svasdssvasds

ถอดบทเรียนอดีตโศกนาฏกรรมสนามฟุตบอล : เหตุเหยียบกันตาย แอฟริกัน เนชั่นส์ คัพ

ถอดบทเรียนอดีตโศกนาฏกรรมสนามฟุตบอล : เหตุเหยียบกันตาย แอฟริกัน เนชั่นส์ คัพ

ถอดบทเรียนอดีตโศกนาฏกรรมสนามฟุตบอลในอดีต จากทั้งเหตุการณ์ โศกนาฏกรรมฮิลส์โบโร่ และ โศกนาฏกรรมเฮย์เซล หลังจากเพิ่งเกิดเหตุสลลแฟนบอลแคเมอรูนเหยียบกันตาย แอฟริกัน เนชั่นส์ คัพ ในศึกแอฟริกัน เนชั่นส์ คัพ

อุบัติเหตุและโศกนาฏกรรม เป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น เพราะนั่นหมายถึงการสูญเสีย ที่ไม่อาจประเมินค่าได้ และในการแข่งขันแอฟริกัน เนชั่นส์ คัพ 2022 ที่ประเทศแคเมอรูน ล่าสุดเพิ่งมีความสูญเสียที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น ในเกมที่ สนาม พอล บิญ่า สเตเดียม ซึ่งแคเมอรูน เจ้าภาพ พบกับ  โคโมรอส มีการรายงานจากสำนักข่าวต่างประเทศว่า มีแฟนบอลเหยียบกันตายหน้าสนามถึง 6 คน เหตุเพราะเกมนี้ ผู้คนในแคเมอรูนให้ความสนใจจำนวนมาก แต่ขาดการดูแลความปลอดภัยที่ดี จึงเกิดเหตุสลดนี้ขึ้น
.
ทั้งนี้ ยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัดว่าเพราะเหตุใดจึงเกิดเหตุเหยียบกันตายได้ และมีผู้สูญเสียในครั้งนี้ แต่หลายฝ่ายคาดการณ์กันว่า เกมนี้ แฟนบอล "หมอผี" แคเมอรูน ต้องการแย่งกันเข้าสนาม ซึ่งมีความจุ 60,000 ที่นั่ง แต่ทางการแคเมอรูน จำกัดให้แฟนบอลเข้าสนาม 80% หรือราวๆ 48,000 คน โดยเป็นตามมาตรการป้องกันการระบาดของโควิด-19 ของแคเมอรูน

ถอดบทเรียนอดีตโศกนาฏกรรมสนามฟุตบอล : เหตุเหยียบกันตาย แอฟริกัน เนชั่นส์ คัพ ที่แคเมอรูน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แต่ทว่ากลับมีแฟนบอลแคเมอรูนที่รอหน้าสนามจำนวนมากกว่า 50,000 คน ได้พยายามแหกประตูและวิ่งฝ่าเข้าไปในสนาม ซึ่งทำให้เกิดเหตุการณ์ชุลมุน มีแฟนบอลถูกเบียดล้ม และเรื่องเศร้าคือมีแฟนบอลเสียชีวิตถึง 6 คนนั่นเอง
.
เหตุโศกนาฏกรรมในสนามฟุตบอลแคเมอรูนครั้งนี้่ ไม่ใช่เหตุความสูญเสียครั้งแรกในวงการฟุตบอล เพราะในอดีตที่ผ่านมา เคยเกิดเหตุโศกนาฏกรรมในสนามฟุตบอลมามากมาย และ 2 เหตุการณ์สำคัญของโลก ที่ต้องถูกหยิบยกมาพูดถึงเสมอๆ นั่นก็คือ 1. เหตุการณ์ โศกนาฏกรรมที่เฮย์เซล นัดชิงชนะเลิศยูโรเปี้ยนคัพ ปี 1985 ที่เบลเยียม และ 2. เหตุการณ์ โศกนาฏกรรมที่ฮิลส์โบโร่ ปี 1989 ที่อังกฤษ  ซึ่งทั้ง 2 เหตุการณ์ได้ให้ "บทเรียน" ราคาแพง และนำมาสู่ การปรับปรุงเปลี่ยนแปลง กฏต่างๆ ทั้งในเรื่องความปลอดภัย การควบคุมแฟนบอล และการป้องปรามแฟนบอลอันธพาลต่างๆ 
ถอดบทเรียนอดีตโศกนาฏกรรมสนามฟุตบอล : เหตุเหยียบกันตาย แอฟริกัน เนชั่นส์ คัพ

