svasdssvasds

ทำไม “ปูติน” ถึงชนะการเลือกตั้งทุกครั้ง มีอะไรอยู่เบื้องหลัง?

ทำไม “ปูติน” ถึงชนะการเลือกตั้งทุกครั้ง มีอะไรอยู่เบื้องหลัง?

ทำไมเลือกตั้งรัสเซียกี่ครั้ง "ปูติน" ถึงชนะเหนือคู่แข่งตลอด มีอะไรอยู่เบื้องหลังเลือกตั้งรัสเซีย? และถ้าชนะทุกครั้งจะเลือกตั้งไปทำไม

SHORT CUT

  • ปูตินได้ใช้การปกครองประเทศแบบมีอุบายเพื่อบงการการเลือกตั้งโดยเฉพาะ ทั้งควบคุมสื่อ แต่งตั้งคนของตัวเองไปอยู่ในศาล และคณะกรรมการเลือกตั้ง
  • มีการเลือกตั้งแบบออนไลน์ในหลายพื้นที่ ทำให้ยากต่อการตรวจสอบคะแนนเสียงที่ได้รับมา วิธีดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง
  • สำหรับปูติน จุดประสงค์ของการเลือกตั้งคือการได้รับความชอบธรรมมากขึ้น และทำให้เขาเหมือนได้รับการสนับสนุนจากประชาชนให้ทำสงครามต่อไป 

ทำไมเลือกตั้งรัสเซียกี่ครั้ง "ปูติน" ถึงชนะเหนือคู่แข่งตลอด มีอะไรอยู่เบื้องหลังเลือกตั้งรัสเซีย? และถ้าชนะทุกครั้งจะเลือกตั้งไปทำไม

เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า วลาดิมีร์ ปูติน วัย 71 ปี จะเป็นผู้นำรัสเซียต่อไป จากผลนับคะแนนอย่างเป็นทางการของหน่วยงานเลือกตั้งรัสเซีย ซึ่งเผยว่าตัวเขาได้เสียง ประมาณร้อยละ 87 ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 60 ของพื้นที่ทั้งหมด

ทำให้ปูติน กลายเป็นประธานาธิบดีรัสเซียสมัยที่ 5 และอยู่ในตำแหน่งนานที่สุดในรอบ 200 ปี แซงหน้า ผู้นำเผด็จการสมัยสหภาพโซเวียตอย่าง “โจเซฟ สตาลิน” เป็นที่เรียบร้อย

วลาดิมีร์ ปูติน วัย 71 ปี ชนะการเลือกตั้งรัสเซีย : Photo Reuters

ยิ่งไปกว่านั้น รัสเซียมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในปี 2020 ซึ่งขยายเวลาให้ประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งได้ 6 ปี (จากเดิม 4 ปี) จึงอาจทำให้ปูตินอยู่ในอำนาจถึงปี 2030 และเป็นไปได้ว่ามนสมัยกน้าเขาจะอยู่ยาวไปจนถึงปี 2036 และเป็นผู้นำที่มีอายุ 83 ปีในเวลานั้น

ทั้งนี้นักวิเคราะห์เชื่อว่า มีโอกาสสูงที่ปูตินจะปกครองชาวรัสเซียจำนวน 146 ล้านคน ไปตลอดช่วงชีวิตของเขา

ทำไมปูติน ถึงชนะเลือกตั้งเสมอ :Photo Reuters

ทำไมปูตินถึงชนะเสมอ?

ตลอด 24 ปีที่ปูตินอยู่ในอำนาจ เขาได้ใช้การปกครองประเทศแบบมีอุบายเพื่อบงการการเลือกตั้งโดยเฉพาะ ซึ่งมีตั้งแต่การนำคนมาตะโกนเชียร์เขาในที่สาธารณะ ควบคุมความคิดเห็นของสื่อ แต่งตั้งคนของตัวเองเข้าไปดำรงตำแหน่งในศาล ไปจนถึงสแกนผู้ที่จะมาเป็นคณะกรรมการเลือกตั้ง เพื่อให้ทุกฝ่ายพร้อมดำเนินการไปในทิศทางเดียวกับรัฐบาล

ยิ่งไปกว่านั้น รัฐบาลเครมลินยังควบคุมให้สื่อผลิตโฆษณาชวนเชื่อเพื่อโน้มน้าวชาว รัสเซียว่า ทั้งประเทศมีเพียง “ปูติน” เท่านั้น ที่สามารถรับประกันความมั่นคง และทำให้ชาติชนะสงคราม และกระแสต่อต้านของชาติตะวันตกได้ และการวิพากษ์วิจารณ์สงครามของผู้นำในทางลบใดๆ ก็ตาม ถือเป็นเรื่องผิดกฎหมายทั้งสิ้น

ส่วนการเลือกตั้งรัสเซียในปี 2024 ตลอด 3 วันที่ผ่านมานี้ (15 มี.ค.-มี.ค.17) ทางการรัสเซียได้เปิดให้ใช้ระบบลงคะแนนแบบออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ให้บริการของรัฐ โดยอ้างว่าเพื่อกันการปลอมแปลงกล่องลงคะแนน แต่วิธีดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางว่า เพราะรัสเซียเคยใช้การเลือกตั้งผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ในหลายภูมิภาคมาก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งในการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติติปี 2021 ผู้สมัครที่สนับสนุนเครมลิน 9 คนที่แพ้ในการลงคะแนนแบบกระดาษ สามารถพลิกกลับมาชนะได้เมื่อมีการลงคะแนนแบบออนไลน์ ประชาชนจึงไม่เชื่อมันในการเลือกตั้งแบบนี้เท่าไหร่นัก

