svasdssvasds

เปิด พ.ร.บ สมรสเท่าเทียม 4 ฉบับ แตกต่างกันอย่างไรบ้าง ก่อนเข้าสภา 21 ธ.ค. 66

เปิด พ.ร.บ สมรสเท่าเทียม 4 ฉบับ แตกต่างกันอย่างไรบ้าง ก่อนเข้าสภา 21 ธ.ค. 66

เปรียบเทียบกฎหมายสมรสเท่าเทียมทั้ง 4 ฉบับ ทั้งของพรรคก้าวไกล ประชาชน รัฐบาล และมาดามเดียร์ ก่อนเข้าสภาเพื่อพิจารณาวันที่ 21 ธ.ค. 2566

แม้เทรนของโลกจะมีการยอมรับความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) มากขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี ทว่าในปัจจุบันประเทศไทยก็ยังไม่มีกฎหมายที่ให้การรับรองสิทธิของคู่รักเพศเดียวกัน ทั้งๆ ที่สังคมไทยก็มีคู่รัก LGBTQ+ จำนวนมาก ซึ่งการไม่มีกฎหมายที่รับรองสมรสเท่าเทียม ทำให้เกิดปัญหาหลายอย่าง เช่น สิทธิในการจัดการทรัพย์สินร่วมกัน สิทธิในการรับมรดก หรือสิทธิในการอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน เป็นต้น

แต่หลังจากการผลักดันมาอย่างยาวนาน ในที่สุดข่าวดีของผู้ที่รอร่างกฎหมายดังกล่าวก็ปรากฏ เพราะวันที่ 19 ธ.ค. 2566 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีก็เห็นชอบร่าง พ.ร.บ สมรสเท่าเทียมตามวิปรัฐบาลเสนอ ที่ให้มีการส่งร่างแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) เพื่อรับรองการสมรสเท่าเทียม ซึ่งจะนำเข้าประชุมสภาฯ เพื่อ พิจารณาในวันที่ 21 ธ.ค.2566

โดยสำหรับสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คือแก้ไข เพื่อให้บุคคล 2 คน ไม่ว่าเพศใดสามารถทำการหมั้นและสมรสได้ นอกจากนี้ยังแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติอื่นๆ ซึ่งจะทำให้บุคคลมีสิทธิ หน้าที่ และสถานะทางครอบครัวเท่าเทียมกับคู่สมรสชายหญิง

ทั้งนี้ ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมมีด้วยกันทั้งหมด 4 ฉบับ ได้แก่ฉบับพรรคก้าวไกล ฉบับภาคประชาชนฉบับกระทรวงยุติธรรม และฉบับมาดามเดียร์ (สส.ประชาธิปัตย์) ซึ่งทั้งหมดมีเป้าหมายเดียวกันคือสนับสนุนสมรสเท่าเทียม แต่ก็มีข้อแตกต่างกันเล็กน้อย ดังนี้

เปิดสมรสเท่าเทียม 4 ฉบับ แตกต่างกันอย่างไรบ้าง ก่อนเข้าสภา 21 ธ.ค. 66

ผู้รักษาการตามร่าง พรบ. สมรสเท่าเทียม

ฉบับพรรคก้าวไกล - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

ฉบับภาคประชาชน - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

ฉบับกระทรวงยุติธรรม - เสนอโดย ครม. นายกรัฐมนตรี

ฉบับ มาดามเดียร์ – รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

 

อายุขั้นต่ำในการจดทะเบียน

ตาม ป.พ.พ. กำหนดอายุขั้นต่ำในการจดทะเบียนสมรสของชาย-หญิง ไว้ที่ 17 ปีบริบูรณ์ แต่กรณีมีเหตุอันสมควร (เช่น หญิงตั้งครรภ์ก่อน) ศาลสามารถอนุญาตให้สมรสก่อนอายุ 17 ปีได้ ซึ่งร่างสมรสเท่าเทียมของรัฐบาลและมาดามเดียร์ยังคงอายุไว้ที่ 17 ปีเหมือนเดิม แต่ฉบับก้าวไกลและภาคประชาชน ขยับขึ้นมาให้เป็น 18 ปี

 

ใช้นามสกุลของคู่สมรส

ร่างสมรสเท่าเทียมของก้าวไกล ประชาชน และของมาดามเดียร์ อนุญาตให้ใช้นามสกุลของคู่สมรสได้ แต่ของรัฐบาลไม่ได้ระบุ

 

ระยะเวลาบังคับใช้หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ฉบับพรรคก้าวไกล – 160 วัน

ฉบับภาคประชาชน – 60 วัน

ฉบับกระทรวงยุติธรรม – 120 วัน

ฉบับ มาดามเดียร์ – 60 วัน

 

บทบัญญัติให้หน่วยงานเสนอแก้ไขกฎหมาย อื่นๆ

ฉบับพรรคก้าวไกล – 180 วัน

ฉบับภาคประชาชน – ทันที

ฉบับกระทรวงยุติธรรม – 180 วัน

ฉบับ มาดามเดียร์ – ไม่ระบุ

 

ทั้งนี้ทั้งนั้น ในวันที่ 21 ธ.ค. 2566 มีการพิจารณาแค่ 3 ฉบับ ได้แก่ ฉบับพรรคก้าวไกล ฉบับภาคประชาชน และฉบับกระทรวงยุติธรรม ซึ่งถ้าสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมทุกฉบับและมีมติรับหลักการร่างทุกฉบับพร้อมกัน ก็จะทำให้มีตัวแทนภาคประชาชนเข้าไปทำหน้าที่เป็นกรรมาธิการพิจารณารายละเอียดด้วย

 

อย่างไรก็ตาม ต้องมาตามดูกันต่อไปว่า สส. ในสภาจะเห็นด้วยกับร่างกฎหมายดังกล่าวหรือไม่

-ที่มา ilaw,ภาคีสีรุ้ง,ทำเนียบรัฐบาล 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

 

 

 

related