svasdssvasds

พารู้จักแพลตฟอร์ม AgTech4OTOP ช่องตลาดใหม่รวมสตาร์ทอัพ- เกษตรอัตลักษณ์

พารู้จักแพลตฟอร์ม AgTech4OTOP ช่องตลาดใหม่รวมสตาร์ทอัพ- เกษตรอัตลักษณ์

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA จุดพลุโครงการ AgTech4OTOP พลิกโฉมเศรษฐกิจชุมชน ดึง 50 กลุ่ม OTOP เกษตรอัตลักษณ์ท้องถิ่น สร้างช่องทางการตลาดรูปแบบใหม่ร่วมกับสตาร์ทอัพสายเกษตร เสริมแกร่งศักยภาพ พัฒนาสินค้าเกษตรรุกแพลตฟอร์มออนไลน์ เชื่อมโยงผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภค

พารู้จักแพลตฟอร์ม AgTech4OTOP ช่องตลาดใหม่รวมสตาร์ทอัพ- เกษตรอัตลักษณ์

อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปไทยถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่กำลังมาแรงเพราะเมืองไทยเป็นเมืองเกษตรกรรม  สมัยก่อนเกษตรกรมักจะขายสินค้าเกษตรแบบสด ๆ ออกจากสวนก็ขายเลยทำให้ได้ราคาไม่ดีมากนัก แต่ในปัจจุบันได้มีนักธุรกิจสตาร์ทอัพด้านการเกษตรหันมาแปรรูปโดยใช้นวัตกรรม เพิ่มสร้างมูลค่าเพิ่มและเจาะกลุ่มลูกค้ายุคใหม่ แนวโน้มก็มีสูงขึ้นเพราะเมืองไทยมีสินค้าเกษตรคุณภาพดีจำนวนมา

หนึ่งในองค์กรที่เดินหน้าผลักดันส่งเสริมทั้งสตาร์ทอัพ และเกษตรกรให้หันมาจับมือกันเพื่อปลุกปั้นสินค้าเกษตรกรแปรรูปไทยให้สู้กับตลาดโลกได้คือ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ซึ่งล่าสุดก็ได้ผุดโครงการ AgTech4OTOP โดย ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เล่าให้ฟังว่า โครงการนี้เป็นสร้างตลาดรูปแบบใหม่จากสตาร์ทอัพด้านการเกษตรสำหรับกลุ่ม OTOP เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น ได้ร่วมกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา กรมการพัฒนาชุมชน และกรมส่งเสริมการเกษต

ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างโอกาสและช่องทางตลาดสินค้าเกษตรอัตลักษณ์ท้องถิ่นในรูปแบบใหม่ๆ ที่มีศักยภาพออกสู่ตลาด บนแพลตฟอร์มของสตาร์ทอัพด้านการเกษตรไทย (AgTech Startup) ในสาขาที่มีการพัฒนารูปแบบในการเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตสินค้าการเกษตรไปสู่ผู้บริโภคให้สามารถขยายผลและกระจายได้ในวงกว้างมากยิ่งขึ้น เช่น ระบบเจ้าของร่วมผลิต ระบบการประมูลสินค้าเกษตร หรือ E-biding ระบบตลาดออนไลน์ หรือ Marketplace และ ระบบการขายออนไลน์ส่งมอบให้ผู้บริโภคและธุรกิจเกษตร (B2B /B2C) โดยจะเป็นการสร้างแพลตฟอร์มการเชื่อมโยงนวัตกรรมการเกษตรสู่เกษตร 4.0 พร้อมส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการขยายผลรูปแบบการแก้ไขปัญหาทางการเกษตรจากฟาร์มสู่ผู้บริโภคของสตาร์ทอัพไทย สู่การใช้งานของเกษตรกรเพิ่มมากขึ้น

ขณะที่ ดร.กริชผกา  บุญเฟื่อง รองผู้อำนวยการด้านระบบนวัตกรรม NIA บอกว่าโครงการ AgTech4OTOP จะเป็นการรวบรวมข้อมูลของทั้ง 2 ฝั่ง ทั้งสตาร์ทอัพด้านการเกษตร และเกษตกรอัตลักษณ์พื้นถิ่นมาอยู่ในเว็บไซต์เพื่อสร้างข้อมูล และการรวมกลุ่มลงทุนร่วมกัน

 

โดยเริ่มจากการเปิดรับสมัครและคัดเลือก OTOP เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น และสตาร์ทอัพด้านการเกษตรเข้าร่วมโครงการจากทั่วประเทศ ซึ่งมีผ่านการคัดเลือกจำนวน 50 ราย เช่น ส้มโอนครชัยศรี จ.นครปฐม สับปะรดไร่ม่วง จ.เลย สับปะรดนางแล ภูแล จ. เชียงราย ทุเรียนป่าละอู จ.ประจวบคีรีขันธ์ มะปี๊ด จ.จันทบุรี และสตาร์ทอัพด้านการเกษตรจำนวน 10  ราย เช่น ฟาร์มโต๊ะ มีแซ่ด ครอปเปอร์แซด อารีฟาร์ม

อย่างไรก็ตามจากนี้สตาร์ทอัพและกลุ่ม OTOP จะจับคู่รวมทีมกัน ในอัตราส่วน 1:5 เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นให้ขึ้นบนแพลตฟอร์มของสตาร์ทอัพ ภายใต้มีเมนเทอร์ระดับมืออาชีพ ที่เข้าใจการตลาดสมัยใหม่ พร้อมเครือข่ายความร่วมมือต่างๆ ร่วมสนับสนุนและให้คำแนะนำตลอดโครงการ ซึ่งมุ่งเน้นให้ทุกทีมได้ทดลองทำตลาดจริงๆ โดยตั้งเป้าหมายการเติบโต 10 เท่า ซึ่งไม่ได้มองว่า โครงการนี้สร้างให้เกิดการเชื่อมโยงธุรกิจของสตาร์ทอัพ และธุรกิจชุมชนให้มีความต่อเนื่องกันเป็น พันธมิตรทางธุรกิจกันต่อไป

โดยสรุป ข้อดีคือ OTOP เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น จะได้อะไรจากโครงการนี้ คือ ได้ใช้นวัตกรรมสมัยใหม่ พร้อมได้เข้าถึงบริการสตาร์ทอัพ ให้เกษตรกรจะเติบโตการทำธุรกิจแบบก้าวกระโดดมีโอกาสขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศพร้อมทั้งมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกลุ่มด้วยกัน ส่วนสิ่งที่สตาร์ทอัพจะได้คือได้การขยายผลธุรกิจได้สินค้าใหม่ ๆ  มีลูกค้ามากขึ้น ได้ต่อยอดนวัตกรรมที่คิดีการบูรณาการมากขึ้น

พารู้จักแพลตฟอร์ม AgTech4OTOP ช่องตลาดใหม่รวมสตาร์ทอัพ- เกษตรอัตลักษณ์

related