svasdssvasds

ฉาย บุนนาค : เมื่อ“ร.ร.นานาชาติสิงคโปร์กรุงเทพฯ”เข้าตลาดหุ้น อีกหนึ่ง“จริยธรรม”ที่เสื่อมถอยในสังคม

ฉาย บุนนาค : เมื่อ“ร.ร.นานาชาติสิงคโปร์กรุงเทพฯ”เข้าตลาดหุ้น อีกหนึ่ง“จริยธรรม”ที่เสื่อมถอยในสังคม

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

เมื่อวันที่ 22สิงหาคม 2561 ที่ผ่านมา บริษัท เอสไอเอสบี จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบการธุรกิจการศึกษา “โรงเรียนนานาชาติสิงคโปร์” รวม 5แห่งทั้งในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และที่เชียงใหม่ ซึ่งเปิดสอนนักเรียนหลายพันชีวิตตั้งแต่ระดับชั้นก่อนประถมศึกษา (เตรียมอนุบาล) จนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและหนังสือชี้ชวน (Filing) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวน 260 ล้านหุ้น และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) โดยมี บล.ฟินันเซีย ไซรัสฯ เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน

ฉาย บุนนาค : เมื่อ“ร.ร.นานาชาติสิงคโปร์กรุงเทพฯ”เข้าตลาดหุ้น อีกหนึ่ง“จริยธรรม”ที่เสื่อมถอยในสังคม

ข่าวนี้หากอ่านผ่านๆ ก็เหมือนจะเป็นเรื่องปกติที่อีกหนึ่งบริษัทจะระดมทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯโดยการเข้าตลาด

นานาเหตุผลของ “การเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ” มีหลายประการทั้งกับบริษัทและผู้ถือหุ้น เช่น เพื่อแหล่งเงินทุนระยะยาว เพื่อภาพลักษณ์ เพื่อสภาพคล่องในการซื้อขายหุ้น เพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษี

โดยสิ่งที่แลกมาคือการมีหุ้นส่วนเป็นประชาชนทั่วไป และสิ่งที่ประชาชน (ผู้ถือหุ้น)ทั่วไปคาดหวังคือ ความมั่งคั่งและผลประโยชน์อันสูงสุด..

ฉาย บุนนาค : เมื่อ“ร.ร.นานาชาติสิงคโปร์กรุงเทพฯ”เข้าตลาดหุ้น อีกหนึ่ง“จริยธรรม”ที่เสื่อมถอยในสังคม

สรุปคือ ตลาดหุ้นเหมาะสำหรับบริษัทที่มุ่งหาผลประโยชน์อันสูงสุด!

สำหรับธุรกิจการศึกษาเอกชนในประเทศไทย หากย้อนกลับไปจะพบว่าเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยล้านนา สุโขทัย และอยุธยา โดยมีวัดและบ้านเป็นสถานที่ให้การศึกษา

ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ ผู้บุกเบิกการก่อตั้งโรงเรียนเอกชนก็หาใช่คนไทย แต่เป็นมิสชันนารีซึ่งเข้ามาเผยแพร่ศาสนา จนกระทั่ง พ.ศ.2461 รัฐบาลจึงได้ประกาศพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชนขึ้นครั้งแรกและพัฒนาต่อมาเป็นพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2554 (ฉบับที่ 2)โดยมีจุดประสงค์เพื่อแบ่งเบาภาระของรัฐและมุ่งเน้นด้านคุณภาพและความเป็นเลิศของเยาวชน

ฉาย บุนนาค : เมื่อ“ร.ร.นานาชาติสิงคโปร์กรุงเทพฯ”เข้าตลาดหุ้น อีกหนึ่ง“จริยธรรม”ที่เสื่อมถอยในสังคม

แล้วการมุ่งเน้นผลประโยชน์อันสูงสุดของผู้ถือหุ้นในการเข้าตลาดหุ้นกับการมุ่งเน้นคุณภาพอันสูงสุดของการศึกษาเพื่อเยาวชนจะไปกันได้หรือ??

