svasdssvasds

กติกาการเลือกตั้ง 2566 : ใบเหลือง ใบส้ม ใบแดง หากแจกโดย กกต. ต่างกันอย่างไร ?

กติกาการเลือกตั้ง 2566 : ใบเหลือง ใบส้ม ใบแดง  หากแจกโดย กกต. ต่างกันอย่างไร ?

กกต. ได้อธิบาย กติกาการเลือกตั้ง 2566 กรณีการเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม ไว้อย่างชัดเจน โดยจะแยกแบ่งประเภทเป็น 3 กรณี ชัดๆ นั่นคือ ใบเหลือง ใบส้ม ใบแดง ซึ่งทั้ง 3 ใบนั้น มีความแตกต่างกันในรายละเอียดอย่างไรบ้าง เช็กเลย

กติกาการเลือกตั้ง 2566 : ใบเหลือง ใบส้ม ใบแดง ต่างกันอย่างไร ?

ทั้งนี้ กกต.ได้ให้ความหมายว่า กติกาการเลือกตั้ง 2566  กรณีการเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม มีดังนี้ 

ใบเหลือง   (หากผู้สมัครเลือกตั้งได้ใบเหลือง) 

ก่อนประกาศผล
- กกต. พบเหตุต้องสงสัย หรือพบการทุจริตก่อนหรือระหว่างเลือกตั้ง

ผลที่เกิด
- กกต.มีอำนาจสั่งระงับ แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือ ยกเลิกการเลือกตั้ง
- สั่งให้เลือกตั้งใหม่ หรือ นับคะแนนใหม่ในหน่วยเลือกตั้งบางหน่วย หรือทุกหน่วย 

หลังประกาศผล
- กกต. มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าการเลือกตั้งมีการทุจริต
- ไม่ชัดว่าเป็นการกระทำของผุ้ได้รับเลือกตั้งหรือไม่ 

ผลที่เกิด 
- กกต. ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกายื่นคำร้องให้มีการเลือกตั้งใหม่ ในเขตเลือกตั้งนั้น 

กติกาการเลือกตั้ง 2566 : ใบเหลือง ใบส้ม ใบแดง หากแจกโดย กกต. ต่างกันอย่างไร ?

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใบส้ม  (หากผู้สมัครเลือกตั้งได้ใบส้ม)  
ก่อนประกาศผล
- กกต. มีหลักฐานว่าผู้สมัครกระทำการทุจริตเลือกตั้ง
ผลที่เกิด
- กกต. ระงับสิทธิสมัครับเลือกตั้งของผู้สมัครที่ทำผิด ไม่เกิน 1 ปี
- สั่งให้เลือกตั้งใหม่เฉพาะกรณีผู้กระทำผิดชนะเลือกตั้ง

กติกาการเลือกตั้ง 2566 : ใบเหลือง ใบส้ม ใบแดง หากแจกโดย กกต. ต่างกันอย่างไร ?

ใบแดง (หากผู้สมัครเลือกตั้งได้ใบแดง) 

ก่อนประกาศผล
- มีหลักฐานควรเชื่อได้ว่าผู้สมัครมีส่วนร่วมหรือกระทำทุจริตเลือกตั้ง ให้ กกต. ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อพิจารณา

ผลที่เกิด
- เพิกถอนสิทธิสมัครับเลือกตั้งหรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้สมัครที่ทำผิด
- สั่งให้เลือกตั้งใหม่ 

กติกาการเลือกตั้ง 2566 : ใบเหลือง ใบส้ม ใบแดง หากแจกโดย กกต. ต่างกันอย่างไร ?
ผลเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ 400 เขต จากกกต. 

