svasdssvasds

ฉาย บุนนาค : ประวัติสกุล ‘บุนนาค’ และความจงรักภักดีในสายเลือด กับ‘มหาจักรีบรมราชวงศ์’ (1)

ฉาย บุนนาค : ประวัติสกุล ‘บุนนาค’ และความจงรักภักดีในสายเลือด กับ‘มหาจักรีบรมราชวงศ์’ (1)

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

ฉาย บุนนาค : ประวัติสกุล ‘บุนนาค’ และความจงรักภักดีในสายเลือด กับ‘มหาจักรีบรมราชวงศ์’ (1)

 

“วันจักรี” หรือ “วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช” ตรงกับวันที่ 6 เมษายนของทุกปีเพราะตรงกับวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช  (รัชกาลที่ 1) เสด็จปราบดาภิเษกขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีและทรงสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงของประเทศไทยในปี 2325 โดยยุคของราชวงศ์นี้ เรียกว่า “ยุครัตนโกสินทร์”

“วันจักรี” ถือเป็นวันสำคัญของพสกนิกรชาวไทยเพราะเป็นวันที่เราทุกคนควรระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและมหาจักรีบรมราชวงศ์ ทุกพระองค์ ที่เป็นร่มโพธิ์ร่มไทร สร้างรากฐานแก่ปวงชนชาวไทยให้เป็นปึกแผ่นเฉกเช่นทุกวันนี้

ด้วยความจงรักภักดีในสายเลือด “สกุลบุนนาค” และความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของราชวงศ์จักรี ประกอบกับความหลงใหลในประวัติศาสตร์

ทั้งหมดนี้เป็นดั่งแรงผลักดัน ให้ผมใคร่หมั่นศึกษาและค้นคว้าเพิ่มเติมเรื่องที่มาที่ไปของต้นตระกูลและของสยามประเทศ

“เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา” มีนามเดิมว่า “นายบุนนาค” เกิดปีมะเมีย พ.ศ.2281 ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่อเป็นบุตรของเจ้าพระยามหาเสนา (เสน) (บุตรชายของเจ้าพระยาเพ็ชร์พิไชย (ใจ) กับท่านแฉ่ง) กับท่านบุญศรี รับราชการในตำแหน่งทนายหน้าหอ รับใช้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าพระยาจักรี ต่อมา จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาอุทัยธรรม พระยายมราช เจ้าพระยายมราช และเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา ที่สมุหพระกลาโหม ตามลำดับ

ในวัยเยาว์ นายบุนนาค นายสิน และ นายทองด้วง เป็นเพื่อนสนิทกัน เคยอุปสมบทที่วัดสามวิหาร ต่อมาภายหลังนายบุนนาคมีเรื่องหมางใจกับนายสิน (ขอสงวนไว้สำหรับบทความตอนต่อๆ ไป) จึงตัดสินใจหลังเสีย

กรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 (พ.ศ.2310) พาท่านลิ้ม ภรรยาไปอยู่กับหลวงยกกระบัตร (ทองด้วง)ที่เมืองราชบุรี

เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (นายสิน) ปราบดาภิเษก ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แล้ว และหลวงยกกระบัตรเข้ามารับราชการในกรุงธนบุรีเป็นที่เจ้าพระยาจักรี นายฉลองไนยนาถ (บุนนาค) จึงมิได้ถวายตัวทำราชการด้วยเกรงพระราชอาชญา แต่ได้ตามมาอยู่กับเจ้าพระยาจักรีในฐานะเป็นทนายของท่าน

ต่อมานายฉลองไนยนาถ (บุนนาค) ชวนท่านลิ้มภรรยาไปขุดทรัพย์ที่บิดามารดาฝังไว้ที่บ้านเก่าริมวัดสามวิหาร หลังจากรวบรวมทรัพย์สมบัติได้แล้วจึงเดินทางกลับ ล่องเรือเข้ามาทางแม่นํ้าอ้อมเมืองนนทบุรี มาถึงปากคลองบางใหญ่ ได้ถูกผู้ร้ายปล้นสมบัติ ภรรยาและข้าทาสอีก 2 คนถูกฆ่าตาย นายฉลองไนยนาถกับทาสอีก 1 คนต้องกระโดดนํ้าหนีไปโดยไม่ได้ทรัพย์

สิน เลย ความทราบถึงท่านผู้หญิงนาก ภรรยาท่านเจ้าพระยาจักรี เกิดความสงสารนายฉลองไนยนาถจึงยกท่านนวลน้องสาวให้เป็นภรรยา โดยเป็นผู้ประกอบพิธีสมรสให้

ในสมัยกรุงรัตน- โกสินทร์ เมื่อเจ้าพระยาจักรีซึ่งเป็นที่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติปราบดาภิเษกเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ทรงแต่งตั้งข้าราชการที่มีความดีความชอบให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ตามความสามารถ นั้น นายฉลองไนยนาถ ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นพระยาอุไทยธรรม โดยพระราชพงศาวดาร กล่าวว่า

“ตรัสเอาหม่อมบุนนาค บุตรพระยาแสนยากรครั้งกรุงเก่า มิได้คิดเข้ามาทำราชการหายศบรรดา ศักดิ์ (ในสมัยพระเจ้ากรุง ธนบุรี) พึ่งแต่พระเดชพระคุณให้ใช้สอย ได้ตามเสด็จไปการพระราชสงครามทุกครั้ง

มีความชอบตั้งให้เป็นพระยาอุไทยธรรม ภายหลังได้เป็นที่สมุหพรกลาโหม...” พระราชทานบ้านให้อยู่ที่ท้ายวังแถวจวนเสนาบดี

อ่านต่อฉบับหน้า......

คอลัมน์ |ฉาย บุนนาค หน้า 18 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ | ฉบับ 3360 ระหว่างวันที่ 26-28 เม.ย.2561

related