svasdssvasds

ซินธ์ป๊อป - ซิตี้ป๊อป คืออะไร : แนวเพลงฮิตที่วนลูปจากอดีตกลับมานิยมอีกครั้ง

ซินธ์ป๊อป - ซิตี้ป๊อป คืออะไร : แนวเพลงฮิตที่วนลูปจากอดีตกลับมานิยมอีกครั้ง

ทำความรู้จักที่มาที่ไป แนวเพลง ซินธ์ป๊อป - ซิตี้ป๊อป คืออะไร ? ทำไมแนวเพลงแบบนี้ จึง วนลูป จากอดีต จากยุค 1980s ที่เปรี้ยงปร้าง กลับมาได้รับความนิยม และขยายฐานคนฟังได้กว้างมากขึ้นในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา

ดนตรี ถือเป็นศิลปะอีกหนึ่งแขนงที่มีส่วนช่วยขับเคลื่อนให้โลกได้หมุนไปข้างหน้า เป็นสิ่งที่ล่อเลี้ยงหัวใจผู้คนให้ได้มีความสุนทรีย์ในชีวิต และดนตรีก็แทบจะเหมือนกับ "แฟชั่น" นั่นคือ เป็นวัฏจักรวนลูปไม่รู้จบ...อะไรที่เคยฮิตในอดีต ก็สามารถกลับมาฮิตอีกครั้งในสักวันหนึ่งข้างหน้า เช่นเดียวกับ แนวเพลง ซินธ์ป๊อป - ซิตี้ป๊อป (synthesizer pop และ city pop) ที่มีในไทยมาหลายสิบปีแล้ว แต่ก็ยังคัมแบ็กกลับมาได้รับความนิยมและ ได้รับความสนใจจากกลุ่มคนนักฟังเพลงอยู่เสมอๆ
ซินธ์ป๊อป - ซิตี้ป๊อป คืออะไร ?  ทำไมถึง วนลูป จากอดีต กลับมาได้รับความนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง


ซินธ์ป๊อป คืออะไร ? , ซิตี้ป๊อป คืออะไร ? 

สำหรับคำถามแรกเริ่ม ที่ผู้คนซึ่งอาจจะไม่ได้สนใจวงการดนตรี อาจจะตั้งคำถามว่า ดนตรี ซินธ์ป๊อป คืออะไร ? และ เพลง ซิตี้ป๊อป คืออะไรนั้น ? ...ถ้าหากจะหาคำอธิบายที่เฉพาะเจาะจงคงเป็นเรื่องยากมาก แต่หากจะอธิบายแบบรวบรัด กระชับที่สุด ถึงที่มาที่ไป นั่นก็คือ ซินธ์ป็อป (synthesizer pop) ซึ่งใครหลายคนอาจจะเรียกว่า electropop หรือ technopop  โดยเป็นแนวเพลงที่มีเสียงซาวด์ดนตรีเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งเกิดจากเสียงสังเคราะห์
.
โดยกระแส เพลง ซินธ์ป็อปเกิดขึ้นในอังกฤษช่วงปลายยุค 70 และจากนั้นในช่วงยุค 80 ซินธ์ป็อปได้รับความนิยมอย่างสูง จนกระทั่งขยายวงกว้างขึ้นเริ่มเป็นที่ยอมรับและแพร่หลายไปทั่วโลกจนถึงช่วงเวลา ณ เข็มนาฬิกาเดินอยู่ในปัจจุบัน 
.
ในบางช่วงเวลาอาจจะมีเลือนลางจางหายไปจากกระแสบ้าง แต่สุดท้าย อย่างที่บอกไป ว่า ดนตรีก็เหมือนกับแฟชั่น วนลูป จากอดีต กลับมาได้รับความนิยมเสมอ ... ดังนั้น สามารถ ทำนายอนาคตได้เลยว่า ดนตรีเพลงร็อก เพลงอัลเทอร์เนทีฟร็อก ที่หายไปจากกระแส Mainstream ณ ตอนนี้ (ปี 2022)  ในอนาคตข้างหน้าก็ย่อมกลับมา เปรี้ยงปร้างอีกครั้งแน่นอน
ซินธ์ป๊อป - ซิตี้ป๊อป คืออะไร : แนวเพลงฮิตที่วนลูปจากอดีตกลับมานิยมอีกครั้ง

ส่วน เพลง ซิตี้ป๊อป นั่นมีความคล้ายคลึง และแทบจะแยกไม่ออกจากดนตรีซินธ์ป๊อป เรียกได้ว่าแทบจะเป็น เนื้อมวลรวมเดียวกัน อย่างไรก็ตาม หากจะอธิบายไว้สั้นๆ ดนตรีซิตี้ ป๊อป City Pop มีต้นกำเนิดจากญี่ปุ่น ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือราวๆปี 70-80’s  ช่วงนั้นญี่ปุ่นกำลังฟื้นฟูตัวเองจากการแพ้สงคราม เป็นยุคที่กำลังเปิดรับวัฒนธรรมและเข้าสู่ยุคอนาล็อก ทำให้เกิดการผสมผสานระหว่างดนตรีของตะวันตก เช่น Funk , Disco , Modern Jazz และอีกหลายๆแนวเข้ากับเครื่องสังเคราะห์เสียง ซินธิไซเซอร์(Synthesizer) จนกำเนิดเป็น ซิตี้ ป๊อป ขึ้นมา 
.
อย่างไรก็ตาม จุดเด่นของซิตี้ ป๊อป คือ แนวดนตรีจะให้ความรู้สึกสดใส เนื้อหาด้านบวก ดูหวานและผ่อนคลาย มีกลิ่นอายของชีวิตในเมือง (urban lifestyles)อันแสนวุ่นวาย แล้วก็คลี่คลายปม ดิ่งสู่จุดที่สงบลงในยามค่ำคืน

