svasdssvasds

กฎหมายครอบครองปรปักษ์ คืออะไร? ดราม่ายึดบ้านเกิน 10 ปี ได้กรรมสิทธิ์?

กฎหมายครอบครองปรปักษ์ คืออะไร? ดราม่ายึดบ้านเกิน 10 ปี ได้กรรมสิทธิ์?

รู้จักกับกฎหมายครอบครองที่ดินปรปักษ์ จากดราม่ายึดบ้านครอบครองเกิน 10 ปี เพื่อบ้านอ้างถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่ากฎหมายครอบครองปรปักษ์คืออะไร ?

การที่เราจะไปครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นด้วยความต้องการที่จะเป็นเจ้าของ

  1. ถ้าเป็นอสังริมทรัพย์ เราต้องครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี
  2. แต่ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ เราต้องครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปี

ถ้าเป็นไปตามเงื่อนไขนี้เรามีสิทธิ์ที่จะดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อให้ศาลพิจารณาให้เราครอบครองทรัพย์สินนั้น

จุดประสงค์ของการมีกฎหมายข้อนี้คืออะไร ?

กฎหมายข้อนี้ก็กลายเป็นกฎหมายที่ส่งเสริมให้คนได้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ไม่ปล่อยให้รกร้าง และผู้ที่เข้ามาใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าว ก็มีสิทธิ์ที่จะได้กรรมสิทธิ์ไป

ยกตัวอย่างเช่น พื้นที่ว่างเปล่าแถวต่างจังหวัด บางทีเจ้าของไม่ได้เข้ามาดูแลพื้นที่ปล่อยให้รกร้างแต่ชาวบ้านในพื้นที่มาใช้พื้นที่บริเวณนั้น ทำมาหากิน ทำไร่ทำนา ก็มีโอกาสที่จะดำเนินการเพื่อครอบครองปรปักษ์ได้

อ่าว! แล้วแบบนี้ถ้ามีใครก็ไม่รู้เข้ามาใช้พื้นที่เรา 10 ปี เราก็อาจสูญเสียที่ดินของเราบริเวณนั้นไปใช้ไหม ?

คำตอบคือ ใช่ แต่มันก็ไม่ได้ง่ายขนาดนั้น เพราะมันมีหลักเกณฑ์ อื่นๆด้วย คือ

  1. ต้องเป็นการครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่น โดยมีการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินนั้น
  2. ทรัพย์สินที่จะไปครอบครองต้องมีกรรมสิทธิ์ ถ้าเป็นที่ดินก็ต้องมีโฉนดเท่านั้น
  3. และถ้าหากที่ดินเพิ่งออกโฉนดมา ระยะเวลาที่เราครอบครองก่อนมีโฉนดจะไม่นับรวม
  4. ต้องครอบครองโดยสงบ คือ ระหว่างที่ครอบครองต้องไม่มีปัญหา ไม่ถูกไล่ ไม่มีคดีฟ้องร้องกัน
  5. ต้องครอบครองโดยเปิดเผย ไม่มีการปิดอำพราง
  6. ระยะเวลา ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ต้องครอบครองต่อเนื่องเป็นเวลา 10 ปี และถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ต้องครอบครองต่อเนื่องเป็นเวลา 5 ปี

ส่วนเจ้าของที่ดินเองจะมีวิธีในการดูแลที่ดินของตัวเองอย่างไร เพื่อไม่ให้ถูกผู้อื่นมาครอบครองปรปักษ์ ?

  1. ไปดูแลที่ดินของตัวเองเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  2. ตรวจหลักหมุดให้อยู่ที่เดิม หากหมุดหายให้แจ้งความดำเนินคดี
  3. ควรรังวัดที่ดินอย่างน้อยทุกๆ 5 ปี เพื่อตรวจสอบว่าที่ดินของเราเพิ่มหรือลดลงไหม
  4. ถ้าพบผู้อื่นมาอาศัยในพื้นที่ของตัวเอง ควรมีการสัญญาเช่า หรือขับไล่
  5. ควรติดป้าย ล้อมที่ดิน แสดงให้เห็นชัดเจนว่าพื้นที่ดังกล่าวมีเจ้าของ
  6. เสียภาษีตามกฎหมายกับกรมที่ดิน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related