svasdssvasds

จุดแข็งทักษะที่ AI ยังเอาชนะมนุษย์ไม่ได้-การใช้ประโยชน์เทคโนโลยีให้สมดุล

จุดแข็งทักษะที่ AI ยังเอาชนะมนุษย์ไม่ได้-การใช้ประโยชน์เทคโนโลยีให้สมดุล

การหาจุดสมดุลระหว่างการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ง่ายและรวดเร็ว โดยยังคงรักษาทักษะที่เป็นจุดแข็ง ที่ AI ยังไม่สามารถแข่งขันและเอาชนะเอกลักษณธ์ที่มนุษย์โดดเด่นและเหนือกว่า

หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติได้เข้ามาปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและรูปแบบการทำงานของมนุษย์มากขึ้น โดยที่เราอาจไม่ทันได้สังเกต แต่ก็ยอมรับเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันไปแล้ว จนบางทีก็ทำให้รู้สึกขาดสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ 

อีกทั้งการทำงานของหลายๆ คนก็ต้องเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตและมีหน้าจอเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานเป็นหลักในทุกวัน ซึ่งทำให้เกิดการเหนื่อยล้าไม่น้อย และขาดการเชื่อมต่อกับมนุษย์ซึ่งๆหน้า บางคนเลือกที่จะจำกัดเวลาการใช้ ลบแอพ หรือแจ้งให้เพื่อนๆทราบว่าจะขอพักจากโซเชียลมีเดียไปเลยก็มี  

แล้วเราจะอยู่กับเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างไรให้ความรุดหน้ามาช่วยส่งเสริมให้ชีวิตสะดวก สบาย ใช้ชีวิตได้ดีมากขึ้น 

จากงานวิจัยของ Digital Wellness Institute ที่ศึกษาด้านสุขภาพดิจิทัลเพื่อหาจุดสมดุลในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งกับชีวิตมนุษย์ ได้ให้ข้อเสนอแนะไว้ดังนี้

  • หาจุดโฟกัสที่สามารถทำให้การทำงานลื่นไหลได้ดีโดยไม่ถูกรบกวนจากเทคโนโลยีหรืออุปกรณ์สื่อสาร
  • อยู่ร่วมกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพและดิจิทัลให้ได้อย่างกลมกลืน
  • การเชื่อมต่อระหว่างบุคคลอย่างลึกซึ้งและมีความหมาย
  • ให้ความสำคัญกับการสร้างสัมพันธ์ทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์
  • อย่าลืมใส่ใจกับการสร้างสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงและการใช้ดิจิทัลที่ดีต่อสุขภาพ
  • มีสติในการใช้งานและดูแลตัวเองผ่านการใช้เทคโนโลยี
  • เข้าใจการจัดการข้อมูลดิจิทัลส่วนบุคคลและความเป็นส่วนตัว
  • มีส่วนร่วมและส่งเสริมการใช้ดิจิทัลในเชิงบวก ในเครือข่ายที่คุณมีส่วนร่วม

เพื่อให้สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างสร้างสรรค์ เกิดประโยชน์และรักษาจุดสมดุลให้การใช้งานที่ไม่ต้องกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ส่วนความห่วงใย ที่เทคโนโลยีจะเข้ามาปรับเปลี่ยนและลดทอนทักษะพื้นฐานที่สำคัญของมนุษย์ โดยเฉพาะเด็กที่เกิดมาพร้อมกับวิถีชีวิตการเรียนรู้ผ่านหน้าจอ ที่ต้องเผชิญ มีอะไรบ้างที่ต้องกังวล ประกอบด้วย 

