svasdssvasds

จิตแพทย์ แนะวิธีลดการปะทะในครอบครัว ประเด็นความเห็นต่างทาง การเมือง

ผู้เชี่ยวชาญจิตเวชศาสตร์ ศิริราชพยาบาล แนะวิธีลดการปะทะในครอบครัว จากประเด็นความเห็นต่างทาง การเมือง ให้เกียรติกันและกัน และพยายามใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์

ความเห็นต่างทาง การเมือง ในครอบครัว นับเป็นปัญหาใหญ่ที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมไทยในเวลานี้ บางรายขัดแย้งกันถึงขั้นตัดขาดกันไปเลยก็มี ฉะนั้น จะทำอย่างไรถึงจะอยู่ร่วมกันได้ภายใต้ความต่างทางความคิดนั้น จิตแพทย์มีคำแนะนำเพื่อลดการปะทะให้สำหรับทุกครอบครัว

อาจารย์นายแพทย์ สมบูรณ์ หทัยอยู่สุข ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  กล่าวชื่นชมที่เห็นนักเรียนนักศึกษาให้ความสนใจการเมือง เพราะการเมืองเป็นพื้นฐานของหลายด้านใยการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน แต่ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้ จริงๆ แล้ว เป็นการปะทะกันของชุดความคิดของคน ในความแตกต่างที่เห็นชัดๆ คือ ฝั่งผู้ใหญ่ก็จะเป็นแนวอนุรักษ์ มองว่าของเดิมดีอยู่แล้ว สิ่งต่างๆ คือ สิ่งที่โอเคและไม่ควรจะมีการเปลี่ยนแปลง แต่ในขณะเดียวกัน ในมุมมองของเด็กและวัยรุ่นส่วนใหญ่ที่ออกมาเคลื่อนไหว มักจะเป็นในแง่ว่า เขาต้องการอะไรที่ดีขึ้น

 

"ถ้าเรามองให้ลึกไป เราจะเห็นความแตกต่างของความคิด 2 ชุด ปะทะกันหรือมาแลกเปลี่ยนกัน ตามหลักทางจิตวิทยา เวลาคนเรามีพฤติกรรมอะไรบางอย่าง จะเกิดชุดความคิด ความเชื่อ ประสบการณ์เดิมที่ นำพามาซึ่งพฤติกรรมนั้นๆ จริงๆ แล้วเวลาที่คนต่างช่วงวัย มีความเชื่อที่ไม่เหมือนกัน พื้นฐานบุคลิกภาพเดิมของเขา หรือประสบการณ์ที่ได้รับในช่วงวัยที่สั่งสมมา และแตกต่างกัน รุ่นคุณพ่อคุณแม่ ถ้ามีลูกวัยรุ่น ยุคสมัยท่านเหล่านั้นเป็นเด็ก ไม่มีรถไฟฟ้า ไม่มีโซเชียลมีเดีย ในขณะที่เด็กยุคปัจจุบัน เติบโตมาที่ทุกอย่างรวดเร็ว มีรถไฟฟ้า มีโซเชียลมีเดียที่พิมพ์ถามตอบกันได้ทันที แน่นอนว่าประสบการณ์ที่แตกต่าง ชุดความเชื่อที่แตกต่าง จะนำมาซึ่งการแสดงออกที่แตกต่างเช่นกัน" อาจารย์นายแพทย์ สมบูรณ์ กล่าว

 

การเมือง

ความต่างทางความคิดของคนแต่ละรุ่น มีผลอย่างยิ่งในยุคสมัยรุ่นพ่อรุ่นแม่ ต้องนับถือเพราะคนที่เป็นผู้ที่อาวุโสกว่า เช่น ครูเป็นเหมือนพ่อแม่คนที่สอง เป็นต้น

เด็กในยุคปัจจุบัน Gen Y ,Gen Z และ Gen Alpha มีความเชื่อในเรื่องของการเป็นปัจเจก จะนับถือในคุณค่าในคนคนนั้น เช่น ถ้าผู้ใหญ่คนนั้นทำตัวไม่ดี ไม่น่านับถือ ไม่น่าเอาเป็นแบบอย่าง เขาก็จะไม่นับถือ ไม่แสดงท่าทีที่ต้องอ่อนน้อม

ความต่างของเจเนอเรชัน ต่างทั้งรูปแบบความคิด รูปแบบความเชื่อ รูปแบบการใช้ชีวิตที่แตกต่างกันมา หรือประสบการณ์ที่เขาอาจจะไม่เคยเจอ

การถกเถียงหรือการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างทาง การเมือง ในโซเชียลมีเดีย มีอยู่ 2 ประเด็น คือ

 

 

 

 

 

 

 

ช่องทางที่ใช้โซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์ไหนก็ตาม ไลน์ เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ มีจุดประสงค์การใช้ที่แตกต่างกัน การสื่อสารทางโซเชียลมีเดีย เป็นการสื่อสารผ่านตัวอักษรอย่างเดียว ไม่เหมือนการพูดคุยเห็นหน้ากัน ทุกอย่างถูกตัดไปหมด ทั้งน้ำเสียง ท่าทาง อากัปกิริยา จะเหลือแต่ตัวอักษร ซึ่งเสี่ยงที่จะตีความผิด

ข้อมูลที่แตกต่างกัน ถ้าไปเจอความเห็นที่แตกต่าง อย่างแรก ให้ตั้งสติตัวเองก่อน โดยเฉพาะเวลาที่ไปเจอเรื่องที่ไม่เห็นด้วย ยิ่งตอนนี้ถ้าโยงประเด็นการเมือง เป็นเรื่องร้อนแรง แบ่งขั้วแทบจะชัดเจน ซ้ายขวา ขาวดำ พอตั้งแง่ว่า พ่อ แม่ ปู่ย่า คอมเมนท์มาต้องตรงข้ามแน่นอน เตรียมที่จะซัดกลับ เตรียมมีประโยคเด็ดกลับไป ก็ต้องมองก่อนว่าตอนนั้นที่เราเผชิญกับความเห็นที่แตกต่าง เรากำลังจะสื่อสารกลับไปด้วยอารมณ์หรือเหตุผล

 

สมองคนมี 2 ส่วนหลักๆ คือ ส่วนของอารมณ์ กับ ส่วนของเหตุผล เมื่อไหร่ที่สื่อสารด้วยสมองส่วนของอารมณ์ ผลที่ได้มีแนวโน้มที่จะรุนแรง ทำให้เกิดความขัดแย้งได้มากขึ้น เช่น เวลาเราสวนกลับทันทีเราใช้อารมณ์ตอบสนอง แต่หลายครั้งเมื่ออารมณ์สงบ สมองส่วนเหตุผลถึงจะทำงาน เมื่อสมองส่วนเหตุผลทำงาน เราจะคิดว่า ไม่น่าตอบแรงขนาดนั้น จริงๆ เราอยากจะบอกแค่บางประโยคกลับไป แต่ว่ามันไม่ทันแล้ว หรืออย่างผู้ปกครองถึงขั้นตัดแม่ตัดลูก ไม่ยกมรดกให้ โกรธกันทั้งคู่ทั้งทางฝั่งผู้ใหญ่และฝั่งเด็ก

 

"เมื่อความขัดแย้งเกิดขึ้นในการส่งข้อมูลทางโซเชียลมีเดีย อย่างแรกตั้งสติก่อน จริงๆ แล้วอีกฝ่ายหนึ่งต้องการสื่อสารอะไร ถ้าลูกหลานสัมผัสได้ถึงความเป็นห่วง และเราก็รู้อยู่แล้วว่าพ่อแม่เป็นห่วงเรา แต่ ณ ตอนนั้น วัยรุ่นอาจจะรู้สึกว่า ยังไงฉันก็ไม่เชื่อ ยังไงฉันก็จะไปชุมนุม ฉันก็จะทวีตข้อความแบบนี้ เด็กอาจจะสื่อสารสั้นๆ ก็ได้ว่า ขอบคุณที่คุณพ่อเป็นห่วง บางทีมันอาจทำให้จบเร็วกว่า ลูกรับรู้ได้ว่า พ่อแม่เป็นห่วง แต่ถ้าอยากจะอธิบายเพิ่มเติมก็ได้ เพียงแต่ว่าเวลาสื่อกลับไป ฝั่งผู้ใหญ่เองก็ต้องรับรู้ในเช่นเดียวกัน พ่อแม่ก็ควรที่จะสอนไม่ยาวเกินไป สมองของวัยรุ่นหรือสมองของเด็ก ไม่ต้องการอะไรที่มันอนาคตมาก สำหรับวัยรุ่นแล้วสมองส่วนคิดส่วนเหตุผลยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ เขาต้องการตอนนี้ ปัจจุบันนี้

 

"พ่อแม่บอกมาเลยว่าต้องการอะไร ชัดๆ สั้นแต่ตรงประเด็น ดังนั้นการสอนที่ยาวเกินไป แทบจะไม่เกิดประโยชน์"

