svasdssvasds

สื่อนอกระบุ WHO เลื่อนรับรอง วัคซีนซิโนแวค ขอข้อมูลเพิ่มเติมด้านการผลิต

สื่อนอกระบุ WHO เลื่อนรับรอง วัคซีนซิโนแวค ขอข้อมูลเพิ่มเติมด้านการผลิต

สื่อต่างประเทศเผย องค์การอนามัยโลก ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัคซีนซิโนแวค แม้จะอยู่ในขั้นตอนสุดท้าย Final Review แล้ว แต่การจะอนุมัติให้การรับรองนั้น คงต้องรอไปจนถึง มินายน เป็นอย่างเร็วที่สุด

สำนักข่าวต่างประเทศระบุว่า องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้ร้องขอ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายละเอียดของวัคซีนซิโนแวค เพิ่มเติม  เพื่อเป็นการประกอบการพิจารณาว่าจะรับรอง วัคซีนซิโนแวค เป็นวัคซีนที่มีความปลอดภัยหรือไม่  หลังจากที่ก่อนหน้านี้ มีกระแส WHO อาจจะรับรองวัคซีนซิโนแวคภายในสัปดาห์นี้

ทั้งนี้ ตามรายงานระบุว่า WHO ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม และยังขอข้อมูลด้านการกระบวนการผลิตของวัคซีนซิโนแวค เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลกนั่นเอง จึงทำให้ยังไม่มีการฟันธง แต่ตอนนี้ ยังถือว่าอยู่ในขั้นตอน Final Review และกว่าจะผ่านการรับรอง คงต้องรอไปจนถึงเดือนมิถุนายนเป็นอย่างน้อย

ปัจจุบัน วัคซีนจากประเทศจีน มีเพียง วัคซีนซิโนฟาร์มเพียงตัวเดียวที่ องค์การอนามัยโลก (WHO) รับรอง ส่วนตัวอื่นๆที่รับรองแล้ว ก็มีอาทิ วัคซีนไฟเซอร์, วัคซีนแอสตราเซเนกา, วัคซีนจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ,วัคซีนบารัต และ วัคซีนโมเดอร์น่า  
ณ เวลานี้ มีกระแสกดดันให้ องค์การอนามัยโลก หรือ WHO รับรองวัคซีนซิโนแวค เพราะจะได้รับวัคซีนนี้เข้าสู่โครงการโคแวกซ์ อีกทางหนึ่งด้วย เพื่อช่วยเหลือประเทศยากจนที่อยู่ในโครงการ

อย่างไรก็ตาม นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)  เปิดเผยว่า วัคซีนซิโนแวค มีการใช้ใน 45 ประเทศทั่วโลก โดย อย. ไทย ใช้เกณฑ์การประเมินมาตรฐานเดียวกับของ WHO โดยการทดลองระยะ 3 ที่บราซิล สามารถป้องกันการติดเชื้อเกิน 50% ป้องกันความรุนแรงของโรค 78% และป้องกันการตายได้ 100%  และ เมื่อดูประเทศที่ใช้จริง พบว่าที่ประเทศชิลีใช้ป้องกันการติดเชื้อได้ 67% ป้องกันป่วย 85% ป้องกันอาการหนัก 89% และป้องกันการเสียชีวิตได้ 80%

ขณะที่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เคยให้ความเห็นว่า ไม่สามารถไปกดดันใดๆ ให้ องค์การอนามัยโลก หรือ WHO รับรองวัคซีนซิโนแวคได้

ที่ผ่านมา เคยมี กลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษาเชิงยุทธศาสตร์ (SAGE) ด้านการฉีดวัคซีน เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนซิโนแวค ออกมาตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา

ทั้งนี้ผลสรุปการประเมินวัคซีนซิโนแวค พิจารณาจากฐานข้อมูลทางคลินิก หลักฐานการทดลองเชิงคลินิกของวัคซีนเท่าที่มี ซึ่งมีการศึกษาใน ตุรกี ชิลี อินโดนีเซีย โดยเฉพาะในบราซิลที่มีการทดลองเชิงคลินิกในเฟสที่ 3 แล้ว

SAGE สรุปเอาไว้ว่าวัคซีน ซิโนแวค สามารถ
– ป้องกันอาการโควิด-19 ได้ที่ระดับ 67%
– ป้องกันการแอดมิดเนื่องจากโควิด-19 ได้ 85%
– ป้องกันการเข้า ICU เนื่องจากโควิด-19 ที่ระดับ 89%
– ป้องกันการเสียชีวิตเนื่องจากโควิด-19 ที่ระดับ 80%

related