เทศกาลดนตรีพื้นเมือง ชาร์ค ทาโรนาลารี นับเป็นเวทีระดับโลกที่เปิดโอกาสให้ศิลปินพื้นบ้านจากนานาประเทศมาแสดงดนตรีพื้นเมือง ท่ามกลางฉากหลังที่มีความเข้มข้นทางวัฒนธรรมและขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลกอย่างจตุรัสเรกิสถานในเมืองซามาร์คานด์
อุซเบกิสถานเป็นจุดเชื่อมต่อทางอารยธรรมบนเส้นทางสายไหมในอดีต เส้นทางการค้าที่เชื่อมระหว่างทวีปยุโรปและทวีปเอเชีย อุซเบกิสถานผ่านการยึดครองโดยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช จักรวรรดิเปอร์เซีย และจักรวรริมองโกล และยังเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต ทำให้มีการผสมผสานอารยธรรมต่างๆจนเกิดเป็นเอกลักษณ์แบบอุซเบกิสถานที่ไม่เหมือนใคร
ชาร์ค ทาโรนาลารี จัดขึ้นทุกๆ 2 ปี ปีนี้เป็นครั้งที่ 12 แล้ว และยังคงเป็นเวทีที่ทำให้คนที่มาร่วมงานได้เรียนรู้ศิลปะวัฒนธรรมของแต่ละชาติผ่านดนตรี ซึ่งปีนี้จัดขึ้นเมื่อช่วงปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดยมีศิลปินหลายร้อยชีวิตจากหลายสิบประเทศเข้าร่วมการแข่งขัน แต่ละคนแต่ละชาติผลัดกันแต่งชุดประจำชาติ ประจำชนเผ่า ขึ้นเวทีขับร้องและบรรเลงศิลปะที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น
ปีนี้มีศิลปินจากประเทศสมาชิกอาเซียนไปขึ้นเวทีด้วยคือ สิงคโปร์และเมียนมาร์
ซามาร์คานนด์อยู่ห่างจากกรุงทาชเคนต์ไปราว 260 กิโลเมตร ทางรัฐบาลได้จัดให้ผู้เข้าร่วมงานทั้งหมดเดินทางไปซามาร์คานทางรถไฟ เมื่อถึงสถานีปลายทางก็มีการต้อนรับอย่างสนุกสนาน ไม่ว่าจะเป็นวงดนตรีพื้นเมืองของอุซเบกที่มาบรรเลงต้อนรับ และคนท้องถิ่นรอต้อนรับด้วยอาหารประจำชาติอย่างขนมปัง ถั่ว และผลไม้แห้ง คืนแรกก็มีงานเลี้ยงต้อนรับเสมือนเป็นคอร์สเรียนรู้วัฒนธรรมอุซเบกอย่างเข้มข้น เพราะเต็มไปด้วยการแสดงการละเล่นต่างๆ งานหัตถกรรมและสินค้าพื้นบ้าน รวมถึงอาหารประจำชาติด้วย
[caption id="attachment_542216" align="alignnone" width="840"]
พิธีเปิดเทศกาลดนตรีนั้นเป็นไปอย่างยิ่งใหญ่ โดยมีประธานาธิบดี ชัฟคัต มีร์ซีโยเยฟ ของอุซเบกิสถานมาร่วมงาน และผู้อำนวยการใหญ่ของยูเนสโก ออดรีย์ อาซูเลย์ มาร่วมกล่าวเปิดงานด้วย นอกจากนี้ยังมีการแสดงจากทั้งศิลปินอุซเบกิสถานเอง และศิลปินจากประเทศต่างๆที่เคยได้รับรางวัลจากงานเทศกาลชาร์ค ทาโรนาลารี และจบค่ำคืนด้วยดอกไม้ไฟ เรียกว่าตื่นตาตื่นใจกับประสบการณ์ที่ต้องใช้ทุกประสาทสัมผัสเลยทีเดียว
[caption id="attachment_542219" align="alignnone" width="840"]
น่าเสียดายที่ปีนี้ไม่มีศิลปินจากไทยไปร่วมงาน เพราะเป็นโอกาสที่จะได้แสดงให้นานาชาติได้เห็นศิลปวัฒนธรรมไทยแท้ๆอย่างใกล้ชิด แต่ท่านกงสุลใหญ่อุซเบกิสถานประจำประเทศไทยก็หวังว่าจะได้มีตัวแทนจากประเทศไปเข้าร่วมการประกวดครั้งต่อไปในอีก 2 ปีข้างหน้า
สุดท้ายแล้ว รางวัลจริงๆคงไม่ใช่การที่ศิลปินจากประเทศไหนชนะการแข่งขัน แต่เป็นโอกาสที่ประเทศต่างๆจะได้แสดงศิลปะวัฒนธรรมจากบ้านตนเองให้โลกได้ประจักษ์
[caption id="attachment_542233" align="alignnone" width="840"]
เทศกาลครั้งนี้เป็นเครื่องยืนยันอย่างดีว่า ดนตรีเป็นสื่อภาษาสากลจริงๆ แม้จะเป็นดนตรีพื้นบ้าน เป็นเนื้อร้องที่คุณอาจไม่เข้าใจ แต่คนดูก็ยังรับรู้ถึงอารมณ์ความรู้สึกของเพลงได้อย่างดี เพราะดนตรีเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือชั้นเยี่ยมในการสื่อสารทางวัฒนธรรม
[caption id="attachment_542218" align="alignnone" width="840"]
[caption id="attachment_542220" align="alignnone" width="840"]
[caption id="attachment_542246" align="alignnone" width="840"]
[caption id="attachment_542249" align="alignnone" width="840"]
[caption id="attachment_542248" align="alignnone" width="840"]
[caption id="attachment_542221" align="alignnone" width="840"]
[caption id="attachment_542222" align="alignnone" width="840"]
[caption id="attachment_542223" align="alignnone" width="840"]
[caption id="attachment_542224" align="alignnone" width="840"]
[caption id="attachment_542225" align="alignnone" width="840"]
[caption id="attachment_542226" align="alignnone" width="840"]