 

 

มีแต่จะทำให้สัมพันธภาพระหว่างผู้ใหญ่กับเด็กมันเสียไป เมื่อไหร่ที่เจอข้อความที่เป็นตรงข้ามกับชุดความคิด พยายามมองให้ลึกว่าอีกฝ่ายต้องการอะไร บอกความรู้สึกของเรา เช่น ขอบคุณที่เป็นห่วง แต่ผมกำลังรู้สึกว่า ผมไม่ชอบวิธีการ อะไรก็ว่ากันไป แต่เมื่อไหร่ที่เริ่มรู้สึกว่ายิ่งสื่อสารแล้วยิ่งหงุดหงิด ภาษาวัยรุ่นเรียกหัวร้อน ให้แยกตนเองออกไปก่อน ทั้งฝ่ายผู้ใหญ่และฝ่ายเด็ก เมื่อไหร่เริ่มรับรู้ว่ายิ่งคุยยิ่งโกรธ สื่อสารบอกอีกฝ่ายว่า ตอนนี้แม่ไม่โอเคแล้ว หรือฝ่ายลูกก็เช่นกัน พ่อผมไม่ไหว ผมไม่โอเค เดี๋ยวค่อยคุยกันนะ สื่อสารกันก่อนที่ปรอทจะแตก แล้วก็แยกกันออกไป แยกกันไปเพื่อให้สมองส่วนอารมณ์มันสงบ เพื่อให้สมองส่วนเหตุผลได้ทำงาน" อาจารย์นายแพทย์ สมบูรณ์ กล่าว

ผู้ใหญ่บางคนที่ต้องการสื่อสาร ก็สื่อสารแบบสั้น ตรงประเด็นด้วยประโยคคำสั่งกับลูก ซึ่งอาจจะเป็นคำสั่งที่ไม่ถูกใจวัยรุ่น เพราะเขารู้สึกว่าถูกควบคุม วัยรุ่นเป็นวัยที่ต้องการเป็นตัวของตัวเอง กำลังจะก้าวผ่านวัยเด็กไปสู่วัยผู้ใหญ่ เป็นช่วงตรงกลาง อยากแสดงออก อยากเป็นตัวของตัวเอง เวลาที่ฟังพ่อแม่หรือถูกสั่ง เขาไม่เป็นตัวของตัวเอง จะรู้สึกว่าอำนาจไม่ใช่ของเขา แต่อย่าลืมว่า น้องๆ นักเรียน นักศึกษา ยังอยู่ภายใต้ การปกครองของผู้ปกครอง ดังนั้น เวลาที่เกิดเหตุการณ์ในเชิงลบ หรือเหตุการณ์ในแง่มุมของกฎหมายที่ผิด ถ้าน้องๆ ยังไม่บรรลุนิติภาวะ อย่างไรก็ตามคนที่ต้องร่วมรับผิดก็คือ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ที่อาจจะให้การดูแลได้ไม่เหมาะสมหรือไม่ทั่วถึง ก็ต้องยอมรับก่อนว่า พ่อแม่ยังคงเป็นผู้ปกครองอยู่ แต่เวลาที่สื่อสารแล้วขัดแย้ง รู้สึกว่าถูกสั่ง อยากให้พ่อแม่เข้าใจเหมือนกันว่าวัยรุ่นเป็นวัยที่ไม่ชอบถูกสั่ง เราต้องเข้าใจลูกเราก่อนว่าสั่งไม่ค่อยได้

