svasdssvasds

เตือน! มิจฉาชีพ โทรปลอมเสียงเป็นคนรู้จัก ทักจำได้ไหม เนียนหลอกโอนเงิน

เตือน! มิจฉาชีพ โทรปลอมเสียงเป็นคนรู้จัก ทักจำได้ไหม เนียนหลอกโอนเงิน

ตำรวจ เตือน! แก๊งคอลเซ็นเตอร์ โทรปลอมเสียงเป็นคนรู้จัก ทักถามจำได้ไหมใคร? ก่อนสวมรอยชวนคุย ตีเนียนหลอกยืมเงิน

20 ต.ค. 2566 พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบ.ตร. ได้มีความห่วงใยพี่น้องประชาชนที่อาจได้รับความเสียหายจากอาชญากรรมรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันมีพี่น้องประชาชนจำนวนมากที่ได้รับความเสียหายจากการหลอกลวงทางโทรศัพท์ หรือที่เรียกว่าแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ซึ่งมีรูปแบบในการหลอกลวงที่หลากหลาย แตกต่างกัน โดยรูปแบบหนึ่งที่พบเห็นได้บ่อยคือการปลอมเสียงเป็นคนรู้จักโทรศัพท์หาผู้เสียหายเพื่อหลอกยืมเงิน 

วิธีของคนร้ายคือจะโทรศัพท์หาเหยื่อแล้วทำทีพูดว่า “จำได้ไหมนี่ใคร” “จำเพื่อนได้รึเปล่า” หรือ “แค่ไม่สบายเสียงเปลี่ยน เปลี่ยนเบอร์โทรนิดหน่อย ก็จำกันไม่ได้แล้วหรือ” แล้วจะพยายามให้เหยื่อพูดชื่อมาก่อน ซึ่งหากเสียงของคนร้ายมีความคล้ายกับเสียงเพื่อนหรือคนรู้จักของเราจริง ๆ แล้วเราพูดชื่อของคนนั้นออกไป คนร้ายก็จะสวมรอยเป็นคนนั้นทันที 

เตือน! มิจฉาชีพ โทรปลอมเสียงเป็นคนรู้จัก ทักจำได้ไหม เนียนหลอกโอนเงิน

จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมผู้เสียหายมักจะเชื่อโดยสนิทใจ ว่าคนที่คุยด้วยคือคนรู้จักจริง ๆ เพราะเป็นคนพูดออกไปเองว่าเสียงของคนร้ายเหมือนเสียงของใคร และทำให้ผู้เสียหายไม่ทันระวัง หลงเชื่อโอนเงินตามที่คนร้ายขอ

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงขอเตือนพี่น้องประชาชนให้ระมัดระวัง อย่าหลงเชื่อบุคคลที่ติดต่อมาทางโทรศัพท์อ้างว่าเป็นเพื่อนหรือคนรู้จัก โดยเฉพาะการติดต่อจากเบอร์โทรศัพท์ที่ไม่รู้จัก เพราะอาจเป็นคนร้ายที่มาแอบอ้างหลอกยืมเงินได้

ขณะที่ ตำรวจไซเบอร์ ได้ออกมาเผยวิธีการหลอกลวงของมิจฉาชีพและแนะวิธีป้องกัน

วิธีการหลอกลวงของมิจฉาชีพ

  1. ตีเนียนเป็นเพื่อนให้เหยื่อเดาว่าเป็นใคร มักถามด้วยคำถาม เช่น จำได้ไหมใครโทรมา? นี่จำเพื่อนไม่ได้หรอ? เพื่อให้เหยื่อคาดเดาจะได้เผลอพูดชื่อเพื่อนออกมา
  2. ถ้าเหยื่อเผลอพูดชื่อเพื่อนไปแล้ว มิจฉาชีพก็จะสวมรอยเป็นคนๆนั้นทันที
  3. มิจฉาชีพ อาจใช้ AI ปลอมเสียง เลียนเสียงให้คล้ายกับคนที่คุณรู้จัก
  4. ชวนเหยื่อคุยจนสนิทใจ มิจฉาชีพจะชวนคุยเรื่องทั่วไปถามสารทุกข์สุขดิบตามประสาเพื่อนเก่า
  5. หลังชวนคุยจนเหยื่อตายใจ ก็จบด้วยการขอยืมเงิน มักจะอ้างว่าตนกำลังมีปัญหาเรื่องเงิน อาจจะเป็นปัญหาขัดสนทางการเงิน หรือเป็นปัญหาเฉพาะหน้าที่ต้องใช้เงินในทันทีทันใดแต่เงินไม่พอ

วิธีป้องกัน

  • ถ้าเป็นเบอร์แปลกให้ เอ๊ะ!! ไว้ก่อน ตั้งสติค่อยๆสอบถามข้อมูลอย่าพึ่งปักใจเชื่อว่าเป็นเพื่อนของเรา
  • ลองตรวจสอบช่องทางการติดต่อเดิมของเพื่อนในช่องทางอื่นๆ
  • ถ้าต้องมีการโอนเงินให้ ให้เช็คว่าบัญชีรับเงินปลายทางนั้นชื่อตรงกับเพื่อนของเราหรือไม่

ไม่เชื่อ ไม่รีบ ไม่โอน 

เตือน! มิจฉาชีพ โทรปลอมเสียงเป็นคนรู้จัก ทักจำได้ไหม เนียนหลอกโอนเงิน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related