หากท่านเป็นพ่อเป็นแม่คน ท่านอยากจะส่งลูกหลานไปเรียนโรงเรียนที่มีนโยบายมุ่งเน้นความมั่งคั่งของเจ้าของหรือมุ่งเน้นคุณภาพในการศึกษาของบุตรหลานท่าน?

ฉาย บุนนาค : เมื่อ“ร.ร.นานาชาติสิงคโปร์กรุงเทพฯ”เข้าตลาดหุ้น อีกหนึ่ง“จริยธรรม”ที่เสื่อมถอยในสังคม

การมุ่งเน้นผลประโยชน์สูงสุดทางธุรกิจ หรือ Maximize Profit แปลว่า “ขายให้แพง-จ่ายให้น้อย”สำหรับธุรกิจการศึกษาคือ“คิดค่าเล่าเรียนแพง-บนต้นทุนที่น้อยที่สุด”และหากเป็นเช่นนี้การศึกษาของเยาวชนจะไปมีคุณภาพได้อย่างไร?

ไม่อยากจะจินตนาการ คุณภาพของครูผู้สอน มาตรฐานของการคัดสรรเด็ก อาหารที่เด็กๆ ต้องรับประทาน หากโรงเรียนถูกสร้างมาเพื่อความมั่งคั่งสูงสุดของผู้ถือหุ้น

นี่ยังไม่รวมความเสี่ยงในความแปรผันของโรงเรียนหากผู้ถือหุ้นใหญ่เปลี่ยนมือขายหุ้นทิ้งไปในตลาดหุ้นเมื่อได้ราคาที่พึงพอใจ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าใครจะมาบริหารสถานศึกษาและรับผิดชอบชีวิตเยาวชนเหล่านี้

 

โปรดอย่าเข้าใจผิด ผมไม่ได้บอกว่า ธุรกิจการศึกษาเอกชนห้ามมีกำไร แต่ผู้ประกอบการควรต้องมีจิตวิญญาณแห่งความเป็นครู กับความคิดเพื่อสาธารณประโยชน์ให้มาก และยึดถืออุดมการณ์ในการมีส่วนร่วมพัฒนาการศึกษาชาติ เพื่อเกียรติประวัติของสกุล

เพราะครูคือแม่พิมพ์ของชาติ เพราะการศึกษาเป็นต้นทุนแห่งอนาคตของประชากร เพื่อต่อยอดไปสู่การพัฒนาสังคมและประเทศชาติ เพราะโรงเรียนคือสถานศึกษาและกำหนดทิศทางอนาคตของเด็กและเยาวชน

ด้วยเหตุผลทั้งหมดนี้ “ธุรกิจการศึกษา” จึงไม่ควร “เข้าตลาดหุ้น”

ฉาย บุนนาค : เมื่อ“ร.ร.นานาชาติสิงคโปร์กรุงเทพฯ”เข้าตลาดหุ้น อีกหนึ่ง“จริยธรรม”ที่เสื่อมถอยในสังคม

ฝากถึง “คุณรพี สุจริตกุล”ในฐานะเลขาฯ ก.ล.ต. ที่กำลังจะครบวาระในเดือนเมษายนปีหน้า ว่ากรณีนี้แม้ดูเหมือนเป็นเรื่องเล็กๆ แต่มีผลกระทบสูงต่อทรัพยากรบุคคลและอนาคตของประเทศชาติ ขอให้พิจารณามาตรการในการกำกับดูแลเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพื่อเป็นวีรกรรมและเกียรติภูมิของสำนักงานต่อไป

คอลัมน์ฉาย บุนนาค โดย...ฉาย บุนนาค หน้า 18 ฉบับ 3396 ระหว่างวันที่ 30 ส.ค.-1ก.ย.2561

related