svasdssvasds

ห่วงดีลทรู-ดีแทค ผูกขาดอุตสาหกรรมโทรคมนาคม

ห่วงดีลทรู-ดีแทค ผูกขาดอุตสาหกรรมโทรคมนาคม

นักเศรษฐศาสตร์ห่วง ดีล ทรู-ดีแทค ผูกขาดอุตสาหกรรมโทรคมฯ หลัง กสทช.แสดงออกชัดเมินความเห็นศาลปกครอง ส่งกฤษฎีกาตีความรอบสอง

101 PUB ตั้งข้อสังเกตท่าที “กสทช.”ไม่รู้อำนาจตัวเองจริงๆหรือมีวาระแอบแฝง ระบุตามประกาศฯผู้มีอำนาจเหนือตลาดกำหนดเพดานมาร์เก็ตแชร์ค่ายมือถือให้แค่ 25% แม้ตอนนี้ยังไม่ควบรวมก็เข้าสู่วิกฤติแล้ว หากทรูควบดีแทคได้จะแบ่งแชร์กับเอไอเอสคนละครึ่ง ส่งผลต่อผู้บริโภคแน่นอน

วานนี้ (7 ก.ย. 2565) สภาองค์กรของผู้บริโภค ได้มีการจัดเสวนาระดมความเห็นในกรณีที่ “กสทช. มีอำนาจจัดการควบรวม ทรู-ดีแทคหรือไม่" เพื่อหาทางออกในการคุ้มครองผู้บริโภค จากสถานการณ์การควบรวมกิจการในธุรกิจมือถือครั้งประวัติศาสตร์

ที่ผ่านมานั้น คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าจะพิจารณาการขอรวมธุรกิจระหว่างบริษัท ทรูและดีแทค ออกไปในทิศทางไหน แต่มีเรื่องที่ยังคาใจหลายภาคส่วนคือ การที่ กสทช.ส่งเรื่องอำนาจของตัวเองไปให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นผู้พิจารณาอำนาจของตนเป็นรอบสอง ทั้งที่เป็นเรื่องไม่ควรทำดึงฝ่ายบริหารมาเกี่ยวในหน้าที่กำกับดูแลของตัวเอง ที่เป็นองค์กรอิสระ

ห่วงดีลทรู-ดีแทค ผูกขาดอุตสาหกรรมโทรคมนาคม

ฉัตร คำแสง ผู้อำนวยการ 101 PUB กล่าวว่า ตั้งแต่ติดตามเรื่องนี้ตั้งแต่ เม.ย.65 หากพิจารณาตามคำกล่าวอ้างของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่เคยระบุไว้อย่างหนักแน่นตามประกาศ กสทช. เรื่องมาตรการกำกับดูแลการรวมธุรกิจในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2561 ข้อ 5 ที่ระบุไว้เพียงแค่รายงานการดำเนินการต่อเลขาธิการกสทช.ภายใน 90 วัน

ห่วงดีลทรู-ดีแทค ผูกขาดอุตสาหกรรมโทรคมนาคม

แต่พอพลิกไปอีกหน้าในข้อ 9 น่าแปลกใจที่สำนักงาน กสทช.ทำไมถึงอ่านไม่ถึงข้อนี้ ที่ระบุว่าการควบรวมครั้งนี้จึงเป็นการควบรวมระหว่างผู้มีอำนาจควบคุมของผู้รับใบอนุญาตโดยตรงจาก กสทช.เป็นการรวมธุรกิจตามข้อ 3 ของประกาศ กสทช. เรื่องมาตรการกำกับดูแลการรวมธุรกิจในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2561 (ประกาศ 2561) และต้องขออนุญาต กสทช. ก่อนการควบรวมเสร็จสิ้น ตามข้อ 5 และ 9 ประกาศ 2561 ประกอบข้อ 8 ของประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการป้องกันมิให้มีการกระทำอันผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549

