svasdssvasds

ย้อนประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ความสูญเสีย-ขัดแย้ง ในวงการฟุตบอลอินโดนีเซีย

ย้อนประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ความสูญเสีย-ขัดแย้ง ในวงการฟุตบอลอินโดนีเซีย

วงการฟุตบอล อินโดนีเซีย ถูกบันทึกในหน้าประวัติศาสตร์จากโศกนาฏกรรมสนามฟุตบอล ที่มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก บทเรียนจากในอดีตที่ยังย้อนกลับมาให้ทบทวนซ้ำอีกครั้งเพื่อย้ำเตือนถึงความปลอดภัยและการจัดการเหตุการณ์รุนแรงโดยเจ้าหน้าที่

เมื่อวันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุการณ์สูญเสีย เหยียบกันตาย ที่สนามฟุตบอลอินโดนีเซีย ระหว่างทีม อาเรมา เอฟซี (Arema FC) และ เปอร์เซบายา สุราบายา (Persebaya Surabaya) ที่สนามกีฬาคานจูรูฮัน ในเมืองมาลัง

โดยล่าสุดมีรายงานจำนวนผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 125 ราย (3 ตุลาคม) จนทำให้วงการฟุตบอล นำโดยฟีฟ่าและคนทั่วโลกจับตามอง ร่วมติดตามการจัดการที่จะต้องมีรายงานออกมาหลังจากนี้ เพื่อหาชนวนเหตุที่ทำให้เหตุการณ์นี้กลายเป็นโศกนาฏกรรมร้ายแรงอีกครั้งในหน้าประวัติศาสตร์ที่ต้องจดจำและถอดบทเรียนกันอีกครั้งเพื่อช่วยกันหยุดเหตุการณ์ที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ซึ่งเมื่อต้นปี 2022 ในเดือนมกราคมที่ผ่านมาก็เพิ่งมีข่าวสลดที่เกิดขึ้นในการแข่งขันแอฟริกัน เนชั่นส์ คัพ 2022 ที่ประเทศแคเมอรูน จนทำให้มีผู้เสียชีวิต 6 ราย คาดว่าสาเหตุของเหตุการณ์ชุลมุนมาจากแฟนบอลจำนวนมากที่ต้องการเข้าไปชมในสนามจนทำให้เบียดเสียดและกลายเป็นข่าวเศร้ารับต้นปี

ทั้งนี้เป็นที่น่าสนใจว่าฟีฟ่ามอบสิทธิ์ในปี 2023 ให้ประเทศอินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกรุ่นอายุไม่เกิน 20 ปี จะมีมาตราการการป้องกันอย่างไรต่อไป เพื่อเรียกความเชื่อมั่นให้กับทั้งแฟนบอลอินโดนีเซียและแฟนๆ จากประเทศที่จะร่วมลงแข่งขันทั้งหมด 24 ประเทศ จาก 5 ทวีป ที่ควรเฝ้าระวัง ซึ่งในเบื้องต้น FIFA ได้ตรวจสอบมาตราฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการจัดแข่งขันในวันที่ 20 พฤษภาคม-11 มิถุนายนที่่จะถึง โดยผลประเมินเบื้องต้นสนามจัดแข่งขันอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพึงพอใจ

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในอินโดนีเซียจึงทำให้มีกองเชียร์ แฟนบอลติดตามและให้กำลังใจทีมโปรดกันอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ ซึ่งความคลั่งไคล้ชื่นชอบนี้ส่วนหนึ่งกลายเป็นความรุนแรงนอกสนาม จากรายงานของ Save Our Soccer ที่เป็นหน่วยงานเฝ้าระวังความเคลื่อนไหววงการฟุตบอลอินโดนีเซีย ได้รวบรวมสถิติความรุนแรงในรอบ 28 ปี พบว่ามีรายงานผู้เสียชีวิต 78 รายจากเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเกมฟุตบอล 

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2007 เป็นครั้งสุดท้ายที่อินโดนีเซียจัดการแข่งขันฟุตบอลระดับนานาชาติครั้งใหญ่ ร่วมกับ ไทย มาเลเซีย และเวียดนาม

ส่วนหนึ่งของเหตุการณ์เศร้าและความขัดแย้งในอดีตที่เกิดขึ้นในวงการฟุตบอลอินโดนีเซีย มีดังนี้

