svasdssvasds

XPENG เปิดตัวสถานีชาร์จ เร็วแบบสายฟ้าแลบ แรงกว่าที่ไทย 3 เท่าตัว

XPENG เปิดตัวสถานีชาร์จ เร็วแบบสายฟ้าแลบ แรงกว่าที่ไทย 3 เท่าตัว

XPENG แบรนด์ชื่อดังจากจีน ได้เปิดตัวสถานีชาร์จที่ได้เปรียบเปรยว่าเร็วเหมือนสายฟ้าแลบ ซึ่งได้ทดสอบแล้วว่าชาร์จให้แบตเตอรี่วิ่งได้ 210 กม. ภายในเวลาเพียง 5 นาที

XPENG ได้เปิดตัวเกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้ามากว่า 8 ปีแล้ว และได้เปิดตัวเทคโนโลยีขั้นสุดของแบรนด์ นั่นคือสถานีชาร์จความเร็วสูงพิเศษ S4 ของ XPeng ซึ่งในวีดีโอเปิดตัวได้โชว์การชาร์จที่รวดเร็วมากโดยเริ่มต้นจาก 150kW ไปสู่ 440kW ด้วยเวลาเพียง 3 นาที 

XPENG เปิดตัวสถานีชาร์จ เร็วแบบสายฟ้าแลบ แรงกว่าที่ไทย 3 เท่าตัว

XPENG S4 กลายเป็นสถานีชาร์จนี้มีความแรงที่สุดในตลาดจีน และที่น่าสนใจคือหาก XPENG ผลิตรถยนต์มารองรับสถานีชาร์จนี้ จะทำให้ความเร็วในการชาร์จเหนือกว่าสถานีชาร์จของ Tesla Superchargers (250 kW ในรุ่น V3) 

XPENG เปิดตัวสถานีชาร์จ เร็วแบบสายฟ้าแลบ แรงกว่าที่ไทย 3 เท่าตัว และอาจรถยนต์ของ XPENG อาจชาร์จเร็วแซง Porsche Taycan (ซึ่งชาร์จได้ถึง 270 kW) ซึ่งเคยชาร์จเร็วที่สุดในโลกมาก่อน

XPENG เปิดตัวสถานีชาร์จ เร็วแบบสายฟ้าแลบ แรงกว่าที่ไทย 3 เท่าตัว

สถานีชาร์จที่แรงขนาดนี้จะอันตรายหรือไม่ ? 

ทาง XPENG ได้อ้างว่าสถานีชาร์จ S4 นี้เป็นเอกสิทธิ์ของแบรนด์ ด้วยอัตราการไหลของไฟที่รวดเร็ว จึงมีระบบระบายความร้อนด้วยของเหลว การป้องกันน้ำและฝุ่นระดับ IP67 ตัวเชื่อมต่อสายเคเบิลน้ำหนักเบา และชิปมีการตรวจสอบความปลอดภัยแล้ว

XPENG เปิดตัวสถานีชาร์จ เร็วแบบสายฟ้าแลบ แรงกว่าที่ไทย 3 เท่าตัว

เรื่องที่น่าสนใจของการพัฒนาครั้งนี้ของ XPENG เพราะว่าหากรถยนต์ไฟฟ้าหรือ รถ EV สามารถชาร์จพลังงานไฟฟ้าได้ในเวลาสั้น คล้ายกับการเติมน้ำมัน นั่นคือการตอบโจทย์การเดินทางไกลที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน

XPENG เปิดตัวสถานีชาร์จ เร็วแบบสายฟ้าแลบ แรงกว่าที่ไทย 3 เท่าตัว

ขณะนี้ยุโรปและอเมริกาเหนือกำลังขยายสถานีชาร์จให้รองรับกำลังไฟที่สูงขึ้นเช่นกัน ขณะนี้ทำได้เพียง 350kW การแข่งขันในการพัฒนาเทคโนโลยีครั้งนี้ ดูเหมือนจะดุเดือดสำหรับตลาดยานยนต์ไฟฟ้า และทั่วโลกยิ่งแข่งขันพัฒนาขึ้นเร็วมากแค่ไหน ก็อาจนำไปสู่การที่รถ EV จะถึงขั้นสุดของการพัฒนา

เรายังคงต้องติดตามกันต่อไปว่าจะมีผลกระทบและเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไรในอนาคต เมื่อรถ EV สมบูรณ์แบบ จะมีพลังงานอื่นๆต่อไปมาพัฒนาให้เราใช้กันเพิ่มหรือไม่ เช่น พลังงานไฮโดรเจน เป็นต้น
 

ที่มา : XPENG

related