Gen Alpha เกิดหลัง พ.ศ. 2540 เติบโตมาในเทคโนโลยีพัฒนาเต็มที่ ภาพจาก freepik

  • เรื่องของมารยาทในการปฏิบัติตัวหรือแสดงคำพูดต่อผู้อื่น แม้แต่กับอุปกรณ์ผู้ช่วยที่ไม่มีชีวิต เช่น Alexa หรือ Google Home ผู้ปกครองก็ควรอธิบายถึงเหตุผลที่ไม่ควรตะโกน ตวาดออกคำสั่งงาน
  • การสร้างบทสนทนาและการสบตาขณะพูดคุยกับคนอื่น เช่น การคุยกับคนในครอบครัวควรละสายตาจากหน้าจอเพื่อสบตาคู่สนทนา 
  • การใช้เวลากับการสำรวจสิ่งรอบตัว พักจากหน้าจอ ความเบื่อมีประโยชน์ในการนำไปสู่การกระบวนการคิดที่ลึกซึ้ง และไม่ต้องถูกกระตุ้นโดยสื่อจากหน้าจอจนทำให้เสียสมาธิ
  • ไม่ต้องใช้เครื่องติดตามทุกอย่างในทุกกิจกรรม สนุกกับการปล่อยช่วงเวลาในการทำกิจกรรมและสิ่งแวดล้อมรอบตัว 
  • การมีสมาธิเมื่อเวลาพูดคุยสนทนา จัดลำดับความสำคัญให้กับคู่สนทนาตรงหน้ามากกว่าคนที่อยู่ในจอมือถือที่มากดไลค์รูปที่เพิ่งแชร์ไป ซึ่งเป็นความท้าทายสำหรับผู้ปกครองที่จะเบี่ยงเบนความสนใจลูกๆ รวมถึงตัวเองด้วยเช่นกัน

แต่อย่างไรก็ตามเราก็ไม่อาจหนีการเข้ามาของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงมิติการใช้ชีวิตส่วนตัวและการทำงานได้พ้น แล้วมีทักษะใดบ้างที่มนุษย์ยังสามารถสู้และแข่งขันกับเครื่องจักรกลอัจฉริยะนี้ได้เหนือกว่า

จากบทความของ Forbes และ Analytics insight ที่เขียนขึ้นในปี 2022 พอจะสรุปทักษะที่ (ตอนนี้) AI หรือหุ่นยนต์ยังไม่สามารถเข้ามาแทนที่ความสามารถของของมนุษย์ได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ ที่ต่างจากงานที่มีรูปแบบเดิมซ้ำๆ กัน เหล่านี้อาจะเป็นสิ่งกำหนดทิศทางอาชีพในอนาคตของของเราต่อไป

การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking)
ทำไมจึงสำคัญ ข่าวสารข้อมูลมากมายในปัจจุบันที่ไหลเข้ามาให้ต้องใช้วิจารณญาณคัดกรองแยกแยะ และประเมินความน่าเชื่อถือซึ่งมีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร

จากเว็บไซต์รับสมัครงานงาน Indeed.com ระบุว่า ผู้ที่มีการคิดเชิงวิพากษ์ได้ดีนอกจากเป็นคนที่รวบรวมข้อมูลได้เก่ง แต่ยังรู้ว่าจะทำข้อมูลที่ได้มานั้นไปใช้ต่อยังไง สรุปข้อเท็จจริงและสร้างผลลัพธ์ที่ต้องการ

ทั้งยังเป็นคนที่มีความสามารถในการแก้ปัญหาได้ดีกว่าคนที่ถนัดใช้การท่องจำ ซึ่งเป็นสิ่งที่นายจ้างควรให้ความสำคัญกับการคัดเลือกคนที่มีสามารถคิดด้วยวิจารณญาณโดยเฉพาะในส่วนของการเตรียมแผนกลยุทธ์

การตัดสินใจในเรื่องที่ซับซ้อน 
เครื่องจักรสามารถวิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว แต่ในท้ายที่สุดการตัดสินใจชี้ขาดก็ควรมาจากมนุษย์ ที่สามารถวิเคราะห์ได้ผลกระทบในวงกว้างกับผู้อื่นที่มีความอ่อนไหว ทั้งต่อชุมชน สังคม หรือในองค์กร 

ความฉลาดทางอารมณ์  (EQ) และความเห็นอกเห็นใจ
มนุษย์มีความสามารถที่จะรับรู้ ควบคุม และแสดงอารมณ์ของเราทั้งในส่วนบุคคลและต่อผู้อื่นซึ่งเป็นสิ่งที่หุ่นยนต์ยังไม่แข่งขันสู้กับเราไม่ได้ ซึ่งการเข้ามาของเทคโนโลยีและโซเชียลมีเดียก็มีส่วนทำให้เราลดความเห็นอกเห็นใจและกระทบต่ออีคิว จึงทำให้พนักงานที่มีทักษะความฉลาดทางอารมณ์ดีกว่าจึงมีความโดดเด่นขึ้นมา เป็นทักษะที่มีคุณค่า ที่จะส่งเสริมในงานด้านปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ ซึ่งสำคัญทั้งในส่วนบุคคลและหน้าที่งานการ

