svasdssvasds

สรุปให้..เคสหมอกระต่าย ทางม้าลายไทย มีไว้ทำไม? กฏหมายอ่อน หรือ วินัยไม่มี

เปิดข้อกฏหมายเกี่ยวกับทางม้าลายจากเคส หมอกระต่าย​ จนนำมาสู่ข้อถกเถียงในสังคม กฏหมายอ่อน หรือ คนไทยไม่มีวินัย เดี๋ยวสรุปให้ฟัง

จากเคส หมอกระต่าย  ทางม้าลายไทย มีไว้เพื่ออะไร?
ถ้าคนข้ามแล้วยังไม่ปลอดภัย

รู้ไหมว่า ถ้ารถ เจอ คนข้าม ทางม้าลาย  รถ หรือ คน อันไหนต้องหยุดก่อน??
มองแล้ว โบกก็แล้ว กี่คันผ่านไป ก็ไม่หยุด

สะท้อน กฏหมายอ่อน หรือ วินัยคนไทยไม่มี
เด่วสรุปให้ฟัง

จากเหตุสะเทือนใจ  ดูคลิปไม่ได้จริงๆ
ส.ต.ต นรวิชญ์ บัวดก
ขี่บิ๊กไบค์  ดูคาติ พุ่งชน หมอกระต่าย จักษุแพทย์ ขณะกำลังเดินข้าม ทางม้าลาย

จนเป็นเหตุให้เสียชีวิต หน้าสถาบันโรคไต

ตำรวจนครบาล แจ้ง 5 ข้อหา
(แอลกอฮอล์มีค่าเป็นศูนย์)
- ขับรถโดยประมาท เป็นเหตุผู้อื่นถึงแก่ความตาย

- พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน

- ขับรถไม่ชิดขอบทาง

- ไม่ปฏิบัติตามเครื่องหมายบนพื้นทาง

- พ.ร.บ.รถยนต์ฯ ฝ่าฝืนใช้รถที่ไม่ได้เสียภาษีประจำปี

เสียใจกับเหตุทีเกิดคงไม่มีใคร อยากให้เรื่องนี้เกิดขึ้นอีก

นำมาสู่เสียงวิจารณ์  ให้ขบคิด   3 ประเด็น
กฏหมายอ่อน คนรู้น้อย
วินัยจราจร
สภาพถนน ทางข้าม ปลอดภัยหรือไม่?

รู้ไหมว่า สถิติอุบัติเหตุบนถนน ของกรมทางหลวง  2556-2560 พบว่า
การชนที่มีความรุนแรงสูง คือ รถชนคนเดินเท้า มีความรุนแรงสูงสุด
มีผู้เสียชีวิตเฉลี่ย 55 รายต่ออุบัติเหตุ 100 ครั้ง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

1. กฏหมายไทยอ่อนไปจริงไหม เรารู้กฏหมายแค่ไหน??
รถ เจอ คนข้าม ทางม้าลาย แท้จริงแล้ว ใครต้องหยุด ??
พรบ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522  ระบุเกี่ยวกับ ทางม้าลาย ไว้แบบนี้จ้ะ

มาตรา 21
เมื่อขับเข้าใกล้ทางม้าลาย จะต้องลดความเร็ว
และต้องหยุดรถ ให้สิทธิคนข้ามก่อนเสมอ
หากฝ่าฝืน โทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

มาตรา 46 - ห้ามแซงรถคันอื่น ในระยะ 30 เมตร ก่อนถึงทางม้าลาย
โทษปรับตั้งแต่ 400-1,000 บาท

มาตรา 57  ห้ามจอดรถทับทางม้าลาย หรือทางข้าม เกินระยะ 3 เมตร
ฝ่าฝืนมีโทษปรับ 500 บาท

มาตรา 70 -  เมื่อเห็นทางม้าลาย ให้ชะลอความเร็วก่อนทุกครั้ง
(เพราะฉะนั้นไม่ควรมีเหตุผลว่า หยุดไม่ทัน เพราะเมื่อเห็นทางม้าลาย
คุณควร ชะลอรถทุกครั้ง!!!)

