svasdssvasds

ดักทางกลโกง "Pig Butchering" ฟอกเงิน-ค้ามนุษย์ ผ่านธุรกรรมคริปโต

ดักทางกลโกง "Pig Butchering" ฟอกเงิน-ค้ามนุษย์ ผ่านธุรกรรมคริปโต

เปิดผลวิจัยล่าสุด เผยกลโกงการหลอกลวงรูปแบบ "Pig Butchering" และการค้ามนุษย์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านการวิเคราะห์ธุรกรรมคริปโตจากเหยื่อที่ตกเป็นเป้า

คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. จับมือหน่วยงานรัฐ-เอกชน ดักทางอาชญากรรมฟอกเงินผ่านเส้นทางธุรกรรมสินทรัพย์ดิจิทัล โดยอ้างอิงถึงผลการวิจัยการใช้เงินคริปโตเคอร์เรนซีเพื่อสนับสนุนองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ จากมหาวิทยาลัยเท็กซัสแห่งออสติน โดยเฉพาะการหลอกลวงรูปแบบ "Pig Butchering" (หลอกลวงผ่านความสัมพันธ์ออนไลน์) และการค้ามนุษย์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านการวิเคราะห์ธุรกรรมคริปโตจากเหยื่อที่ตกเป็นเป้า

งานวิจัยดังกล่าวพบข้อมูลที่น่าตกใจที่ระบุว่า การหลอกลวงรูปแบบ "Pig Butchering" ที่ใช้เงินคริปโตเคอร์เรนซีในการฟอกเงินนั้น มีมูลค่าความเสียหายสูงถึง 28,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี หรือประมาณ 900,000 ล้านบาท และกระทบต่อผู้ที่ตกเป็นเหยื่อทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย

ดักทางกลโกง \"Pig Butchering\" ฟอกเงิน-ค้ามนุษย์ ผ่านธุรกรรมคริปโต

โดย Pig Butchering เป็นรูปแบบการหลอกลวงที่อาชญากรจะสร้างความสัมพันธ์กับเหยื่อผ่านการสื่อสารออนไลน์ และสร้างความไว้วางใจเหมือนการ "เลี้ยงหมู" ก่อนที่จะเชือดด้วยการหลอกให้ลงทุนเป็นเงินจำนวนมหาศาล 

ในรายงานยังพบความเชื่อมโยงระหว่างการหลอกลวง Pig Butchering กับการค้ามนุษย์และการใช้แรงงานทาส โดยเฉพาะในประเทศกัมพูชา ลาว พม่า ฟิลิปปินส์ และไทยด้วย

นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงบริษัทสัญชาติไทยอย่าง Bitkub ว่าเป็นหนึ่งใน exchange ที่มีเงินไหลเข้าสู่บัญชีของผู้ต้องสงสัยจำนวนมาก โดยเฉพาะธุรกรรมขนาดใหญ่ ซึ่งคาดว่ามีสาเหตุจากมาตรการตรวจสอบและยืนยันตัวตน (KYC) ที่ไม่เข้มงวดเท่ากับ exchange ในประเทศตะวันตก ทั้งยังอยู่นอกเขตอำนาจศาลของสหรัฐฯ ทำให้หน่วยงานกำกับดูแลเข้าถึงได้ยาก

ดักทางกลโกง \"Pig Butchering\" ฟอกเงิน-ค้ามนุษย์ ผ่านธุรกรรมคริปโต

ข้อมูลดังกล่าวส่งผลให้เกิดความกังวลใจว่า การตรวจสอบธุรกรรมและการระบุตัวตนผู้ใช้ของ exchange ในไทน รวมถึงในเอเชีย อาจยังไม่เข้มงวดเพียงพอ ทำให้องค์กรอาชญากรรมสามารถย้ายเงินได้ง่ายเกิดไป จำเป็นต้องมีการเพิ่มมาตรการป้องกันและติดตามธุรกรรมคริปโตอย่างเข้มงวดมากขึ้น เพื่อป้องกันการนำคริปโตไปใช้สนับสนุนอาชญากรรม

โดยก.ล.ต. มีการกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องทำความรู้จักกับลูกค้า (KYC) เพื่อระบุตัวตนที่แท้จริงของลูกค้าหรือผู้รับประโยชน์ที่แท้จริงให้ชัดเจน และต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ซึ่งจะมีการตรวจสอบให้มีการดำเนินการไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว รวมถึงหลักเกณฑ์ในเรื่องมาตรการจัดการบัญชีม้า

ก.ล.ต. จึงออกประกาศ เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

  1.  ปรับปรุงให้ ก.ล.ต. เป็นผู้กำหนดชุดข้อมูลที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลจะต้องเก็บรวบรวมและเปิดเผยต่อ ก.ล.ต. ภายใต้กรอบวัตถุประสงค์ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนด เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นในการกำหนดชุดข้อมูล
  2. ปรับปรุงรายละเอียดชุดข้อมูลที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลต้องเก็บรวบรวมและเปิดเผยต่อ ก.ล.ต. เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทในการกำกับดูแลและการติดตามความเสี่ยงของธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
  3. ปรับปรุงหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับทางปฏิบัติ โดยยังคงสามารถติดตามความเสี่ยงได้อย่างเท่าทัน เช่น ปรับปรุงกรอบเวลาในการเก็บรวบรวมและเปิดเผยข้อมูลต่อ ก.ล.ต. เป็นต้น

ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้มีการนิยามการจัดระดับบัญชีม้าตามความเสี่ยง ดังนี้

  1. ม้าดำ คือ ผู้ที่อยู่ในรายชื่อผู้ที่กระทำความผิดตามพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 ของ ปปง.
  2. ม้าเทา คือ ผู้ที่ถูกแจ้งความหรือแจ้งธนาคารว่าอยู่ในเส้นทางเงินและมีผู้ที่ได้รับความเสียหาย
  3. ม้าน้ำตาล คือ คนที่ธนาคารเห็นว่าบัญชีธนาคารมีพฤติกรรมผิดปกติที่อาจเข้าข่ายเป็นบัญชีม้า และต้องเฝ้าระวัง