA.5

หลังจากที่สธ. คาดการณ์สถานการณ์หลังสงกรานต์ 2565 หากหย่อนยานมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม จะทำให้ยอดผู้ป่วยสูง ด้านองค์การอนามัยโลก ประกาศเฝ้าระวัง "โอไมครอน" สายพันธุ์ย่อยอีก 2 สายพันธุ์ "สายพันธุ์ย่อย BA.4" และ "สายพันธุ์ย่อย BA.5" เพิ่มเติมจากเดิม 4 สายพันธุ์

 หลังจากที่ นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค รายงานการคาดการณ์สถานการณ์หลังสงกรานต์ 2565 ระบุว่า ปัจจุบันสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยยังคงอยู่ในระดับที่ดีอยู่ ซึ่งก่อนหน้านี้มีการคาดการณ์รูปแบบการแพร่ระบาดอยู่ 3 ระดับ คือ ระดับสีแดง คือแย่ที่สุด , ระดับสีเหลือง ระดับที่คาดว่าน่าจะเป็น และ ระดับสีเขียว คือระดับที่ดีที่สุด

 ในช่วงสงกรานต์ 2565 หากประชาชนมีการรวมกลุ่มสังสรรค์กัน และหย่อนยานมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม ก็จะทำให้ยอดผู้ป่วยสูงขึ้นมาอยู่ในระดับสีเหลือง คือระดับที่คาดว่าน่าจะเป็น ราว 50,000 คนต่อวัน

 ด้านศูนย์จีโนมทางการแพทย์ ได้โพสตข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics ระบุว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้แถลง ว่าขณะนี้กำลังเฝ้าติดตามผู้ติดเชื้อ "โอไมครอน" สายพันธุ์ย่อยใหม่สองสายพันธุ์คือ "สายพันธุ์ย่อย BA.4" และ "สายพันธุ์ย่อย BA.5" ว่าจะก่อให้เกิดการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว หรือก่อให้เกิดอาการของโรคโควิด ที่รุนแรงไปมากกว่า "โอไมครอน" สายพันธุ์ย่อย "BA.1" และ "BA.2" ซึ่งกำลังระบาดอยู่ในขณะนี้หรือไม่

ระวัง! หลังสงกรานต์ 2565 WHO เจออีก \"โอไมครอน\" สายพันธุ์ย่อย BA.4-BA.5

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• วันหยุดสงกรานต์นี้ เที่ยวอย่างไรให้ปลอดภัยจากโควิด19

• โควิดวันนี้ 13 เม.ย. 65  ติดเชื้อเพิ่ม 23,015 ราย เสียชีวิต 106 ราย

• กรมอนามัย เผยประชาชนร้อยละ 75 กังวลต่อโควิดกลายพันธุ์ใหม่

 ขณะนี้ WHO กำลังเฝ้าระวังโอไมครอนสายพันธุ์ย่อยถึง 6 สายพันธุ์ (ยังไม่นับสายพันธุ์ลูกผสม) คือ BA.1, BA.1.1, BA.2, BA.3, BA.4 และ BA.5

 BA.4 และ BA.5 รหัสพันธุกรรมใกล้เคียงกับโอไมครอน "BA.2" มากมีการกลายพันธุ์เพิ่มเติมไปจากโอไมครอน BA.2 เพียงประมาณ 2 ตำแหน่งคือ L452R ที่ไปเหมือนกับเดลต้า และ แลมป์ดา และ F486V ซึ่งไม่ค่อยเจอในสายพันธุ์อื่นๆก่อนหน้านี้ จึงจำเป็นต้องได้รับการศึกษาเพิ่มเติมอย่างใกล้ชิดเพื่อทำความเข้าใจผลกระทบจากการหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกัน

 ไวรัสโคโรนา 2019 มีการกลายพันธุ์อยู่ตลอดเวลาแต่มีเพียง "การกลายพันธุ์บางตำแหน่งเท่านั้น" ที่สามารถส่งผลต่อความสามารถของไวรัสกลายพันธุ์ ในการแพร่กระจายหรือหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันที่ได้รับมาก่อนหน้าจากการฉีดวัคซีนหรือการติดเชื้อตามธรรมชาติ รวมไปถึงเพิ่มความรุนแรงของโรคโควิด

ระวัง! หลังสงกรานต์ 2565 WHO เจออีก \"โอไมครอน\" สายพันธุ์ย่อย BA.4-BA.5

 ตัวอย่างเช่นในกรณีของ BA.2 ซึ่งพบการติดเชื้อแพร่ระบาดไปทั่วโลกในขณะนี้ถึงร้อยละ 94 สามารถติดต่อได้อย่างรวดเร็วเหนือกว่าไวรัสโคโรนา 2019 ทุกสายพันธุ์ที่เคยระบาดมาก่อนหน้านี้ แต่หลักฐานจนถึงตอนนี้ชี้ให้เห็นว่า BA.2 ไม่น่าจะทำให้เกิดโรคร้ายแรงได้เหมือนเดลตา บีตา อัลฟา ในอดีต

องค์การอนามัยโลก รายงานว่าได้มีการสุ่มตรวจรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมไวรัสโคโรนา 2019 จากทั่วโลกพบ

• สายพันธุ์ BA.4 พบ "83 ตัวอย่าง" 
• สายพันธุ์ BA.5 พบ "37 ตัวอย่าง"

 ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกได้ร่วมด้วยช่วยกันอัปโหลดขึ้นบนฐานข้อมูลโควิดโลก "GISAID" เป็นที่เรียบร้อยสำนักงานความมั่นคงด้านสุขภาพของสหราชอาณาจักร (The UK's Health Security Agency) ซึ่งถอดรหัสพันธุ์กรรมตัวอย่างโควิด-19 จากทั่วโลกทั้งจีโนม (whole genome sequencing) กล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าพบ BA.4 ในแอฟริกาใต้ เดนมาร์ก บอตสวานา สกอตแลนด์ และอังกฤษ ตั้งแต่วันที่ 10 ม.ค. ถึง 30 มี.ค. ส่วนสายพันธุ์ BA.5 เมื่อสัปดาห์ที่แล้วยังพบอยู่เฉพาะในแอฟริกาใต้ แต่เมื่อวันจันทร์ (11/12/2565) กระทรวงสาธารณสุขของบอตสวานารายงานว่าพบผู้ติดเชื้อ BA.4 และ BA.5 แล้วสี่ราย อายุระหว่าง 30 -50 ที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วน โดยมีอาการไม่รุนแรง (mild symptoms)

ที่มา : Center for Medical Genomics

related