svasdssvasds

ไทย รั้งกลุ่มท้าย อันดับ 118 ดัชนีฟื้นตัวจากโควิด-19 จากการจัดของนิเคอิ

ไทย รั้งกลุ่มท้าย อันดับ 118 ดัชนีฟื้นตัวจากโควิด-19  จากการจัดของนิเคอิ

ภาพสะท้อนการจัดการโควิด-19 ที่ดูไร้แนวทางที่ดีของรัฐบาลประเทศไทย ดูจะมีเสียงสะท้อนจากสื่อมวลชนต่างประเทศที่มองเห็นแล้ว...โดยล่าสุด สำนักข่าว Nikkei Asia เผยแพร่การจัดอันดับดัชนีการฟื้นตัวของโควิด-19 ประเทศไทยรั้งอยู่ในกลุ่มท้ายๆ โดยถูกจัดให้อยู่อันดับ ที่ 118

ไทยรั้งท้าย ดัชนีฟื้นตัวจากโควิด-19  

กลายเป็นสิ่งที่ถูกส่งต่อจำนวนมากในโลกออนไลน์ เมื่อ สำนักข่าว Nikkei Asia เผยแพร่การจัดอันดับดัชนีการฟื้นตัวของโควิด-19 หรือ Nikkei COVID-19 Recovery Index ซึ่งวัดผลประมวลผลเอาไว้ ด้วยข้อมูล จนถึงวันที่ 30 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยทำการประเมินคะแนนด้านต่างๆ จากทั้งหมด 120 กว่าประเทศ และสุดท้าย การจัดการปัญหาโควิด-19 ของไทย ก็สะท้อนออกมาเป็นดัชนี โดยอยู่ในกลุ่มท้าย

 สำหรับ สำหรับดัชนี Nikkei COVID-19 Recovery Index  ใช้วิธี คำนวณคะแนนจาก 0-90 โดย วัดจาก 3 หมวดหลัก และ 9 หมวดย่อย โดยแบ่งเป็น

1. การบริหารจัดการการติดเชื้อ   :  เคสผู้ติดเชื้อยืนยันกับจำนวนเคสสูงสุด , เคสผู้ติดเชื้อต่อประชากร , การตรวจเชื้อต่อจำนวนเคส
2. การกระจายวัคซีน :   ปริมาณวัคซีนรวมที่ได้รับต่อหัว , วัคซีนใหม่ที่ได้รับต่อหัว ,  สัดส่วนของประชาชนที่ได้รับวัคซีนอย่างน้อย 1 โดส

3. การเคลื่อนที่ : การเคลื่อนที่ในชุมชน, ดัชนีนโยบายความเข้มงวด ,  กิจกรรมเที่ยวบิน

Worldmap

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รั้งท้าย!  คะแนนเต็ม 90 ไทยได้ 26 คะแนน

ทั้งนี้ ประเทศไทย ได้คะแนน 26.0 ต่ำที่สุดในภูมิภาค รั้งท้ายประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนทุกประเทศ แม้แต่ประเทศที่ดูเหมือนจะสถานการณ์หนักกว่าไทยก็ตาม (ในตารางขาดแค่เมียนมากับบรูไน)

ทั้งนี้ หากมองจาก 9 หัวข้อ  คะแนนของประเทศไทย แบ่งเป็นดังนี้  (ทุกหัวข้อ คะแนนเต็ม 10 )
- การตรวจเชื้อต่อจำนวนเคส  ได้  0 คะแนน
- เคสผู้ติดเชื้อต่อประชากร ได้ 2 คะแนน
- เคสผู้ติดเชื้อยืนยันกับจำนวนเคสสูงสุด ได้ 1 คะแนน
- วัคซีนใหม่ที่ได้รับต่อหัว ได้ 5 คะแนน
-  สัดส่วนของประชาชนที่ได้รับวัคซีนอย่างน้อย 1 โดส ได้ 4 คะแนน
-  ปริมาณวัคซีนรวมที่ได้รับต่อหัว ได้ 4 คะแนน
- การเคลื่อนที่ในชุมชน ได้ 4 คะแนน
-  นโยบายความเข้มงวด ได้ 5 คะแนน
 - กิจกรรมเที่ยวบิน ได้ 1 คะแนน
รวมแล้ว ประเทศไทย ได้  26 คะแนน จาก ดัชนี Nikkei COVID-19 Recovery Index  ซึ่งได้อันดับที่ 118 ของโลก ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มท้ายๆของการจัดอันดับ 120 กว่าประเทศ ที่นิเออิ นำมาชี้วัด

index1

Coverranking
เทียบไทยกับประเทศอื่นๆ     

หากมองในภาพรวมของดัชนี Nikkei COVID-19 Recovery Index ต้องบอกว่า สถานการณ์โควิด-19 ในไทย ในประเด็นการฟื้นตัว ถือว่าอยู่ในภาวะ น่าเป็นกังวลอย่างมาก

เพราะ ไทย ติดอันดับ 118 ซึ่งอยู่ท้ายๆ จากทั้งหมดกว่า 120 ประเทศที่ได้รับการจัดอันดับโดย นิเคอิ โดยมีเพียง 26.0 คะแนนเท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนหลายประเทศ ทั้ง สปป.ลาว กัมพูชา เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย

ส่วนอันดับ 1 ของการจัดอันดับคือ ประเทศจีน ได้ 76.5 คะแนน, อันดับ 2 มอลต้า 76 คะแนน อันดับ 3 โปแลนด์ 69 คะแนน อันดับ 4 อิตาลี 68 คะแนน และ อันดับ 5 ออสเตรีย 67.5 คะแนน

ขณะที่ สิงคโปร์ เป็นประเทศที่อันดับสูงสุดในภูมิภาคอาเซียน คืออันดับที่ 12 ได้ 65 คะแนน

ส่วนสหรัฐอเมริกา อยู่อันดับ 27 ได้ 60.5 คะแนน , ออสเตรเลีย อันดับ 34 ได้ 58 คะแนน ขณะที่ ญี่ปุ่น อันดับ 43 ได้ 55 คะแนน

index2

นอกจากนี้ Nikkei Asia ชี้่ว่าประเทศไทยเป็นตัวอย่างความสำเร็จของการควบคุมโควิด-19 ในปีที่แล้ว แต่สามารถคุมตัวเลขผู้ติดเชื้อได้  แต่ในทางกลับกัน มาตรการล็อคดาวน์สร้างแรงกดดันมหาศาลต่อเศรษฐกิจไทย โดยจีดีพีหดตัว 6.1% ในปี 2563 ตามรายงานของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

นอกจานี้ Nikkei Asia ยังชี้ว่าในขณะเดียวกัน  คนในสังคมชั้นสูงที่ลัดคิวรับวัคซีนยิ่งสะท้อนสังคมไทยที่มีไม่เท่าเทียมกันมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก แหล่งข่าวข้าราชการวัยเกษียณบอกกับ Nikkei Asia ว่า “มีเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นกับผู้ที่มีสายสัมพันธ์ที่สามารถรับวัคซีนสำหรับตนเองและครอบครัวได้ นี่ไม่ใช่ข่าวซุบซิบ ผู้คนโอ้อวดเรื่องนี้อย่างเปิดเผย แม้แต่ใน Facebook"

related