svasdssvasds

"ดร.มานะ" ชี้ กสทช.ควรนำความผิดพลาดไปเป็นบทเรียน-แก้ไขปัญหา

"ดร.มานะ" ชี้ กสทช.ควรนำความผิดพลาดไปเป็นบทเรียน-แก้ไขปัญหา

ดร.มานะ มองว่า กสทช.ควรสนับสนุการพัฒนาเนื้อหา คุณภาพ ให้มากขึ้น เพื่อดึงคนกลับมาดูทีวีให้ได้

มุมมอง กับการการแถลงของ กสทช.ถึงแนวนโยบาย ปี 62

ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึง กรณีที่ทางกสทช.แถลงแนวนโยบาย ปี 62 ว่าเรื่องงดเว้นค่าสัมปทาน วิกฤติ จะเกิดกับผู้ประกอบการทีวีดิจิตัลแน่นอน เนื่องจากรายรับกับรายจ่ายที่เป็นอยู่ไม่เป็นไปตามที่คิด เนื่องจากพฤติกรรมต่างๆที่เปลี่ยนไป เช่น คนไม่ดูทีวีแต่ไปดูแพลตฟอร์มอื่นๆแทน คนก็ดูทีวีลดลง โฆษณาก็ลดลง ในขณะที่ช่องทีวีดิจิตัลมีมาก คนก็หันไปบริโภคสื่ออื่น สิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการทำได้ก็คือการลดรายจ่าย แต่ที่ลดไม่ได้คือค่าสัมปทาน ยกเว้นว่ารัฐบาลต่อไป หรือ กสทช.ยอมที่จะลดภาระเรื่องนี้ให้ นอกจากรายจ่ายนี้ ก็จะมีเรื่องค่าบุคลากร ที่ตั้งแต่ตอนตั้นต้นมีการซื้อคนเข้ามาจำนวนมาก ค่าใช้จ่ายสูง การปรับโครงสร้างก็จะตามมา แต่คำถามที่ตามมาคือ ตรงนี้ ผู้บริโภคจะได้อะไร ส่วนตัวมองว่า กสทช.ควรที่จะสนับสนุเรื่องการพัฒนาเนื้อหา คุณภาพ ให้มีมากขึ้นเพื่อดึงคนกลับมาดูทีวีให้ได้ ถามว่ามีรายการประเภทนั้นไหม ที่ผ่านมาก็มีอยู่ เช่น ละคร ออนแอร์ ปี 2561 ก็มีที่ดึงคนกลับมาอยู่บนหน้าจอทีวีได้

ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นนั้นมาจากการมองที่ผิดพลาดของทั้ง กสทช.เองและผู้ประกอบการ ที่บังเอิญมาเจอกับการเปลี่ยนแลงทางดิจิทัลพอดี แพลตฟอร์มอื่นมีบทบาทมากขึ้น กสทช.เองอาจจะต้องเอาเรื่องนี้เป็นบทเรียนในการทำงานต่อ ๆไปด้วย

สำหรับ 5 ปีที่ผ่านมา มองว่า พฤติกรรมผู้บริโภค เปลี่ยนไปไวมาก ตาม ตจว.พ่อค้าแม่ขาย ดูรายการผ่านโทรศัพท์มือถือแทบทั้งนั้น อนาคตหากมีการพัฒนาระบบสื่อสารเป็น 5G ความไวในการรับข้อมูลมากขึ้นก็ยิ่งทำให้คนสะดวกมากขึ้นในการรับสารผ่านแพลตฟอร์มอื่น

ส่วนปัจจุบัน ก็เห็นผู้ประกอบการบางรายหันตัวเองมาเป็นผู้ผลิตบนโลกออนไลน์มากขึ้นและเชื่อว่าจะมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากผู้ชมย้ายมาอยู่บนโลกออนไลน์ ก็ต้องตามมา ปัจจับอีกอย่างคือ ต้นทุึนต่ำกว่าการผลิตทางโทรทัศน์ อนาคตการเติบโตของทีวีอาจจะไม่โตขึ้นมากอย่างที่ผ่านมา ในบรรดา ช่องทีวีดิจิตัลทั้งหมดอาจจะมีการย้ายตัวเองไปในแพลตฟอร์มอื่นๆอีก

ขณะที่เมื่อแพลตฟอร์มเปลี่ยนไป ส่นสำคัญอีกอย่างคือ สมาคมโฆษณา จะยอมรับเรทติ้งที่ กสทช. ทำขึ้นมาหริอไม่ กสทช.อาจจะต้องดึงเอาคนจากสมาคมฯเข้ามามีส่วนร่วมในการทำเรทติ้ง เพื่อให้เกิดความมั่นใจ แต่ปัญหาคือ ตัวทีวีดิจิตัล จะต้องมีเนื้อหาที่แตกต่างจากทีวีปกติ

ส่วนตัวมองว่าแนวโน้มอาจจะมีการยืดการชำระค่าสัมปทานออกไป แต่การงดเว้นคงเป็นไปได้ยาก

คนทำสื่อจะอยู่รอดไหม ตอบว่า อยู่รอด แต่อาจจะไม่ได้อยู่ในแพลตฟอร์ม ทีวีเหมือนเดิม ซึ่งต้องมีการปรับตัว ส่วนคนรุ่นใหม่ที่จบการศึกษาไป ไม่ได้เข้าสู่สื่อกระแสหลักเหมือนที่ผผ่านมา หลายคนไปเป็นผู้ผลิตเอง เช่น ไปเป็นยูทูปเบอร์ ไปเป็นแอดมิน ทำเพจ ทำอย่างอื่นที่แตกต่างไป

related