อาจารย์นายแพทย์ สมบูรณ์ กล่าวว่า ผู้ปกครองควรใช้วิธีชวนคุย ชวนคิด ยกตัวอย่างเช่น วันอาทิตย์นี้จะมีชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ลูกมองเรื่องนี้อย่างไร สนทนาปลายเปิดก่อน หยั่งเชิง อาจจะทำให้ลูกรับรู้ได้ด้วยว่าพ่อแม่ที่เข้ามามีจุดประสงค์ที่ไม่ถึงกับเป็นศัตรู ถ้าเข้าไปแบบสั่ง แน่นอนกลายเป็นว่า ปะทะกัน ยืนคนละข้าง ลูกอยู่ฝั่งนี้พ่อแม่อยู่ฝั่งนี้ แล้วก็ชนกัน ดังนั้น ไม่มีทางที่สื่อสารออกมาแล้วตอนจบ Happy Ending หรือสวยงามแบบที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องการ แข่งกัน ใครจะชนะ สุดท้ายจบด้วยน้ำตา หรืออาจจะเป็นความรุนแรงที่เราไม่ต้องการให้เกิด ฉะนั้น สื่อสารบนความเป็นห่วงได้ไหม หรือภายใต้คำสั่งมันเป็นการร้องขอ พอจะเป็นไปได้ไหม เช่น บางบ้านพ่อแม่สั่งว่าไม่ให้ไป ด้วยการร้องขอว่าเป็นห่วง ลูกรับรู้ได้ก็อาจจะบอกว่า เดี๋ยวยอมดูถ่ายทอดสดอยู่ที่บ้านก็ได้ หรืออาจจะเป็นขอแสดงสัญลักษณ์ ออกไปยืนชูสามนิ้วหน้าบ้าน ตอนเวลาเท่านี้ถึงเท่านี้ นัดรวมตัวกัน อาจจะมีวิธีการสร้างสรรค์ที่วัยรุ่นเขาคิดออกมาเองแล้วมันน่าสนใจก็ได้ เพียงแต่ว่าผู้ใหญ่อาจจะต้องยอมให้เกิดพื้นที่ที่วัยรุ่นเขาได้แสดงความเป็นตัวตนเหมือนกัน ถ้ายังยืนยันว่าจะคนละข้างแบบนี้ ชนกันตาย ไม่มีทางที่มันต่อรองกันได้

อาจารย์นายแพทย์ สมบูรณ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า ทุกคนต้องให้เกียรติและนับถือคุณค่าในแต่ละคน เด็กก็เป็นเด็ก วัยรุ่นก็เป็นวัยรุ่น แน่นอนว่าเขาอยู่ภายใต้ความปกครองของผู้ปกครอง แต่อย่าลืมว่า เขาก็มีสิทธิ มีหน้าที่ในตัวตนของเขา ในร่างกายของเขา ผู้ใหญ่เองก็คงต้องให้เกียรติและคงต้องนับถือในตัวตนของเขา อะไรที่เขาพอทำได้ยืดหยุ่นบ้างในบางเรื่อง จะทำให้เด็กไม่รู้สึกว่าถูกกดขี่เยอะเกินไป ไม่รู้สึกว่าถูกใช้อำนาจบังคับเขามากเกินไป ในทางกลับกัน วัยรุ่นเองในวิธีการแสดงออกหลายๆ อย่าง ก็ทำให้ผู้ใหญ่ไม่สบายใจ ถ้าสื่อสารกันด้วยวาจาตรงไปตรงมา บางอย่างมันก็รู้สึกว่า ประโยคแบบนี้มันไม่ได้ผิด แต่มันอาจเป็นการทำร้ายจิตใจของผู้ใหญ่ที่ฟังอยู่ วัยรุ่นเอง ตัวเด็กเองก็ต้องยอมรับ นับถือ และให้เกียรติผู้ใหญ่หรือคนตรงหน้าเหมือนกัน จริงๆ แล้วไม่มีใครต่อใคร ที่จะควรจะได้รับวาจาที่ทำร้ายจิตใจไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ดังนั้น ก่อนจะพูดก่อนจะแสดงออกอะไร ลองคิดทบทวน ไตร่ตรอง ใคร่ครวญให้สมองส่วนเหตุผลได้ ทำงานเยอะหน่อย ว่าสิ่งที่เรากำลังจะทำ กำลังจะทำให้เกิดอะไรตามมา ทั้งในแง่มุมด้านบวกและ แง่มุมด้านลบ และสิ่งที่ตามมาที่จะเกิดขึ้น เราสามารถรับผิดชอบมันได้ไหม ในบริบทของเราใน ความเป็นผู้ใหญ่ ในความเป็นวัยรุ่นของเราทั้งสองฝ่าย คำพูดบางอย่าง เช่น ไปเรียนหนังสือให้ดีก่อนเถอะแล้วค่อยออกมาแสดงพลัง มันก็กระตุ้นให้เกิดความรู้สึกของความท้าทาย คำพูดแบบนี้หมอคิดว่าไม่ค่อยสร้างสรรค์ ไม่ค่อยทำให้เกิดการสื่อสารเชิงบวก มันไม่ทำให้เขารู้สึกว่าเขามีพื้นที่ในการแสดงออกของเขาเหมือนกัน ดังนั้น การแสดงออกเชิงสร้างสรรค์และไม่ไปรุกล้ำสิทธิและหน้าที่ของคนอื่น แบบนั้นน่าจะดีที่สุด

 

 

 

 

 

การฆ่าตัวตาย ปัญหาในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญ