svasdssvasds

ส่องเสียงโซเชียล แบ่งจ่าย "เงินเดือนข้าราชการ" สุดว้าวุ่น

ส่องเสียงโซเชียล แบ่งจ่าย "เงินเดือนข้าราชการ" สุดว้าวุ่น

หลังการประชุม ครม.นัดแรก มีหลายหัวข้อที่ประชาชนให้ความสนใจโดยเฉพาะ เรื่องแบ่งจ่ายเงินเดือนข้าราชการเป็น 2 งวด  ที่จะเริ่มในปี 67 รัฐบาลจะให้ข้าราชการเลือกได้ว่าจะรับเงินเดือนแบบ 2 งวด หรือ 1 งวด จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก

 ตามที่นายกฯ เศรษฐา ได้ประกาศปรับการจ่ายเงินเดือนข้าราชการเป็น 2 งวด คือกลางเดือนและปลายเดือน จากนั้น จึงได้แถลงในสองวันถัดมาว่า ข้าราชการสามารถเลือกได้ ว่าต้องการรับเงินเป็น 2 งวด หรืองวดเดียวแบบเดิม

ส่องเสียงโซเชียล แบ่งจ่าย "เงินเดือนข้าราชการ" สุดว้าวุ่น

แบ่งจ่าย "เงินเดือนข้าราชการ" สุดว้าวุ่น

 บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด จึงได้ทำการเก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 13 - 17 กันยายน 2566 ผ่านเครื่องมือ ZOCIAL EYE พบการพูดถึงประเด็นการแบ่งจ่ายเงินเดือนข้าราชการจำนวน 26,091 ข้อความ และ 2,446,629 เอ็นเกจเมนต์ โดยมาจากช่องทาง

  • Facebook จำนวน 53%,
  • X (Twitter) 30%,
  • YouTube 12% และช่องทางอื่นๆ รวม 5%

ส่องเสียงโซเชียล แบ่งจ่าย "เงินเดือนข้าราชการ" สุดว้าวุ่น

มองให้ชัด คนออกเสียงจริง เกือบครึ่งอาจยังไม่ใช่ข้าราชการ

ผู้ที่พูดถึงเรื่องการแบ่งจ่ายเงินเดือนข้าราชการ แบ่งเป็นเยาวชน 

  • ผู้ที่อายุต่ำกว่า 24 ปี จำนวน 48%,
  • ผู้ที่อายุ 25-34 ปี จำนวน 35%
  • ผู้ที่อายุมากกว่า 34 ปี จำนวน 17%

ส่องเสียงโซเชียล แบ่งจ่าย "เงินเดือนข้าราชการ" สุดว้าวุ่น

เสียงว้าวุ่น ดังอื้ออึง นี่แหละ ต้นตอปัญหา "เงินช็อต"

ความรู้สึกของผู้พูด (Sentiment) ถึงประเด็นนี้ในเชิงลบ มีมากถึง 18.68% มากกว่าความรู้สึกเชิงบวกที่มีจำนวนการพูดถึงเพียง 7.45% 

ส่องเสียงโซเชียล แบ่งจ่าย "เงินเดือนข้าราชการ" สุดว้าวุ่น

 ผู้ที่ไม่เห็นด้วยได้แสดงความคิดเห็นว่า การแบ่งจ่ายเงินเดือนข้าราชการสองรอบ จะทำให้เกิดปัญหาหมุนเงินไม่ทัน คือเมื่อเงินเดือนถูกแบ่งจ่ายในช่วงกลางเดือน เงินจะถูกนำไปใช้ในระหว่างเดือน ทำให้เมื่อถึงเวลาชำระหนี้ในช่วงปลายเดือน จะไม่สามารถทำได้ รวมถึง การแบ่งจ่ายเช่นนี้ จะเพิ่มงานให้แก่ฝ่ายการเงินที่เกี่ยวข้องด้วย

นอกจากนี้ ยังมีคนให้ความเห็นว่า อยากได้เงินเดือนขึ้น หรืออยากให้รัฐบาลขยายระยะเวลาปลดหนี้ หรือออกมาตรการที่ลดการจ่ายหนี้มากกว่า

"ได้เร็วก็ดี" คนเห็นด้วยก็มี แต่ไม่พูดเยอะ เจ็บคอ

ผู้ที่เห็นด้วยมองว่า จะช่วยลดการไปกู้เงินฉุกเฉิน เช่น บัตรเครดิต หรือหนี้นอกระบบได้ และยังสามารถนำเงินไปหมุน หรือเอาไปฝากได้ก่อนด้วย การได้เงินเร็วขึ้น จึงจัดเป็นเรื่องที่ดี

เสียงประชาชนติดจรวด ชอบ-ไม่ชอบอะไร รัฐบาลต้องรู้!

ทั้งนี้ ปัญหาค่าครองชีพและรายได้ไม่แปรผันตามกัน เป็นปัญหาที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างยาวนาน และหากเพิ่มปัญหาหนี้สินครัวเรือนเข้าไปด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้ปัญหานั้นพอกพูนทวีคูณ ไม่จบไม่สิ้น คนไทยเราจึงอยากให้รัฐบาลออกมาตรการที่จะสามารถช่วยเหลือประชาชนได้จริงและยั่งยืน

 และเมื่อในโลกโซเชียลในปัจจุบัน ทำให้เกิดการสื่อสารสองทาง เอื้อให้เสียงจากประชาชนถึงรัฐบาลได้อย่างรวดเร็ว (เพียงปลายนิ้วคลิก) การวิพากษ์วิจารณ์ด้วยเหตุและผล จะก่อให้เกิดผลดี และรัฐบาลสามารถปรับนโยบายให้เกิดประโยชน์กับประชาชนให้ได้มากที่สุด ดังจะเห็นได้จากการที่รัฐบาลแถลงปรับนโยบายอีกครั้งภายในสองวันว่า ข้าราชการสามารถเลือกรูปแบบของการรับเงินเดือนได้ 

การทำบัญชีการเงินแล เป็นที่พึ่งแห่งตน

สุดท้ายนี้ ไม่ว่าเราจะ(แอบ)ฝากความหวังไว้ที่รัฐบาลมากน้อยแค่ไหน อย่าลืมพุทธสุภาษิตที่สอนนะครับว่า…

อตฺตาหิ อตฺตโน นาโถ – ตนแล เป็นที่พึ่งแห่งตน

การทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายจะทำให้เรารู้จักเส้นทางการเงินได้ดีขึ้น วางแผนการเงินได้ดีขึ้น และอาจเกิดปัญหาน้อยลง ไม่ว่าจะได้รับเงินเดือนในรูปแบบไหนก็ตาม

เพราะในยุคแบบนี้ รู้สิ่งใด ก็ไม่สู้ รู้งบการเงินตัวเอง!

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related