เช่นการพัฒนาผ้าเป็นเครื่องประดับตกแต่งบ้านและพัฒนาเพื่อเป็นเครื่องประดับในโรงแรมรวมทั้งพัฒนาเป็นสิ่งของที่ระลึกสร้างความหลากหลายให้กับผ้าบ่าบ๋า ย่าหยา ทั้งยังดำเนินการปรับรูปแบบเสื้อผ้าอาภรณ์ให้มีความทันสมัยโดยใช้ความเชี่ยวชาญเดิมของชุมชนในการทำผ้าบาติกพัฒนาลวดลายและรูปทรงให้สามารถใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันเพื่อให้การพัฒนาเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
นอกเหนือจากการยกระดับสินค้าของฝากให้มีคุณภาพแล้ว กสอ.ยังได้พัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยว“สุขกาย-สุขใจ”เพื่อสร้างเอกภาพสำหรับการท่องเที่ยวทั้งอาคาร อาหาร อาภรณ์เช่น พิพิธภัณฑ์ไทยหัวที่อดีตเคยเป็นโรงเรียนภาษาจีนแห่งแรกในภูเก็ต,หมอเหลาอาคารบ้านเรือนแบบลูกผสมชิโน-ยูโรเปียน, บ้านเลขที่ 88 หรืออี้โป้เต้งพิพิธภัณฑ์เก็บข้าวของเก่าแก่รวมทั้งบ่อน้ำโบราณแบบจีนที่อยู่กลางบ้าน,โรงตีเหล็กไต่สุ้นอั้นที่ยังเปิดดำเนินการตีเหล็กแบบดั้งเดิมให้นักท่องเที่ยวได้รับชม
นอกจากนี้ยังมีบ้านขุนนิเทศจีนารักษ์จุดแวะพักจิบชากับขนมปุ้นแต่โก้ยรวมทั้งส่งเสริมการจัดถนนคนเดินหลาดใหญ่อยู่บริเวณถนนถลางเป็นถนนคนเดินที่แวดล้อมไปด้วยบรรยากาศอาคารเก่าสร้างจุดดึงดูดในกับนักท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้นซึ่งการพัฒนาการท่องเที่ยวในครั้งนี้สามารถเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนได้กว่าร้อยละ 60ถือเป็นอีกหนึ่งรูปธรรมของการพัฒนา“อาภรณ์ - อาหาร - อาคาร”ครบทุกมิติในการส่งเสริมการท่องเที่ยว