ดังนั้น นี้จึงถือเป็นปริศนาของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย และเมื่อศาลปกครองได้มีคำสั่งในคดีเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษาคดีหมายเลขดำ 775/2565 ที่คดีหมายเลขแดงที่ /25 ผู้ฟ้องคดี ในการตีตกคำร้องนายณภัทร วินิจฉัยกุล ซึ่งถือเป็นซูเปอร์บอร์ด กสทช. ที่ขอทุเลาคำสั่งกรณีการควบรวมระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ให้หยุดการใช้ปี 2561 และให้กับไปใช้ประกาศ กสทช.ปี 2553 ซึ่งศาลพิเคราะห์แล้วว่ากสทช.มีกฎหมายเฉพาะที่จะจัดการได้ ดังนั้น เมื่อมาถึงตรงนี้จึงมีความไม่เข้าใจในหลายๆส่วนว่า ทำไมกสทช.ต้องมีคำเห็นแย้งกับศาลปกครองแล้วส่งเรื่องอำนาจของตัวเองไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อให้ช่วยมีคำชี้แนะกรณีอำนาจที่จะมาพิจารณาดีลการควบรวมดังกล่าวนี้อีกครั้งหนึ่ง

"ในท้ายที่สุดไม่รู้ว่าเมื่อกฤษฎีกาตอบกลับมาว่ากสทช.มีอำนาจหรือไม่มีอำนาจในการพิจารณาดีลครั้งนี้ มันจะมีผลต่อการตัดสินใจลงคะแนนของบอร์ดกสทช.ชุดนี้จริงๆหรือเปล่า"

ฉัตร ยังให้ความเห็นกรณีที่สำนักงานกสทช.ส่งหนังสือขอให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความอำนาจของตัวเองว่า ทั้งบอร์ดกสทช.และสำนักงาน กสทช.ไม่น่าจะใช่คนที่ไม่รู้ตัวเองจริงๆว่าตัวเองไม่มีอำนาจ การพูดในประเด็นนี้ที่ผ่านมาในเวทีทางวิชาการ มีข่าวเผยแพร่ไปหลายต่อหลายครั้ง เกี่ยวกับการไม่เห็นด้วยในการควบรวมกิจการดังกล่าวของเอกชน และก็มีการกล่าวถึงอำนาจของ กสทช.ที่มีตามกฎหมายระบุไว้ อีกทั้ง ยังมีรายงานคณะอนุกรรมการกฎหมายเสียงชุดที่ กสทช.ตั้งขึ้น ก็มีการลงคะแนน 10 ต่อ 1 ก็ระบุชัดว่า กสทช.มีอำนาจที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาต ดังนั้น การที่กสทช.ยังทำเป็นไม่รู้หน้าที่ตัวเอง มันคงจะเหมือนมีอะไรที่อยู่เบื้องหลังการประพฤติลักษณะนี้ของ กสทช.

หากนำดัชนีการกระจุกตัว หรือ Herfindahl-Hirschman Index : HHI มาพิจารณาจะเห็นว่า ปัจจุบันอุตสาหกกรรมไทยอยู่ในภาวะผู้เล่นน้อยราย (Oligopoly) เดิมมีค่าดัชนี HHI อยู่ที่ 3,578 แต่หากควบรวมสำเร็จจะขึ้นไปที่ 4,823 เพิ่มขึ้นถึง 32.4% ถือเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด เพราะสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เคยระบุว่า หากตลาดมีดัชนี HHI เกิน 2,500 ถือเป็นตลาดที่มีความอันตราย ซึ่งปัจจุบันแม้ยังไม่มีควบรวมเกิดขึ้น แต่สภาพของตลาดก็เข้าข่ายผูกขาดจนเกินอันตรายแล้ว เพราะตามประกาศกสทช.2549 ไม่ได้กำหนดเพดานของผูัอำนาจเหนือตลาดไว้ที่ 50% แต่หากเกิน 25% ตามดัชนี HHI นี้ก็ถือตลาดโทรคมนาคมของไทยก็เป็นตลาดที่ผูกขาดแล้ว

 

ซึ่งจากประเด็นนี้จะเห็นว่า กสทช.มีประกาศเรื่อง มาตรการกํากับดูแลการรวมธุรกิจในกิจการโทรคมนาคมโดยที่เป็นการสมควรกําหนดลักษณะและมาตรการกํากับดูแลการรวมธุรกิจในกิจการโทรคมนาคม เพื่อป้องกันมิให้เกิดการครอบงํากิจการในตลาดโทรคมนาคม ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการแข่งขัน โดยเสรีอย่างเป็นธรรม และเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการแข่งขันและการพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม อย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 27 (11) (24) และมาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติ องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ประกอบมาตรา 21 และมาตรา 22 (3) (4) (5) แห่งพระราชบัญญัติ การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ก็เท่ากับ กสทช.มีอำนาจในการพิจารณาเรื่องนี้