svasdssvasds

คลังปรับแผนใหม่ หลังวงเงินกู้ของรัฐสูงทำหนี้สาธารณะพุ่ง

คลังปรับแผนใหม่ หลังวงเงินกู้ของรัฐสูงทำหนี้สาธารณะพุ่ง

ติดตามข่าวสารwได้ที่ https://www.springnews.co.th

กระทรวงการคลัง เร่งปรับแผนก่อหนี้สาธารณะปี 2563 ใหม่ หลังวงเงินกู้จำนวน 1.49 ล้านล้านบาท ทำให้หนี้สาธารณะต่อจีดีพีปีนี้พุ่งแตะ 51.84% ปีหน้า 57.96% ยันยังคงกรอบการก่อหนี้ที่ 60% พร้อมประเดิมกู้ก้อนแรก 7 หมื่นล้านบาท ปลายเดือนนี้

 

แพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ ซึ่งมี อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน โดยที่ประชุมได้เห็นชอบแผนปรับปรุงการก่อหนี้สาธารณะปี 2563 เพิ่มเติมวงเงิน 1.49 ล้านล้านบาท และจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัปดาห์หน้า

 

[caption id="attachment_654564" align="aligncenter" width="960"] คลังปรับแผนใหม่ หลังวงเงินกู้ของรัฐสูงทำหนี้สาธารณะพุ่ง แพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.)[/caption]

 

สำหรับวงเงิน 1.49 ล้านล้านบาท แบ่งเป็น การบริหารหนี้สาธารณะเดิม 8.9 แสนล้านบาท และวงเงินกู้ใหม่ตาม พ.ร.ก. กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท ซึ่งจะกู้ในล็อตแรกประมาณ 6.03 แสนล้านบาท วงเงินดังกล่าวจะส่งผลให้เพดานหนี้สาธารณะสิ้นปี 2563 อยู่ที่ 51.84% และ ณ สิ้นปี 2564 จะอยู่ที่ 57.96% บนสมมติฐานอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ในปีหน้าที่ระดับ 3% โดยยังคงกรอบการก่อหนี้สาธารณะที่ 60%  ต่อจีดีพี แต่พร้อมจะทบทวนกรอบใหม่หากสถานการณ์เปลี่ยนแปลง

 

โดยในปีงบประมาณ 2563 คาดว่ารัฐจะกู้เงินก่อน 6 แสนล้านบาท เพื่อเตรียมไว้ใช้จ่ายเยียวยาเงิน 5,000 บาท การช่วยเหลือเกษตร รวมถึงดูแลระบบสาธารณะสุข ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงกันยายน 2563 ส่วนวงเงินกู้อีก 4 แสนล้านบาท จะเริ่มกู้ในปีงบประมาณ 2564

 

ทั้งนี้ แผนกู้เงินก้อนแรกจะกู้กับสถาบันการเงินในประเทศ รูปแบบตั๋วสัญญาใช้เงิน 7 หมื่นล้านบาท เริ่มกู้วันที่ 29 เมษายน 2563 เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินอายุ 4 ปี โดยใช้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นสำหรับการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคารของตลาดกรุงเทพฯ หรือ BIBOR (Bangkok Interbank Offered Rate) ปัจจุบันอยู่ที่ 0.97 % บวก 5 ทศนิยม

 

สำหรับการกู้เงินตาม พ.ร.ก. กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท ให้อำนาจกู้เงินทั้งในประเทศและต่างประเทศ แต่ สบน. คงดูในประเทศเป็นหลัก แต่ต้องวิเคราะห์ความคุ้มค่า คุ้มทุน วิเคราะห์สภาพคล่องในประเทศ เพื่อให้มั่นใจว่าการออก พ.ร.ก. จะไม่ไปช็อกตลาด จนทำให้สภาพคล่องในประเทศมีปัญหา เพราะธนาคารเองก็เตรียมความพร้อมในการดูแลลูกค้า

 

อย่างไรก็ตาม การกู้ในระยะต่อไปนั้นจะเน้นการกู้ในประเทศไม่ต่ำ 80% ส่วนต่างประเทศสัดส่วน 20% ต้องดูว่าที่ไหนเหมาะสม และจะดำเนินการอย่างไร ต้องดูเผื่อไว้ มีองค์การระหว่างประเทศมาคุยด้วยหลายแห่ง ทั้งเวิลด์แบงก์ เอดีบี แต่ทั้งต้องหารือกันก่อน

 

สำหรับการกู้เงิน เครื่องมือการกู้ จะมีทั้งระยะสั้นและยาว ระยะยาวคือพันธบัตรรุ่นต่างๆ ระยะสั้นมีทั้งเครื่องมือการกู้จากธนาคาร การกู้ระยะยาว (เทอมโลน) ตั๋วสัญญาใช้เงิน (พีเอ็น) และตั๋วเงินคลัง (ทีบิว)

 

รวมทั้งการออกพันธบัตรออมทรัพย์ ขายให้รายย่อยประมาณ 1 แสนล้านบาท ซึ่งใช้เวลา 1-2 เดือนก่อนเปิดขาย กำลังดูเครื่องมือว่าจะออกแบบไหนอย่างไร เพราะเป็นจำนวนที่ใหญ่กว่าปกติในช่วงครึ่งปีหลังที่ออกประมาณ 2-2.5 หมื่นล้านบาท

related