svasdssvasds

เงินดิจิทัล 10,000 บาท เปิด 8 ข้อเสนอแนะ ป.ป.ช. ป้องกันทุจริตนโยบายรัฐบาล

เงินดิจิทัล 10,000 บาท เปิด 8 ข้อเสนอแนะ ป.ป.ช. ป้องกันทุจริตนโยบายรัฐบาล

คืบหน้า เงินดิจิทัล 10,000 บาท ป.ป.ช. มีข้อเสนอแนะ คณะรัฐมนตรีเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล กรณีการเติมเงินดิจิทัล 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet

นโยบาย “การเติมเงินดิจิทัล 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet” เป็นหนึ่งในนโยบายที่คณะรัฐมนตรีแถลงต่อรัฐสภา และเป็นประเด็นที่สังคมให้ความสนใจมาโดยตลอด ตั้งแต่ช่วงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566

ล่าสุดสำนักงาน ป.ป.ช. มีข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล กรณี การเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ตามนัยมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561

8 ข้อเสนอแนะ เงินดิจิทัล 10,000 บาท ป.ป.ช. มีดังนี้

1.ในการดำเนินโครงการฯ รัฐบาลต้องศึกษา วิเคราะห์ให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมว่าผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการฯ จะไม่ตกแก่พรรคการเมือง หรือบุคคลรายใดรายหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีศักยภาพมากกว่าผู้ประกอบการรายย่อย และบุคคลที่มิได้เป็นคนจน หรือมิใช่กลุ่มเปราะบางที่แท้จริง พร้อมกับต้องมีขั้นตอน/วิธีการที่เป็นรูปธรรมชัดเจนเพื่อให้โครงการฯ สามารถ กระจายการกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างทั่วถึง

2.ในการหาเสียงของพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 ต่อเมื่อ
พรรคเพื่อไทยได้จัดตั้งรัฐบาล และได้มีการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2566 สำหรับโครงการดังกล่าวมีความแตกต่างกัน ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งควรดำเนินการตรวจสอบว่าขัดรัฐธรรมนูญ และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง 2560 มาประกอบการพิจารณา

มิฉะนั้นจะเป็นบรรทัดฐานสาหรับพรรคการเมืองสามารถหาเสียงไว้อย่างไรก็ได้ เมื่อได้รับเลือกตั้งแล้วไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตาม

เงินดิจิทัล 10,000 บาท เปิด 8 ข้อเสนอแนะ ป.ป.ช. ป้องกันทุจริตนโยบายรัฐบาล

3.จากตัวเลขภาวะเศรษฐกิจของหน่วยงานต่าง ๆ ที่ได้จากการศึกษา และตัวทวีคูณทางการคลัง และตัวบ่งชี้ภาวะวิกฤตของธนาคารโลกและ IMF ปรากฏว่าอัตราความเจริญเติบโตของประเทศ
ไทยยังไม่เข้าข่ายประสบภาวะวิกฤตเศรษฐกิจแต่ประการใด เพียงแต่ชะลอตัวเท่านั้น

ดังนั้นในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน จำเป็นต้องพิจารณาโครงสร้างทางเศรษฐกิจ เช่นการบริโภค ภาคเอกชน อัตราการว่างงาน การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ การเพิ่มทักษะให้แก่แรงงาน เป็นต้น

4. การดำเนินนโยบายของรัฐบาลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ อาทิ โครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet จะต้องคำนึงถึงความคุ้มค่าและความจำเป็นในการกระตุ้นเศรษฐกิจตลอดจนผลกระทบ และภาระทางการเงิน การคลังในอนาคต ภายใต้หลักธรรมาภิบาล 4 ด้าน คือ

  • ความโปร่งใส (Transparency)
  • การถ่วงดุล (Checks and Balances)
  • การรักษาความมั่นคงของระบบการคลัง (Fiscal Integrity)
  • ความคล่องตัว (Flexibility)

ซึ่งโครงการนี้มีผลเสียมากกว่าผลดี กล่าวคือต้องกู้เงิน จำนวน 500,000 ล้านบาท ในขณะที่ตัวทวีคูณทางการคลังมีเพียง 0.4 การกู้เงินเป็นการสร้างภาระหนี้แก่ รัฐบาลและประชาชนในระยะยาว ซึ่งจะต้องตั้งงบประมาณในการชาระหนี้จานวนนี้เป็นระยะเวลา 4-5 ปี กระทบต่อตัวเลขการใช้จ่ายและการลงทุนของภาครัฐ 

5. การดำเนินโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet คณะรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรพิจารณาประเด็นความเสี่ยงด้านกฎหมายอย่างรอบคอบ ประกอบด้วย รัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (มาตรา 172) พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 (มาตรา 53) พระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. 2491 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (มาตรา 4 5 6) ตลอดจนกฎหมาย คาวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ และระเบียบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดาเนินโครงการเกิดประสิทธิภาพสูงสุด และเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย

6. คณะรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรมีการประเมินความเสี่ยงในการดำเนิน
โครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet อย่างรอบด้าน โดยกำหนดแนวทางหรือมาตรการในการบริหารความเสี่ยง และการป้องกันการทุจริต ตลอดจนมีกระบวนการในการตรวจสอบทั้งก่อน ระหว่าง และหลังจากการดำเนินโครงการ ซึ่งอาจพิจารณานาข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เรื่องการบูรณาการป้องกันการทุจริตของโครงการภาครัฐ (โดยการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน)

ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2553 มาประยุกต์ใช้ เพื่อให้โครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านDigital Wallet สามารถดำเนินการได้อย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ และเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน
และประเทศชาติอย่างแท้จริง

7. การดำเนินนโยบายของรัฐบาลที่มีวัตถุประสงค์ในการช่วยเหลือประชาชนภายใต้สถานการณ์เศรษฐกิจที่ไม่เข้าขั้นวิกฤต ควรพิจารณากลุ่มประชาชนเป้าหมายที่เปราะบางที่สุดที่ต้องการความ
ช่วยเหลืออย่างแท้จริง ภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561 อาทิ กลุ่มที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นค วามยากจน

8. ในการนำเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) มาใช้กับโครงการเติมเงิน 10,000 บาท
ผ่าน Digital Wallet คณะรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรพิจารณาถึงความจำเป็นและความเหมาะสมตลอดจนระยะเวลา และงบประมาณที่ต้องใช้ในการพัฒนาระบบ เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และระยะเวลาในการดำเนินโครงการ ซึ่งโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เป็นการแจกเงินเพียงครั้งเดียวโดยให้ใช้จ่ายภายใน 6 เดือน การพิจารณาใช้แอปพลิเคชันเป๋าตัง จะเป็นประโยชน์และเหมาะสมกว่า

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related