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รายงานผลการเลือกตั้ง 2566 อย่างเป็นทางการ ผ่านระบบ ECT Report จำนวน 400 เขต  จำนวนผู้ออกมาใช้สิทธิ อยู่ที่ 39,514,973 คน คิดเป็น 75.71% ของผู้มีสิทธิลงคะแนนในการเลือกตั้ง 2566 ทั้งหมด 52,195,920 คน

ผลปรากฏว่ามี 18 พรรคการเมืองได้เข้าสภา โดยมีอยู่ 10 พรรคที่มี ส.ส. ทั้ง 2 ระบบ มี 1 พรรคที่มีเฉพาะ ส.ส.แบบแบ่งเขต และมี 4 พรรคที่มีเฉพาะ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ

ตัวเลขจำนวน ส.ส. ที่แต่ละพรรคได้รับ มีดังนี้

.พรรคก้าวไกล (ก.ก.) มี ส.ส.เขต 112 คน ส.ส.บัญชีรายชื่อ 39 คน (จากคะแนนมหาชน 14,438,851 เสียง) ได้ ส.ส. รวม 151 คน
พรรคเพื่อไทย (พท.) มี ส.ส.เขต 112 คน ส.ส.บัญชีรายชื่อ 29 คน (จากคะแนนมหาชน 10,962,522 เสียง) ได้ ส.ส. รวม 141 คน
พรรคภูมิใจไทย (ภท.) มี ส.ส.เขต 68 คน ส.ส.บัญชีรายชื่อ 3 คน (จากคะแนนมหาชน 1,138,202 เสียง) ได้ ส.ส. รวม 71 คน
พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) มี ส.ส.เขต 39 คน ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน (คน (จากคะแนนมหาชน 537,625 เสียง) ได้ ส.ส. รวม 40 คน
พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) มี ส.ส.เขต 23 คน ส.ส.บัญชีรายชื่อ 13 คน (จากคะแนนมหาชน 4,666,408 เสียง) ได้ ส.ส. รวม 36 คน
พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) มี ส.ส.เขต 22 คน ส.ส.บัญชีรายชื่อ 3 คน (จากคะแนนมหาชน 925,349 เสียง) ได้ ส.ส. รวม 24 คน
พรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) มี ส.ส.เขต 9 คน ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน (จากคะแนนมหาชน 192,497 เสียง) รวมมี ส.ส. 10 คน
พรรคประชาชาติ (ปช.) มี ส.ส.เขต 7 คน ส.ส.บัญชีรายชื่อ 2 คน (จากคะแนนมหาชน 602,645 เสียง) รวมมี ส.ส. 9 คน
พรรคไทยสร้างไทย (ทสท.) มี ส.ส.เขต 5 คน ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน (จากคะแนนมหาชน 340,178 เสียง) รวมมี ส.ส. 6 คน
พรรคเพื่อไทรวมพลัง มี ส.ส.เขต 2 คน ไม่มี ส.ส.บัญชีรายชื่อ
พรรคชาติพัฒนากล้า (ชพก.) มี ส.ส.เขต 1 คน ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน (จากคะแนนมหาชน 212,676 เสียง) รวมมี ส.ส. 2 คน
พรรคเสรีรวมไทย (สร.) มี ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน (จากคะแนนมหาชน 351,376 เสียง)
พรรคประชาธิปไตยใหม่ มี ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน (จากคะแนนมหาชน 273,428 เสียง)
พรรคใหม่ มี ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน (จากคะแนนมหาชน 249,731 เสียง)
พรรคท้องที่ไทย มี ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน (จากคะแนนมหาชน 201,411 เสียง)
พรรคเป็นธรรม มี ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน (จากคะแนนมหาชน 184,817 เสียง)
พรรคพลังสังคมใหม่ มี ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน (จากคะแนนมหาชน 177,379 เสียง)
พรรคครูไทยเพื่อประชาชน มี ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน คน (จากคะแนนมหาชน 175,182 เสียง)

สถิติน่าสนใจอื่น ๆ จากการประกาศผลนับคะแนนอย่างเป็นทางการของ กกต. มีดังนี้
การเลือกตั้ง ส.ส. แบ่งแบ่งเขต มีบัตรเสียมากเกือบ 1.5 ล้านใบ และมีบัตรที่ไม่เลือกผู้ใดกว่า 866,000 ใบ
การเลือกตั้ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ มีบัตรเสียกว่า 1.5 ล้านใบ และมีบัตรที่ไม่เลือกผู้ใดราว 480,000 ใบ
 

related