ในปี 2015 
ฟีฟ่ามีคำสั่งคว่ำบาตรอินโดนีเซียสืบเนื่องจากการบริหารงานและการคอร์รัปชันในองค์กรของ นูร์ดิน ฮาลิด

ในปี 2016 
การแข่งขันระหว่าง เปอร์ซิบ บันดุง และ เปอร์ซิจา จาการ์ต้า เกิดเหตุแฟนบอลจาการ์ตาเสียชีวิต จนทำให้ กองเชียร์เปอร์ซิบ บันดุงถูกแบน

เกมการแข่งขันระหว่างเปอร์ซิยาและเปอเซลา ลามองกัน แฟนบอลที่ชื่อมูฮัมหมัด ฟาห์เรซา วัย 16 ปี เสียชีวิตโดยตำรวจถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง จึงทำให้เกิดการเดินขบวนเรียกร้องความยุติธรรมและยุติความรุนแรงของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการปฏิบัติงาน

ในปี 2018 
สื่อท้องถิ่นรายงานว่า ในการแข่งขันฟุตบอลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอินโดนีเซีย มีผู้เสียชีวิตเป็นครั้งที่ 7 ในรอบ 6 ปี โดยมีพยานเล่าว่าเห็นเจ้าหน้าที่ทุบตีแฟนบอลด้วยไม้และโล่ ก่อนยิงถังแก๊สน้ำตาเข้าไปในฝูงชนโดยตรง

ในปี 2019
การแข่งขันรอบคัดเลือกสำหรับฟุตบอลโลก FIFA World Cup ระหว่างทีมชาติอินโดนีเซียและชาติมาเลเซีย เกิดการทะเลาะวิวาทระหว่างแฟนบอลของสองทีม โดยแฟนบอลชาวมาเลเซียถูกขู่และขว้างปาด้วยอาวุธในระหว่างการแข่งขันฟุตบอลที่กรุงจาการ์ตา

เดือนมิถุนายนแฟนบอลเปอร์ซิบ บันดุง 2 รายเสียชีวิต เนื่องจากถูกเบียดเสียด เพื่อแย่งกันเข้าชมการแข่งขันชิงถ้วยประธานาธิบดีปี 2022

ซึ่งใกล้เคียงกับเหตุการณ์สลดเหยียบกันตายที่ฟุตบอลอินโดนีเซียครั้งนี้ที่มีปัจจัยน่าสนใจ ประกอบด้วย

  • ในวันแข่งขันมีเพียงแฟนบอลของ ที่เป็นทีมเหย้าเท่านั้นที่อยู่ในสนาม 
  • ความจุของที่นั่งกับยอดตัวเลขผู้เข้าชม ที่มียอดคนดูในสนามมากถึง 4.2 หมื่นคน จากความจุสนาม 3.8 หมื่นที่นั่ง
  • เจ้าหน้าที่ยับยั้งเหตุการจราจลด้วยแก๊สน้ำตาในพื้นที่สนามฟุตบอลที่เป็นสถานที่จำกัด โดยมีการยิงขึ้นไปบนอัฒจันทร์จนทำให้แฟนบอลเกิดการแตกตื่นวิ่งหนี

ทั้งนี้ FIFA ที่เป็นองค์กรกำกับดูแลกีฬาฟุตบอล สั่งห้ามไม่ให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในสนามหรือตำรวจใช้แก๊สน้ำตาเพื่อควบคุมฝูงชน

จากในอดีตที่เคยมีเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างการแข่งขันฟุตบอล สาเหตุเกิดขึ้นนั้นอาจมาจากเบื้องหลังที่เกี่ยวโยงกับประวัติศาสตร์ การเมืองและเขตพื้นที่ซึ่งทีมฟุตบอลที่เป็นไม้เบื่อไม้เมากันมาจนเป็นที่รู้กันดีมีอยู่ด้วยกัน อาทิ

  • บราซิล - อาร์เจนติน่า (ระหว่างประเทศ) 
  • โบคา จูเนียร์ - ริเวอร์เพลท (ภายในในอาร์เจนติน่า)
  • บาร์เซโลน่า - เรอัล มาดริด (ภายในสเปน)
  • แมนยูฯ-ลิเวอร์พูล (ภายในอังกฤษ)

ที่มา

usnews.com

newprocessfromhome.com

related