svasdssvasds

ปี 2564 เตรียมรับมือ เศรษฐกิจไทย เผาจริงหรือเผาหลอก

ปี 2564 เตรียมรับมือ เศรษฐกิจไทย เผาจริงหรือเผาหลอก

คำถามนี้จะเกิดขึ้นเสมอในช่วงปลายปีกับ เศรษฐกิจไทย ไม่ว่าจะเกิดภัยแล้ง น้ำท่วม ความขัดแย้งทางการเมือง หรือ Digital Disruption ซึ่งปี 2564 นี้ ไม่ว่าเศรษฐกิจไทยจะเผาจริงหรือเผาหลอก ภาคธุรกิจไทยก็ต้องเตรียมรับมือไว้ ย่อมลดการสูญเสียได้มากกว่า

ปี 2564 เตรียมรับมือ เศรษฐกิจไทย เผาจริงหรือเผาหลอก

ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 เศรษฐกิจไทย กำลังเผชิญกับปัญหาต่างๆ เข้ามามากมาย แต่ไม่ใช่เพียงไทยเท่านั้นที่กำลังเผชิญปัญหานี้ เพราะแท้จริงแล้วทั่วโลกก็กำลังประสบปัญหาเช่นเดียวกัน ฉะนั้นในวิกฤตยังมีโอกาสที่ซ่อนอยู่เช่นเดียวกัน หากปรับตัวและรับมือกับมันได้ก็จะทำให้สามารถนำพาองค์กรพ้นวิกฤตไปได้

ผลการสำรวจของ ดีลอยท์ ประเทศไทย ในรายงาน The Thailand Digital Transformation Survey 2020 ที่ได้ทำการเก็บข้อมูลผู้บริหารระดับสูงในประเทศไทย พบว่า ผู้บริหาร 52 เปอร์เซ็นต์ ธุรกิจของตนได้เริ่มทำการทรานส์ฟอร์มแล้ว และอีก 27 เปอร์เซ็นต์ กล่าวว่า มีแผนในการทรานส์ฟอร์มองค์กรภายใน 1-3 ปีข้างหน้า โดยจุดประสงค์หลักของการทรานส์ฟอร์มนั้น แบ่งได้เป็น 3 จุดประสงค์หลัก ได้แก่ 

1) ทรานส์ฟอร์มเพื่อสร้างประสบการณ์ดิจิทัลให้กับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย  

2) ทรานส์ฟอร์มเพื่อปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติการ 

3) ทรานส์ฟอร์มเพื่อใช้ประโยชน์จากข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ 

แม้ว่าผู้บริหารส่วนใหญ่ได้เริ่มทำการทรานส์ฟอร์มธุรกิจแล้ว ผู้บริหารยังคงเจอกับความท้าทายที่หลากหลาย โดยความท้าทายในการทรานส์ฟอร์ม ไม่ได้เป็นความยากด้านเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังต้องอาศัยปัจจัยอื่น เช่น วัฒนธรรมองค์กร วิธีการทำงาน รวมถึงโครงสร้างขององค์กร ซึ่งผู้บริหารส่วนใหญ่มองว่าอุปสรรคสำคัญประกอบไปด้วย 5 ด้าน ดังนี้

อันดับที่ 1 : ขาดผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (49 เปอร์เซ็นต์)

อันดับที่ 2 : วัฒนธรรมองค์กรไม่สนับสนุน (45 เปอร์เซ็นต์)

อันดับที่ 3 : มีระบบทำงานที่แยกส่วน (37 เปอร์เซ็นต์)

อันดับที่ 4 : ไม่มีวิสัยทัศน์ในการทรานส์ฟอร์มชัดเจน (30 เปอร์เซ็นต์)

อันดับที่ 5: ไม่มีการจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรที่เพียงพอ (26 เปอร์เซ็นต์)

เศรษฐกิจไทย

ความยากในการทรานส์ฟอร์ม ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยี

ภาคองค์กรต่างๆ เพื่อเตรียมรับมือการเผาจริงหรือเผาหลอกของ เศรษฐกิจไทย ครั้งนี้ จึงทำการติดต่อทางวิทยาลัย หรือ มหาวิทยาลัย เพื่อทำ In-house training มากขึ้น เนื่องจากว่าประสบปัญหาด้านต่างๆ มากมาย ซึ่งล้วนสอดคล้องการรายงานของดีลอยท์ 

ความยากในการทรานส์ฟอร์ม ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยี แต่เป็นการทำให้คนมี Growth Mindset ดังนั้น การทำให้ง่ายและใช้งานได้จริง คือสิ่งที่จะช่วยให้คนที่กำลังกลัวกับ Digital Disruption หายจากอาการกลัวนี้ และกล้าไปต่อ นั่นจึงเป็นที่มาว่ามหาวิทยาลัยจึงสอนมากกว่าการหารายได้ 

อ.ดร.ตรียุทธ พรหมศิริ อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรม วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) กล่าวว่า เราต้องยอมรับว่าเราอยู่ในยุคประวัติศาสตร์ที่เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 200 ปี นั่นคือ การก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล และยังเผชิญกับโรคระบาดร้ายแรงที่ยังไม่มีวัคซีน ทำให้การมองไปข้างหน้ายากลำบากมากที่สุดครั้งหนึ่งของคนทำธุรกิจ แต่หัวใจสำคัญคือการต้องรู้จักออกแบบคุณค่าทางธุรกิจของตนเอง (Value Proposition Design) และเข้าใจความต้องการตลาด ถ้าให้พูดถึงเรื่องที่ใกล้ตัวที่สุด คือ ช่วงโควิด-19 เป็นช่วงที่วิทยาลัยฯ เองก็กังวลว่าจำนวนนักศึกษาปริญญาโทจะลดลงหรือไม่ ด้วยสภาพเศรษฐกิจที่มีความไม่แน่นอน แต่ปรากฏว่า มีคนสมัครมากกว่าช่วงเวลาปกติ เพราะว่าคนเริ่มไม่แน่ใจกับธุรกิจที่ทำอยู่ในปัจจุบัน ต้องรีบหาความรู้ใหม่ ซึ่งการเรียนนี้เป็นการเปิดพื้นที่ให้นักศึกษาได้นำเคสธุรกิจของตนเองมาปรึกษาอาจารย์ และต่อยอดกับเพื่อนร่วมชั้นได้ง่ายขึ้น เหมาะกับใครที่อยากได้แก่น และไม่ได้มีเวลามากนัก ในยุคที่ต้องเปลี่ยนแปลง การสอนจึงต้องให้ผู้เรียนได้รู้ บรรทัดฐานใหม่ของการบริหารธุรกิจยุคดิจิทัล ทักษะการเป็นผู้นำในยุคดิจิทัล การสร้างองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล การทำธุรกิจแบบแพลตฟอร์ม การเงินและการระดมทุนยุคดิจิทัล และการตลาดยุคดิจิทัล

ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 เราไม่อาจคาดการณ์ได้ล่วงหน้ามากนักว่าปี 2564 เศรษฐกิจไทย จะ เผาจริงหรือเผาหลอก ผู้บริหารหลายองค์กรหากเตรียมพร้อมรับมือไว้ก่อนก็อาจทำให้เราสามารถเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสได้เช่นเดียวกัน

ผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://www.neobycmmu.com/ หรือเฟซบุ๊ก NEO By CMMU

related