ความคิดสร้างสรรค์ 
ยังถือเป็นจุดแข็งของมนุษย์ที่ AI หรือเครื่องจักรกลยังไม่สามารถสู้ได้ บริษัทต่างๆ ก็ยังเฟ้นหาบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์ที่จะสามารถจินตนาการช่องทางความเป็นไปได้ใหม่ๆ เพื่อช่วยทำให้อนาคตดีกว่าเดิม AI เป็นส่วนเสริมที่ทำให้ความคิดสร้างสรรค์นั้นโลดแล่นได้ไกลขึ้น ซึ่งยังจำเป็นที่ต้องมีมนุษย์ครีเอทีฟเป็นคนกำหนดตั้งต้น

การทำงานเป็นทีม
ถือเป็นทักษะที่เป็นเอกลักษณ์สำคัญของมนุษย์ที่ทุกองค์กรต้องการ การโต้ตอบกับผู้อื่น ทำงานเป็นทีมได้ดีจะช่วยขับเคลื่อนองค์กรไปข้างหน้า 

การสื่อสารระหว่างบุคคล
เป็นทักษะเฉพาะตัวที่มนุษย์มีแตกต่างจากหุ่นยนต์ แม้ว่าจะมีการพัฒนาให้หุ่นยนต์สามารถรับรู้หรือพูดสื่อสารตอบกลับได้ดีขึ้น แต่ประสิทธิภาพในการทำงานของมนุษย์ก็ยังไปไกลกว่า จำเป็นที่ต้องต้องรักษาทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลนี้และหมั่นฝึกฝนกันไว้ ประกอบด้วย 

  • การแสดงความเคารพ 
  • การรับฟังอย่างกระตือรือร้น
  • การแสดงภาษากายในเชิงบวก
  • การถามคำถาม 
  • การทำความเข้าใจการสื่อสารออนไลน์ (การส่งข้อความ อีเมล ฯลฯ)
  • การเปิดใจกว้าง 
  • การให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์

การปรับตัวและความยืดหยุ่น 
ในเมื่อโลกเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาทักษะใหม่ๆ มีให้เรียนรู้ได้ไม่จบสิ้น การเปิดรับแนวคิดและกระบวนการทำงานที่เปลี่ยนไปจึงย่อมสำคัญและจำเป็นอยู่เสมอ

ความฉลาดทางวัฒนธรรมและการยอมรับความหลากหลาย 
สำคัญอย่างมากในองค์กรที่มีพนักงานที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติและภูมิหลัง ทั้งภาษาและวัฒนธรรม ซึ่งต้องการบุคคลที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนร่วมงาน และเข้าใจความแตกต่างทางความคิดของแต่ละท้องถิ่นซึ่งมีผลต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกมาสู่ตลาด 

ซึ่งมีครอบคลุมถึงประเด็นที่มีความอ่อนไหว เช่น ศาสนา ความเชื่อทางการเมือง อายุ เพศ รสนิยมทางเพศที่ต้องให้เกียรติและเคารพซึ่งกันและกัน

การตระหนักรู้ทางจริยธรรม
เป็นผลมาจากการการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่ ที่นำเทคโนโลยีและมีระบบดิจิทัลเข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิต ซึ่งเป็นความท้าทายที่จะจัดการกับปัญหาทางจริยธรรม ที่ต้องการการตัดสินใจจากมนุษย์เข้ามาแก้ปัญหาและตัดสินใจ 

ทักษะความเป็นผู้นำ 
หน้าที่ที่สำคัญของการเป็นผู้นำนอกจากเป็นหัวหอกของทีม ยังรวมถึงการดึงศักยภาพของลูกทีมออกมา ซึ่งต้องอาศัยการพูดคุย วิเคราะห์ และฝึกฝนชื้นำให้เกิดการพัฒนา ซึ่งเครื่องจักรกลยังไม่สามารถเข้ามาทดแทนหรือเป็นผู้นำองค์กรได้ 

ทั้งนี้ก็ไม่รู้ว่าในอนาคตอันใกล้ความเจริญทางเทคโนโลยีจะสามารถก้าวข้ามขัดกำจัดและทักษะที่ยังตามหลังมนุษย์ได้เทียบเท่าหรือเหนือกว่าเมื่อไหร่ การอยู่ร่วมกันกับเหล่าหุ่นยนต์และ AI ให้สมประโยชน์ด้วยกันทุกฝ่ายก็ดูเป็นสิ่งที่ต้องถกกันต่อได้อีกยาวๆ

ที่มา

Analytics insight Forbes Parent map
 

related