และในเวลานี้ “กริกอรี เมลคอนยันต์ส (Gregory Melkonyants) ” ผู้นำ “โกลอส” หน่วยงานเฝ้าระวังการเลือกตั้งอิสระ ที่ได้รับการประกาศให้เป็นตัวแทนต่างประเทศ ก็ถูกทางการรัสเซียควบคุมตัว และกำลังเผชิญการพิจารณาคดีอยู่ ทำให้ภาพรวมของการเลือกตั้งในรัสเซียทั้งหมด จึงเหมือนอยู่ในหมอกควัน เพราะตรวจสอบที่มาของคะแนนไม่ได้

ชาวรัสเซียออกมาต่อต้านปูติน ในช่วงการเลือกตั้งรัสเซีย : Photo Reuters

แต่ถึงแม้การเลือกตั้งจะถูกมองว่าไม่โปร่งใสสักแค่ไหน ก็ไม่ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด เพราะ พนักงานของรัฐและคนงานในรัฐวิสาหกิจหลายคนยังคงเต็มใจ ได้รับผลประโยชน์จากระบบที่ทุจริตนี้

เลือกตั้งทำไม ในเมื่อชนะอยู่แล้ว

สำหรับปูติน จุดประสงค์ของการเลือกตั้งคือการได้รับความชอบธรรมมากขึ้น และทำให้เขาเหมือนได้รับการสนับสนุนอย่างล้นหลามในการทำสงครามกับยูเครน การผนวกแคว้นเคอร์ซอน ซาโปริซเซีย โดเนตสค์ และลูฮันสค์ ที่รัสเซียดำเนินการอย่างผิดกฎหมายมาตลอด

และในการเลือกตั้งครั้งล่าสุด สื่อรัสเซียรายงานว่า ฝ่ายบริหารของประธานาธิบดีมุ่งมั่นที่จะเห็นผู้ออกมาใช้สิทธิ์อย่างน้อย 70 เปอร์เซ็นต์ เพื่อหวังให้ปูตินชนะที่คะแนนเสียงอย่างน้อย 80 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่าสถิติของเขาที่ 76.7 เปอร์เซ็นต์ในปี 2018 เพื่อทำให้เขาดูมีคะแนนนิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ

ใครลงสมัครเลือกตั้งรัสเซีย 2024 บ้าง? : Photo Reuters

ใครลงสมัครเลือกตั้งรัสเซีย 2024 บ้าง?

นอกจากปูติน มีผู้สมัครอีก 3 คน จากพรรคการเมืองที่มีความสัมพันธ์กับเครมลินเท่านั้น และผ่านการสแกนจากทางการรัสเซียมาแล้ว เพื่อป้องกันภัยคุกคามต่อผู้นำ

คนที่ 1. “นิโคไล คาริโตนอฟ (Nikolai Kharitonov)” วัย 75 ปี จากพรรคคอมมิวนิสต์ ได้คะแนนเสียงเป็นอันดับ 2 (4.31 %)

คนที่ 2. “วลาดิสลาฟ ดาวานคอฟ (Vladislav Davankov)” วัย 40 ปี นักการเมืองผู้ไม่ฝักฝ่ายใด แต่สนับสนุนสงคราม จากพรรคประชาชนใหม่ ที่มีข่าวลือว่าเป็นพรรคที่เครมลินปั้นขึ้นมาเพื่อเป็นไม่ประดับการเลือกตั้ง ได้คะแนนเสียงเป็นอันดับ 2 (3.85 %)

คนที่ 3. “เลโอนิด สลุตสกี (Leonid Slutsky)” วัย 56 ปี นักการเมืองชาตินิยม จากพรรคเสรีประชาธิปไตยแห่งรัสเซีย ซึ่งเคยสนับสนุนให้ประหารชีวิตเชลยศึกชาวยูเครน ได้คะแนนเสียงเป็นอันดับ 4 (3.2%)

นอกจากนี้ ยังมีผู้สมัครที่มีจุดยืนต่อต้านสงครามอีก 2 คน ได้แก่ “เยคาเทรินา ดันต์โซวา (Yekaterina Duntsova) ” และ “บอริส นาเดซดิน (Boris Nadezhdin) ” แต่ถูกตัดสิทธิ์ เพราะคณะกรรมการการเลือกตั้งอ้างว่าเสียงของประชาชนที่สนับสนุนทั้งคู่ พิสูจน์ตัวตนไม่ได้ จึงไม่มีสิทธิตามกฎหมาย

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์การเมืองมองว่า แม้ปูตินจะควบคุมแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ แต่การทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ ย่อมทำให้รัฐบาลเครมลินสุ่มเสี่ยงที่จะเผชิญกับการประท้วงครั้งใหญ่ ดั่งที่เกิดขึ้นมาแล้วกับ ประธานาธิบดีอาเลียกซันดร์ ลูกาแชนกา ของเบลารุส ในปี 2020 เมื่อเขาครองอำนาจจากการเลือกตั้งที่ไม่โปร่งใส

แต่ปูตินก็ตัดไฟตั้งแต่ต้นลม ด้วยการปราบปรามผู้เห็นต่าง รวมถึงจับกุมผู้นำฝ่ายค้านและผู้ประท้วงไปแล้วหลายพันคน 

Photo Reuters

ที่มา Reuters

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

related