โศกนาฏกรรมเฮย์เซล 
.
ย้อนเวลากลับไปในปี 1985 ในนัดชิงฯ ยูโรเปี้ยน คัพ ระหว่างยูเวนตุส จากอิตาลี กับ ลิเวอร์พูล จากอังกฤษ เตะกันที่สนาม เฮย์เซล กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยียม โดย ณ วันนั้น ชนวนของการสูญเสียถูกจุดขึ้น โดยประมาณหนึ่งชั่วโมงก่อนเกมเริ่ม แฟนทีมลิเวอร์พูลได้พุ่งเข้าชาร์จแฟนบอลทีมจากอิตาลีผ่านโซนที่แบ่งกองเชียร์ มีการขว้างปาสิ่งของกันเกิดขึ้น แฟนยูเวนตุสต่างวิ่งหนีตายกันอลหม่านไปบริเวณกำแพงคอนกรีตเพื่อปีนหนีซึ่งทนรับแรงไม่ไหว กำแพงเลยถล่มลงมาทับแฟนเหล่านั้น ส่วนใหญ่ไม่เสียชีวิตก็บาดเจ็บหนัก
.
ผลของเหตุการณ์ โศกนาฏกรรมเฮย์เซล  ทำให้ยูฟ่า สั่งแบนทีมจากประเทศอังกฤษไม่ให้เข้าร่วมทุกรายการที่ทางยุโรปจัดแข่งขันจนถึงฤดูกาล 1990 โดยลิเวอร์พูลได้รับบทลงโทษเพิ่มเติมอีก 3 ปี ซึ่งต่อมาลดลงเหลือ 1 ปี และแฟนลิเวอร์พูลอีก 14 คนที่เป็นต้นเหตุถูกตัดสินจำคุก ความเลวร้ายในครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิต 39 ราย และบาดเจ็บอีกนับ 600 คน
.
เวลานั้น แม้เหตุการณ์จะเกิดขึ้นที่เบลเยียม แต่ รัฐบาลอังกฤษในยุคของนาง มาร์กาเร็ต แทตเชอร์ ก็ยังออกกฎหมายปราบปรามฮูลิแกน (แฟนบอลอันธพาล) อย่างรุนแรงและจริงจัง โดยแทตเชอร์ เคยกล่าวถึงฮูลิแกนในเกมที่ เฮย์เซล ว่าคือความอับอายของคนอังกฤษ 
.
แทตเชอร์ ใช้ความเด็ดขาด บังคับให้สโมสร ต้องปรับปรุงคุณภาพของสนาม มีการรักษาความปลอดภัยที่ดีขึ้น ยกระดับคุณภาพเกมฟุตบอล ไม่ให้เป็นพื้นที่ของอันธพาลอีกต่อไป

โศกนาฏกรรมเฮย์เซล ในปี 1985
โศกนาฏกรรมเฮย์เซล ปี 1985
 Credit : Youtube  FIGHTERS 1985

โศกนาฏกรรมฮิลส์โบโร่
.
หลังจากเกิดเหตุการณ์ โศกนาฏกรรมเฮย์เซล ในปี 1985 ที่เบลเยียม หลังจากนั้น 4 ปี อังกฤษก็ต้องมาเจอความความโหดร้ายของประวัติศาสตร์ความเศร้าอีกครั้ง เพราะในวันที่  15 เมษายน 1989 ได้เกิดความสูญเสียครั้งสำคัญในวงการฟุตบอลอีกครั้งหนึ่ง นั่นคือ ได้เกิดเหตุการณ์ โศกนาฏกรรมที่ฮิลส์โบโร่ ในเมืองเชฟฟิลด์ ในเกมระหว่าง  น็อตติ้งแฮม ฟอเรสต์ เจ้าถิ่น กับ ลิเวอร์พูล  
.
เหตุการณ์โดยสรุปคือมีความผิดพลาดในการจัดการแฟนบอลเข้าสนาม ซึ่งปล่อยให้ผู้ชมแห่กันไปแออัดจนแน่นพื้นที่บางโซน ทั้งที่ยังมีบริเวณส่วนอื่นที่ยังพอมีที่ว่างมากกว่า ด้วยเหตุผลต่างๆเหล่านี้ทำให้เกิดเหตุแฟนบอลที่อยู่บริเวณด้านหน้าโดนอัดติดกับรั้วเหล็ก และเสียชีวิตเนื่องจากหายใจไม่ออก ขณะที่การแข่งขันต้องยุติลงหลังจากเริ่มเกมไปได้เพียง 6 นาที

โดยตรงบริเวณแสตนฝั่งลิเวอร์พูล ทีมเยือน ก่อนเกมจะเริ่มเพียงไม่นาน ได้เกิดการยุบตัวและทำให้ผู้คนหนีตายอย่างอลหม่าน จนเกิดความสูญเสียครั้งใหญ่ขึ้น
.
โศกนาฏกรรมฮิลส์โบโร่ มีแฟนบอลลิเวอร์พูลเสียชีวิตถึง 97 คน และหลังจากนั้น สมาคมฟุตบอลอังกฤษก็สั่งให้ทุกสนามในลีกสูงสุดต้องเปลี่ยนอัฒจันทร์จากที่ให้แฟนบอลยืนกันตามใจชอบ เปลี่ยนมาเป็นแบบติดเก้าอี้นั่งทั้งหมด รวมทั้งต้องรื้อรั้วเหล็กออกให้หมดทุกสนามด้วย เพื่อป้องกันการเกิดโศกนาฏกรรมซ้ำรอยขึ้นอีก 
 Credit : Youtube On Demand News
โศกนาฏกรรมฮิลส์โบโร่ ปี 1989

related