มาตรา 104 ผู้ที่ต้องการข้ามถนน หากมีทางม้าลายหรือสะพานลอยในระยะ 100 เมตร ต้องข้ามในนี้เท่านั้น ฝ่าฝืนปรับ

เทียบกับ กฏหมายจราจร ของญี่ปุ่น  ปรับหนักกว่า
เขาให้ความสำคัญกับ คนเดินเท้า มากๆ
ข้อมูลจากเว็บไซต์ www.j-campus.com  ระบุว่า


ปรับ 5,000-9,000 เยน (1,600 - 3,000 บาท) ตามขนาดของรถ
- ไม่หยุดรถตามป้ายสัญญาณ ขัดขวางการข้ามถนนของคนเดินเท้า
- ขัดขวางการสัญจรของเด็กเล็ก
-ไม่รักษาขัดขวางการข้ามถนนของคนเดินเท้า
-ไม่รักษาระยะห่างจากคนเดินเท้า ไม่ชะลอรถ ในถนนคนเดิน
ยกเว้นความผิดฐานขัดขวางการข้ามถนน  โทษปรับหนักกว่า คือ 6,000-12,000 เยน
(2000 - 4000 บาท)

 

2. วินัยจราจรคนไทยที่อ่อน?
ความตระหนักเรื่อง First priority บนท้องถนน ของคนไทยน้อยหรือไม่
ถ้าเราหยิบยก เคสจากประเทศอื่นมาส่องดู
ก็คงจะพอรู้ว่า วินัยของคนไทย เป็นอย่างไร
เช่น  เคสญี่ปุ่น
ต่อให้เป็นรถกู้ภัย เมื่อเจอทางม้าลายคนกำลังข้าม
ขณะเปิดไฟหวอ วิ่งมาเร็วๆ แต่ทางม้าลาย คือ ทางคนข้าม
เขาหยุด ทันที
 

3.สภาพแวดล้อม ถนน ปัจจัยอื่น
(เพราะอุบัติเหตุ เกิดจาก 3 ส่วน คน รถ ถนน)
เช่น ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ หรือ ดร.เอ้ ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่ากทม. ประชาธิปัตย์
บอกว่า มันอาจเกิดจากปัจจัยอื่น ถนนและสิ่งแวดล้อม ยานพาหนะ" หรือ "เกิดจากคน  หาก จุดใด มีรายงานการเกิดอุบัติเหตุบ่อย  หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็ควรเร่งตรวจสอบด้วยว่าจากปัจจัยแวดล้อมไหม
เช่น ทางข้ามที่มันกระชั้น มุมอับสายตา เส้นไม่ชัด ฯลฯ เพื่อลดอุบัติเหตุ

โทษใคร หรือ  แก้ตรงไหน?
- หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งหาทางแก้
ตัวกฏหมายอาจต้องมีบทลงโทษหนักขึ้น/ ทางข้าม เด่นขึ้น 3 มิติ ไฟกระพริบสว่าง / ออกแบบถนนลดอุบัติเหตุ
- ปลูกฝัง ให้เห็นความสำคัญของ ระเบียบวินัย ในเด็กเล็กๆ
- ขับรถ เห็นทางม้าลาย ทางข้าม ชะลอทุกครั้ง
ไม่ต้องให้มีคนยืน ทำให้เป็นนิสัย
- ข้ามถนน ถ้าเจอรถหยุด แต่บัง ควร ชะลอ ให้แน่ใจ 100% ค่อยก้าวเท้าข้าม
แม้เราถูก เราระวัง แต่คนอื่นอาจขับไม่ดี
- ต้องโทษคนไทยทุกคน เราเป็นประเทศที่หลายเรื่อง
ต้องช่วยตัวเอง เรื่องนี้ก็เช่นเดียวกัน
ถ้าไม่อยากให้เกิดขึ้น พูดกันแล้วก็ลืม
แต่อยากให้หลังจากนี้ ทุกคนช่วยกันจริงๆ
วินัยจราจรไทย มันเปลี่ยนยาก แต่มันเปลี่ยนได้นะคะ

related