svasdssvasds

ระวัง! Deepfake ด้านมืด AI อาวุธร้ายของมิจฉาชีพ

ระวัง! Deepfake ด้านมืด AI อาวุธร้ายของมิจฉาชีพ

เตือนระวังมิจฉาชีพ ใช้ Deepfake ปลอมเป็นบุคคลมีชื่อเสียง เผยแพร่ข่าวปลอม แนะวิธีสังเกตุเสียง Ai แตกต่างจากเสียงมนุษย์อย่างไร?

SHORT CUT

  • มิจฉาชีพออนไลน์ พัฒนารูปแบบใหม่ๆ ใช้ Deepfake สร้างคลิปวิดีโอปลอมบุคคล ให้เหยื่อหลงเชื่อ
  • ระวังให้มากๆ ควรตรวจสอบข้อมูลทุกครั้งก่อนที่จะเชื่อ เพราะจุดสังเกต “เสียง AI” ค่อนข้าง แตกต่างจากเสียงมนุษย์

เตือนระวังมิจฉาชีพ ใช้ Deepfake ปลอมเป็นบุคคลมีชื่อเสียง เผยแพร่ข่าวปลอม แนะวิธีสังเกตุเสียง Ai แตกต่างจากเสียงมนุษย์อย่างไร?

ปัจจุบันมิจฉาชีพออนไลน์ อาละวาดไปทั่วโซเชียลแถมยังมีการพัฒนารูปแบบใหม่ๆ ในการมาหลอกเหยื่อ และที่กำลังน่ากลัวที่สุดคือ Deepfake ซึ่งเป็นการปลอมแปลงข้อมูล,ตัดต่อภาพ ตกแต่งเสียงพูด และสร้างคลิปวิดีโอปลอมบุคคล ให้ดูเหมือนจริง มิจฉาชีพมักใช้เป็นเครื่องมือแอบอ้างเป็นบุคคลอื่น เพื่อประโยชน์บางอย่าง เช่น การเผยแพร่ข่าวปลอม หรือ หลอกลวงให้โอนเงิน

กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง จึงออกมาให้ความรู้พร้อมแนะวิธีสังเกตระหว่างคนจริง กับ Deepfake AI ที่มิจฉาชีพได้นำมาใช้ เป็นเครื่องมือในการแอบอ้างเป็นบุคคลอื่นหน่วยงานรัฐทำให้สังคมเกิดความเสียหายและอาจเข้าใจผิด

จุดสังเกต “เสียง AI” แตกต่างจากเสียงมนุษย์อย่างไร?

  1. จังหวะการเว้นวรรคคำพูด : เสียงพูดจาก AI จะไม่มีอารมณ์หรือความรู้สึก เสียงจึงจะไม่มีจังหวะหยุด ไม่มีเว้นวรรคจังหวะหายใจ และจะพูดประโยคยาว
  2. น้ำเสียงราบเรียบ : เสียงจาก AI ที่มิจฉาชีพใช้จะมีเสียงที่ราบเรียบ ไม่มีการเน้นน้ำหนักเสียง หรือความสำคัญของคำ
  3. คำทับศัพท์ : เสียงจาก AI จะพูดคำศัพท์เฉพาะไม่ค่อยชัด คำบางคำเวลาออกเสียง จะมีความผิดเพี้ยนไปบ้าง เนื่องจาก AI อาจยังไม่สามารถออกเสียงวรรณยุกต์ เสียงสูง-ต่ำ ได้ในบางคำ

วิธีสังเกต “ใบหน้า” ที่สร้างจาก AI 

  1. สังเกตการขยับริมฝีปาก : หากเป็นคลิปสร้างจาก AI การขยับปากของคนในคลิปจะไม่สอดคล้องกับเสียงในวิดีโอ และดูไม่เป็นธรรมชาติ
  2. ใบหน้า : มีลักษณะที่ผิดสัดส่วนธรรมชาติ โดยเฉพาะเมื่อก้มเงยหน้าหรือหันซ้ายหันขวา
  3. สีผิวเข้ม หรือ อ่อนเป็นหย่อมๆ : แสงและเงาบริเวณผิวไม่สอดคล้องต่อการเคลื่อนไหว
  4. การกะพริบตาถี่เกินไป หรือน้อยเกินไป : ดูไม่เป็นธรรมชาติ

 

 

ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) ขอเตือนประชาชนควรตรวจสอบข้อมูลทุกครั้งก่อนที่จะเชื่อ หรือแชร์ต่อ เพื่อให้มั่นใจว่า สิ่งที่เห็นเป็นเรื่องจริง จะได้ไม่เผยแพร่ข้อมูลปลอมสู่สังคม

ข้อมูลจาก : ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB)  

 

related