 เพลง  Plastic Love ใน สไตล์ ซิตีี้ ป๊อป Credit : Warner Music Japan
 

โหยหาอดีตกับดนตรีซินธ์ป๊อป
.
การฟังดนตรี ซินธ์ป๊อป Synth-pop ในช่วงเวลาที่โลกกำลังหมุนไปข้างหน้าด้วยแรงเหวี่ยงมหาศาล จากการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ โลกกำลังเมตาเวิร์สด้วยซ้ำ มันก็เปรียบเสมือนกับการ ทวนเข็มนาฬิกากลับไปในอดีต ไปอยู่ในช่วงเวลา ช่วงวัยแห่งความทรงจำ คล้ายๆเสียงจากเครื่องเล่นเทป ที่รุ่งเรืองในยุค 80s-90s  , ส่วนคนในเจนเนอเรชั่นใหม่ ที่เริ่มฟังซินธ์ป๊อป มันก็กลายเป็น "ความร่วมสมัย" ของคนในยุคนี้ไปแล้ว กับการได้ฟังเสียงสังเคราะห์ของเครื่องดนตรี 
.
ความจริงแล้ว ในแวดวงดนตรีประเทศไทย ,ดนตรีซินธ์ป๊อป Synth-pop กลับมาได้รับความนิยมในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา ซึ่งแน่นอนว่าหากนึกถึง หัวหอกแนวหน้าของวงการดนตรีซินธ์ป๊อป คงหนีไม่พ้นวงดนตรี POLYCAT อย่างไรก็ตาม ที่จริงแล้ว ก็มีศิลปินอื่นๆ วงอื่นๆ ที่ทำดนตรีแนวนี้ขึ้นมา และได้รับความนิยมมากขึ้นๆเรื่อยๆ อาทิ วง telex telexs (เทเหล็ก-เทเหล็กซ์) , อิ๊ง วรันธร , Mirrr , Anatomy Rabbit เป็นต้น ซึ่งเพลงเหล่านี้ ที่วงดนตรีซินธ์ป๊อป Synth-popทำ มันทำให้ ตลาดของดนตรีที่เคยเป็นของคนเฉพาะกลุ่ม ได้ขยายออกไปในมุมที่กว้างขึ้นด้วย 
.
อย่างไรก็ตาม ในความจริงแล้ว เพลงไทยในอดีตก็มี กลิ่นอายของ ดนตรีซินธ์ป๊อป Synth-pop ก็มี อาทิ "หมอกและควัน" ที่อยู่ในอัลบั้ม บูมเมอแรง (ปี 1990) ที่ดังสุดทางฝันมาจนถึงทุกวันนี้ก็ยังมี วงดนตรีเอามาเล่นกันอยู่ ตามร้านอาหาร ผับ บาร์ แม้จะผ่านมานานถึง 30 กว่าปีแล้วก็ตาม , หรือจะเป็นวง Kidnappers ในช่วงยุค 90s ที่มีเพลงฝากไว้สำหรับวงการเพลงไทย และถือเป็นวงแรกๆ ที่เอาซาวน์ ซินธิไซเซอร์(Synthesizer)  มาผสมกับเครื่องดนตรีอื่นๆ  หรือเพลง เจ้าหญิงคนต่อไป ของ Blissonic ที่ออกมาในช่วงยุค 2000s เป็นต้น 

 credit : Youtube : BOXX MUSIC
 เพลง 16090 เพลงแนวซินธ์ป๊อป ที่ชัดเจนในตัวเอง Youtube : Wayfer Records  

ในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา  กระแสเพลงซินธ์ป๊อป - ซิตี้ป๊อปที่กลับมา "เกิด" ได้ก็เพราะมีกลุ่มคนที่ชื่นชอบสไตล์เพลงนี้อยู่แล้ว กับกระแสในโลกออนไลน์ที่รวมใจกันพาทุกคนกลับอดีตสู่ยุค 80’s ที่เป็นยุคเฟื่องฟูของดนตรีแนวนี้  รวมถึงศิลปินในปัจจุบัน ก็นำแนวเพลงนี้กลับมา เพราะแบบนี้เองจึงทำให้โลกของดนตรีต่างพากันส่งเสียงซินธิไซเซอร์ให้โลกได้ยินอีกครั้ง
.
บทพิสูจน์ได้ว่าซินธ์ป๊อป- ซิตี้ป๊อป ยังเป็นแนวเพลงที่มีแนวโน้มเติบโตขึ้นในไทยอีก และสร้างเพลงฮิตติดหูได้ไม่ยาก ในอนาคตเราอาจจะเห็นศิลปินใหม่ๆหันมาทำเพลงแนวนี้กันมากขึ้น และการกลับมาของซินธ์ป๊อปก็ทำให้ สังคมได้ประโยชน์ เพราะมันทำให้ ผู้คนเปิดกว้างในการเสพดนตรีมากขึ้นนั่นเอง และมี "ทางเลือก" มากขึ้นนั่นเอง
 Credit Youtube : GMM GRAMMY OFFICIAL
 Credit Youtube : GMM GRAMMY OFFICIAL

related